พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า WASHINGTON และรูปแอปเปิ้ล: มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นคำสามัญ หากมีการใช้จนแพร่หลาย
แม้คำว่า "Washington" จะเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ คำว่า "แอปเปิ้ล" และรูปแอปเปิ้ลประดิษฐ์จะเล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้านั้น แต่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) ว่า แม้จะเป็นชื่อคำหรือข้อความที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะได้ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวย่อมรวมถึงกรณีชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 7 วรรคสอง (2) ด้วย เพราะชื่อทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือข้อความตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) นั่นเอง เมื่อโจทก์นำสืบพิสูจน์ได้ว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทได้จำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลายแล้วในประเทศไทย จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายบริการและการเพิกถอนการจดทะเบียน แม้เป็นคำสามัญและใช้กับบริการต่างประเภท
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกัน แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการของโจทก์มีคำว่า PLACE กับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วยก็ตาม แต่ก็ได้ความว่า อาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารนั้นที่เรียกกันว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลย จึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองและอาจเรียกขานเครื่องหมายบริการทั้งสองว่าโอเรียนเต็ลเหมือนกัน เครื่องหมายบริการทั้งสองต่างใช้คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ แม้ตัวอักษร O ตัวแรกในเครื่องหมายบริการของโจทก์มีลักษณะเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรตัวอื่น และลายเส้นตัวอักษรแต่ละตัวมีความหนาบางประสมกันแตกต่างจากเครื่องหมายบริการของจำเลยที่มีขนาดตัวอักษรและความหนาของลายเส้นเสมอกันทุกตัว ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ยังเป็นคำ คำเดียวกันเรียกขานเหมือนกันเป็นจุดสำคัญอยู่ เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงนับว่าคล้ายกับเครื่องหมายบริการของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบการของโจทก์อยู่ใกล้ชิดกับโรงแรมที่ใช้เครื่องหมายบริการของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงนับได้ว่า เครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายบริการ ORIENTAL ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงชอบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: คำว่า 'กุ๊ก/Cook' เป็นคำสามัญทั่วไป ไม่ผูกขาดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรไทยและอักษรโรมันคำว่า บิกกุ๊ก Big Cook แฟตกุ๊ก Fat Cook และมาสเตอร์กุ๊ก Master Cookซึ่งตัวอักษรไทยอยู่ด้านบนของอักษรโรมัน และไม่มีรูปพ่อครัวประดิษฐ์อยู่ด้วย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเภทที่เป็นรูปพ่อครัวประดิษฐ์คล้ายขวดทรงกระบอกเอนตัวยืนยิ้ม มีอักษรไทยคำว่า กุ๊ก หรือมีอักษรไทยคำว่ากุ๊กและอักษรโรมันคำว่า Cook รวมกันอยู่บนตัวรูปพ่อครัวประดิษฐ์ อย่างชัดแจ้ง ไม่เหมือนหรือคล้ายกันแต่อย่างใด และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเภทที่ใช้อักษรไทยคำว่า กุ๊ก หรืออักษรโรมันคำว่า Cook หรืออักษรไทยและอักษรโรมันดังกล่าวรวมกันอย่างมาก โดยคำว่าบิกกุ๊ก Big Cook และ แฟตกุ๊ก Fat Cook เป็นคำ 2 พยางค์ คำว่า มาสเตอร์กุ๊กMaster Cook เป็นคำ 3 พยางค์ การจัดวางตัวอักษรและขนาดตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยก็ยังแตกต่างกันมาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำ Cookเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำอักษรโรมันคำว่า Cook ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำ Cookเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำอักษรโรมันคำว่า Cook ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้าและการใช้คำสามัญ 'กุ๊ก' โดยไม่ทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า กุ๊ก และ COOKประกอบด้วยรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOK อยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนเป็นรูปคนอยู่ภายในวงกลมค่อนซีก แม้จะแต่งตัวเป็นพ่อครัวแต่ก็มีเพียงครึ่งตัวท่อนบน มีมือสองข้างแต่ไม่มีเท้า มีอักษรประดิษฐ์คำว่า PRอยู่ที่หน้าอกของพ่อครัว ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวซึ่งมีขนาดใหญ่ มิได้อยู่ที่คำว่า กุ๊กพีอาร์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างจากรูปการ์ตูนลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับฉลากปิดสินค้าซอสปรุงรสตราพีอาร์ของจำเลยก็ไม่มีคำว่า กุ๊ก ปรากฏอยู่ แต่มีรูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวและระบุชื่อบริษัทจำเลยเป็นผู้ผลิตพร้อมที่อยู่ใต้รูปคนดังกล่าวเห็นได้อย่างเด่นชัด ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็น ซอส ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว และน้ำปลา ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และความเป็นคำสามัญ
คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ. 2525 หมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊กแต่เพียงผู้เดียว จำเลยจึงนำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนสับสน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' ใช้ได้ เพราะเป็นคำสามัญ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่ากุ๊กและCOOK ประกอบด้วยรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOK อยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนเป็นรูปคนอยู่ภายในวงกลมค่อนซีกแม้จะแต่งตัวเป็นพ่อครัวแต่ก็มีเพียงครึ่งตัวท่อนบนมีมือสองข้างแต่ไม่มีเท้ามีอักษรประดิษฐ์คำว่าPRอยู่ที่หน้าอกของพ่อครัวลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวซึ่งมีขนาดใหญ่มิได้อยู่ที่คำว่ากุ๊กพีอาร์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างจากรูปการ์ตูนลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับฉลากปิดสินค้าซอสปรุงรสตราพีอาร์ของจำเลยก็ไม่มีคำว่ากุ๊กปรากฎอยู่แต่มีรูปคนแต่งตัวเป็นพ่อครัวและระบุชื่อบริษัทจำเลยเป็นผู้ผลิตพร้อมที่อยู่ใต้รูปคนดังกล่าวเห็นได้อย่างเด่นชัดทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นซอสซีอิ๊วเต้าเจี้ยวและน้ำปลาไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชนได้ แม้ใช้คำ 'กุ๊ก' ซึ่งเป็นคำสามัญได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัวแต่งตัวเป็นพ่อครัวลำตัวคล้ายขวดมีมือสองข้างและเท้าสองข้างคำว่ากุ๊กและCOOKอยู่กลางลำตัวส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวนหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัดใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่ากุ๊กอินเตอร์และINTERCOOKรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจนประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วยทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้นส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋องไม่มีน้ำมันพืชยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525คำว่ากุ๊กหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งฉะนั้นคำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปลไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่ากุ๊กแต่เพียงผู้เดียวบุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่ากุ๊กได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: '4 SEASONS' ไม่ใช่คำสามัญ แม้ 'SEASONS' เป็นคำทั่วไป
คำว่า "SEASONS" ที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นคำที่มีความหมายว่า ฤดูกาล จึงเป็นคำที่มีอยู่แล้วและใช้กันได้เป็นการทั่วไป เมื่อพิจารณาในภาพรวมเครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยแล้ว เห็นว่า ไม่เหมือนหรือคล้ายกัน ทั้งการออกเสียงเรียกขานก็แตกต่างกัน แม้สินค้าของโจทก์และจำเลยจะเป็นสีประเภทและชนิดเดียวกัน แต่การหีบห่อสินค้าก็มีลักษณะแตกต่างกัน เมื่อจำเลยนำสืบถึงความเป็นมาของเครื่องหมายการค้าและเหตุที่จำเลยใช้คำว่า "ALL SEASONS" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยสุจริต โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าผู้บริโภคจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้าว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือจำเลย การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
แม้คำว่า "SEASONS" จะเป็นคำที่มีความหมายในพจนานุกรมว่า ฤดูกาล แต่หากคำดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในทางการค้าสำหรับสินค้าประเภทสีน้ำพลาสติก สีน้ำมัน และสีน้ำใช้สำหรับทาอาคารตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองไว้ คำดังกล่าวก็อาจมีลักษณะบ่งเฉพาะได้ เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์เห็นว่า โจทก์หาได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเฉพาะคำว่า "SEASONS" อย่างเดียวไม่ แต่ยังประกอบด้วย ตัวเลข "4" อยู่ด้านหน้า รวมเป็นคำว่า "4 SEASONS" ซึ่งการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย เมื่อพิจารณาคำว่า "4 SEASONS" แล้ว เห็นได้ชัดว่าคำดังกล่าวไม่เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสินค้าสีน้ำพลาสติก สีน้ำมัน และสีน้ำใช้สำหรับทาอาคารแต่อย่างใด อันไม่ทำให้เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง (2)
แม้คำว่า "SEASONS" จะเป็นคำที่มีความหมายในพจนานุกรมว่า ฤดูกาล แต่หากคำดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ใช้กันสามัญในทางการค้าสำหรับสินค้าประเภทสีน้ำพลาสติก สีน้ำมัน และสีน้ำใช้สำหรับทาอาคารตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองไว้ คำดังกล่าวก็อาจมีลักษณะบ่งเฉพาะได้ เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์เห็นว่า โจทก์หาได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเฉพาะคำว่า "SEASONS" อย่างเดียวไม่ แต่ยังประกอบด้วย ตัวเลข "4" อยู่ด้านหน้า รวมเป็นคำว่า "4 SEASONS" ซึ่งการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย เมื่อพิจารณาคำว่า "4 SEASONS" แล้ว เห็นได้ชัดว่าคำดังกล่าวไม่เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสินค้าสีน้ำพลาสติก สีน้ำมัน และสีน้ำใช้สำหรับทาอาคารแต่อย่างใด อันไม่ทำให้เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'DR PEPPER' ไม่ใช่คำสามัญ แม้ 'DR' จะเชื่อมโยงกับ 'DOCTOR'
คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมคือ "Dr" โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก ไม่ใช่ "DR" ตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ใช่คำย่อของคำว่า "DOCTOR" เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจเรียกขานได้ว่า "ดี-อา-เปป-เปอร์" นอกจากนั้นอักษรโรมัน "DR" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะพิจารณาว่าเป็นคำที่มาจากคำย่อของคำว่า "DOCTOR" ซึ่งเป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมแปลว่า "แพทย์ หมอดุษฎีบัณฑิต" แต่ไม่ใช่ชื่อเรียกสามัญของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน ทั้งความหมายของอักษรโรมันดังกล่าวไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก น้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำหวานที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง จึงไม่ใช่เครื่องหมายที่ไม่อาจจดทะเบียนได้ และมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยโจทก์ไม่ต้องปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'DR' ไม่ใช่คำย่อทั่วไปและไม่ใช่คำสามัญที่จดทะเบียนไม่ได้
คดีนี้คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมคือ "DR" โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก ไม่ใช่ "DR" ตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ใช่คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามหลักเกณฑ์ในพจนานุกรมตามที่จำเลยกล่าวอ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจเรียกขานได้ว่า "ดี-อา-เปป-เปอร์" นอกจากนั้น คำสามัญ (Generic word) ที่ไม่อาจรับจดทะเบียนได้นั้นหมายถึง คำที่เป็นชื่อเรียกสามัญของสินค้านั้นๆ เช่น คำว่า "เก้าอี้" สำหรับสินค้าเก้าอี้ เป็นต้น และไม่มีบุคคลใดสามารถหวงกันคำสามัญเช่นนั้นไว้ใช้กับสินค้าดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว สำหรับอักษรโรมัน "DR" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะพิจารณาว่าเป็นคำที่มาจากคำย่อของคำว่า "DOCTOR" ซึ่งเป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมแปลว่า "แพทย์ หมอ ดุษฎีบัณฑิต" แต่คำดังกล่าวไม่ใช่ชื่อเรียกสามัญของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน ทั้งความหมายของอักษรโรมันดังกล่าวไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก น้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำหวาน ที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง เมื่อเป็นเช่นนี้อักษรโรมัน "DR" จึงไม่ใช่เครื่องหมายที่ไม่อาจจดทะเบียนได้และมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยโจทก์ไม่ต้องปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวแต่อย่างใด