พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-การใช้คำเบิกความเป็นหลักฐาน: ศาลฎีกาพิพากษากลับ คดีกู้ยืมเงินที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องซ้ำ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาได้รับรองแล้ว แต่ตามฎีกาของโจทก์ทุกข้อเป็นข้อกฎหมาย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่ไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาจึงไม่จำต้องเพิกถอน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยตามคำท้า: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคำเบิกความที่ตรงกับประเด็นที่ท้า หากตรงตามนั้นต้องตัดสินตามนั้น แม้มีเหตุผลทางกฎหมายประกอบ
ในกรณีที่คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้หรือไม่และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียวโดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามที่พยานเบิกความนั้น จะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าหรือไม่ หากเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลก็จะต้องตัดสินตามคำท้านั้น เมื่อคำเบิกความของพยานคนกลางที่ตอบศาลถาม พยานยืนยันว่าหากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย แม้พยานจะตอบคำถามติงของทนายโจทก์ว่าหากมีการอายัดโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกันได้นั้น เป็นเงื่อนไขที่พยานเบิกความขึ้นเองไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขตามคำท้าเพราะคำท้ามิได้กล่าวถึงการอายัดไว้ด้วย คำเบิกความของพยานจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน ผลผูกพันคำเบิกความต่อโจทก์อื่น การไม่รับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ซึ่งกำหนดว่า "ผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ทุกคนตั้งแต่เริ่มคดีหรือตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีดังกล่าวผูกพันโจทก์ทุกคน" ฉะนั้นภายหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานในคดีจึงต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย คำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามเอกสารหมาย จ.20 และรายละเอียดแนบท้ายหนังสือดังกล่าวซึ่งระบุถึงจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง ถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีลักทรัพย์: คำเบิกความขัดแย้งและขาดพยานยืนยัน
ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยกับผู้เสียหายเข้าพักในโรงแรมที่เกิดเหตุเมื่อผู้เสียหายหลับไปและตื่นขึ้นปรากฏว่าจำเลยไม่อยู่ในห้องพักและทรัพย์สินของผู้เสียหายสูญหายไป ผู้เสียหายลงไปที่เคาน์เตอร์โรงแรมและแจ้งให้พนักงานโรงแรมทราบ แต่พนักงานโรงแรมซึ่งอยู่ที่เคาน์เตอร์โรงแรมในคืนเกิดเหตุกลับเบิกความว่าผู้เสียหายออกจากโรงแรมเวลาประมาณ5 นาฬิกา โดยไม่ได้พูดอะไรเลย คำเบิกความพยานโจทก์จึงเป็นพิรุธซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ประกอบกับไม่ได้ตรวจพบทรัพย์สินของผู้เสียหายที่จำเลยและพนักงานโรงแรมมิได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับสุภาพสตรีที่มากับผู้เสียหายในคืนที่เกิดเหตุ พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความในคดีก่อนหน้าเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา และการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษ
แม้ประจักษ์พยานโจทก์ที่เห็นเหตุการณ์ในคดีนี้ คือ นาย ณ. จะเบิกความว่า จำนาย ส. ไม่ได้แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ณ. ได้เคยให้การต่อพนักงานสอบสวน และได้เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีหมายเลขดำที่ 9326/2526 (คดีหมายเลขแดงที่ 1425/2526) ของศาลอาญา ซึ่งคดีดังกล่าวเป็นคดีที่พนักงานอัยการฟ้องนาย ส. กล่าวหาว่าร่วมกับพวกที่หลบหนีใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและเป็นคดีที่มีมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ โดยนาย ณ. ได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า นาย ส. ได้ใช้อาวุธปืนยิงไปถูกผู้ตาย แม้คำเบิกความของนาย ณ. ดังกล่าวจะมิใช่ถ้อยคำที่ได้เบิกความไว้ในคดีนี้ก็ตาม แต่นาย ณ. ได้เบิกความยืนยันไว้ในคดีนี้โดยรับว่าได้ให้ถ้อยคำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การ และได้เบิกความต่อศาลถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีดังกล่าวจริง ดังนั้น คำเบิกความของนาย ณ. ในคดี หมายเลขดำที่ 9326/2526 (คดีหมายเลขแดงที่ 1425/2526) ของศาลอาญา จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้เพราะเป็นพยานหลักฐานที่โจทก์อ้างและนำสืบไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7257/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า ทำร้ายร่างกาย และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต พิจารณาจากพยานหลักฐานและคำเบิกความ
แม้ ส. ป. และ ก. พยานโจทก์จะเป็นเพื่อนกับ ว. หลานจำเลยที่ 3 แต่พยานโจทก์ดังกล่าวก็รู้จักจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถึงขนาดไปดูโทรทัศน์ที่บ้านจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งพยานทั้งสามเบิกความตรงกับที่ให้การในชั้นสอบสวนซึ่งให้การหลังเกิดเหตุเพียง 5 วัน และยังเบิกความสอดคล้องกันในเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำร้ายจำเลยที่ 3 ประกอบกับจำเลยที่ 1 เบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่า พยานยิงปืนออกไปนัดแรกขณะจำเลยที่ 3 นอนหงายอยู่บนเบาะรถยนต์กระบะโดยมีจำเลยที่ 2 นอนคว่ำทับอยู่ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 3 และเมื่อพิเคราะห์ถึงอาวุธที่จำเลยที่ 1 ใช้ทำร้ายประกอบบาดแผลที่จำเลยที่ 3 ได้รับที่หัวไหล่ข้างขวาและคำพูดของจำเลยที่ 1 ที่ว่า "ดึงกุญแจไว้ เอาให้ตาย" แม้จำเลยที่ 1 จะยิงถูกจำเลยที่ 3 เพียงนัดเดียว ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าจำเลยที่ 3 แล้ว
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าทำร้ายจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 1 จึงอ้างว่ากระทำโดยป้องกันไม่ได้
แม้โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนของจำเลยที่ 1 มาเป็นพยาน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน และเบิกความรับในชั้นพิจารณาว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 ซื้อมาจาก ศ. โดย ศ. ตกลงจะโอนทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลัง ดังนี้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายไว้ในครอบครองโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าทำร้ายจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 1 จึงอ้างว่ากระทำโดยป้องกันไม่ได้
แม้โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนของจำเลยที่ 1 มาเป็นพยาน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนยิงจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน และเบิกความรับในชั้นพิจารณาว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 ซื้อมาจาก ศ. โดย ศ. ตกลงจะโอนทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลัง ดังนี้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายไว้ในครอบครองโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายสำคัญต่อการพิจารณาความผิดฐานชำเรา อายุที่แท้จริงต้องพิจารณาจากคำเบิกความของมารดา
แม้ผู้เสียหายเบิกความว่า ผู้เสียหายเกิดวันที่ 17 ตุลาคม 2521ตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน แต่นาง ท. มารดาผู้เสียหายเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ขณะที่ผู้เสียหายเกิดนั้นตนยังไม่ได้ไปแจ้งเกิดในทันทีแต่ไปแจ้งเกิดเมื่อผู้เสียหายมีอายุ 9 เดือน วันเดือนปีเกิดที่ระบุในสูติบัตรเป็นวันที่ไปแจ้งเกิดผู้เสียหาย มิใช่วันเกิดที่แท้จริง เมื่อวันเกิดของผู้เสียหายไม่มีใครทราบได้ดีกว่ามารดาผู้เสียหายเพราะเป็นนนผู้อุ้มท้องและคลอดผู้เสียหายเองย่อมต้องจดจำวันได้อย่างแม่นยำ คำเบิกความของนาง ท. จึงน่าเชื่อถือ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุตามสูติบัตร 14 ปี 6 เดือน เมื่อรวมอีก 9 เดือนด้วยแล้วขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุที่แท้จริง 15 ปีเศษแล้ว อายุของผู้เสียหายนั้นต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะมีอายุเกินกว่า 15 ปีแล้วมิใช่ 14 ปีเศษตามฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายเป็นสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงอายุตามคำเบิกความมารดาทำให้ข้อหาข่มขืนไม่成立
แม้ผู้เสียหายเบิกความว่า ผู้เสียหายเกิดวันที่ 17ตุลาคม 2521 ตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน แต่นาง ท.มารดาผู้เสียหายเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าขณะที่ผู้เสียหายเกิดนั้นตนยังไม่ได้ไปแจ้งเกิดในทันทีแต่ไปแจ้งเกิดเมื่อผู้เสียหายมีอายุ 9 เดือน วันเดือนปีเกิดที่ระบุในสูติบัตรเป็นวันที่ไปแจ้งเกิดผู้เสียหาย มิใช่วันเกิดที่แท้จริง เมื่อวันเกิดของผู้เสียหาย ไม่มีใครทราบได้ดีกว่ามารดาผู้เสียหายเพราะเป็นผู้ อุ้มท้องและคลอดผู้เสียหายเอง ย่อมต้องจดจำวันได้อย่างแม่นยำ คำเบิกความของนาง ท. จึงน่าเชื่อถือขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุตามสูติบัตร 14 ปี 6 เดือน เมื่อรวมอีก 9 เดือนด้วยแล้วขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุที่แท้จริง 15 ปีเศษแล้ว อายุของผู้เสียหายนั้นต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะมีอายุเกินกว่า 15 ปีแล้ว มิใช่ 14 ปีเศษตามฟ้องการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐานและคำเบิกความที่สอดคล้องกัน
ประจักษ์พยานฝ่ายโจทก์เบิกความยืนยันว่าได้พูดคุยกับพวก ของจำเลยและจำเลยเป็นเวลานานในระยะใกล้ชิดถึงสองครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยและจำเลยสวมหมวกหรือปกปิดใบหน้า ซึ่งพยานโจทก์จำได้แม่นยำว่าคือจำเลย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดูภาพถ่ายจำเลย พยานก็สามารถชี้ได้ถูกต้อง เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พยานก็ชี้ตัวจำเลยได้ถูกต้องอีก หลังเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจก็ขาดราชการจนถูกไล่ออกจากราชการเป็นพิรุธบ่งชี้ว่าจำเลยขาดราชการเพื่อหลบหนี การจับกุม ไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย จึงไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลย การที่พยานโจทก์เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุดังกล่าวจำเลยกับพวกเคยเรียกร้องเอาเงินในลักษณะเดียวกันจาก ผู้เสียหายมาก่อนและได้กระทำต่อเนื่องกันมา จนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม เป็นการนำสืบในประเด็นเพื่อให้น่าเชื่อ ว่าพยานโจทก์เคยเห็นจำเลยมาก่อนและสามารถจำจำเลยได้ การฟ้อง ก็ไม่จำต้องระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในฟ้องเพราะเป็น รายละเอียดที่โจทก์นำสืบในภายหลังได้ การนำสืบของโจทก์ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง และพนักงานสอบสวนได้สอบสวนพยานโจทก์เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยในคดีนี้แล้วแม้จะมิได้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ได้กระทำมาก่อนดังกล่าวก็ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวน คดีนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ส่วนการที่พยานโจทก์ เบิกความแตกต่างกันเกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัยของจำเลย นั้นอาจเป็นเพราะพยานไม่ทันสังเกตหมวกนิรภัย หาทำให้ คำเบิกความในข้ออื่นมีน้ำหนักลดน้อยลงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน การรับสารภาพ การขัดแย้งในคำเบิกความ และองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
การที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความชั้นพิจารณาว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ลักทรัพย์ขัดต่อเหตุผล เห็นเจตนาได้ชัดว่าเบิกความช่วยเหลือจำเลยมิให้รับโทษศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การโจทก์ดังกล่าวในชั้นสอบสวนซึ่งสมเหตุผลยิ่งกว่าได้ แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยกระทำผิด แต่ จำเลยให้การรับสารภาพมาตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนนำชี้ที่เกิดเหตุแสดงการลักทรัพย์ประกอบกับคำพยานและพฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลักยางพาราซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกสิกรรม มิได้กล่าวในฟ้องว่า เป็นยางพาราของเจ้าทรัพย์ผู้มีอาชีพกสิกรรมขาดองค์ประกอบ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) จึงลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้