พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแพ่ง: ผลของการไม่มาศาลและคำแถลงของจำเลยที่ไม่ชัดเจน
แม้ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งมีหน้าที่สืบก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้อนุญาตให้ทนายโจทก์ถอนตัวและให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในนัดต่อมา การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นชอบที่จะจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 ซึ่งใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ส่วนการที่ทนายจำเลยแถลงขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร ก็มิใช่คำแถลงที่มีความหมายในทางที่จำเลยประสงค์หรือตั้งใจจะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: การไม่ใช้สิทธิขออัตรา 7% ทำให้ต้องเสียภาษีอัตรา 9% และคำแถลงก่อนศาลตัดสินไม่กระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นคำแถลงก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาอ้างเพียงว่า พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ของจำเลยที่ 1 เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูงสุดเท่านั้น โดยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใด เพราะเหตุใด ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้อง แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวในลักษณะของแถลงการณ์ปิดคดีเพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อคำแถลงไม่ชัดเจน
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์อ้างเพียงว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 309 ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรของจำเลย เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงสุดเท่านั้น โดยโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุน ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาในลักษณะของการแถลงการณ์ปิดคดี เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นยกคำแถลงแล้วพิจารณาคดีต่อไปจึงชอบแล้ว และเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 309 ฯ ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์จำกัดขอบเขตตามคำแถลงในชั้นบังคับคดี การอุทธรณ์ความเสียหายเพิ่มเติมถือเป็นการอุทธรณ์นอกเหนือข้อที่ว่ากล่าวแล้ว
ในชั้นบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดไปแล้วนั้นเมื่อคำแถลงของโจทก์ระบุถึงความเสียหายที่จำเลยซ่อมแซมตึกแถวผิดไปจากแบบแปลนมาเพียง4รายการการที่โจทก์นำสืบถึงความเสียหายอื่นนอกเหนือไปจากความเสียหายที่ระบุมาในคำแถลงแม้จะเป็นการนำสืบตามฟ้องแต่ก็เป็นการนำสืบนอกเหนือไปจากคำแถลงในชั้นบังคับคดีอุทธรณ์ในความเสียหายอื่นของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีสืบพยานและคำแถลงที่ไม่ครบถ้วน
คู่ความตกลงท้ากันว่า โจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน แต่ขอให้พระภิกษุ ส.มาแถลงต่อศาลว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแน่ หากพระภิกษุ ส.แถลงต่อศาลเช่นใด คู่ความก็ยอมรับและไม่ติดใจคัดค้านแต่พระภิกษุ ส.แถลงต่อศาลเพียงว่า พระภิกษุ ส.เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างพี่ชายโจทก์กับจำเลย แต่เงินที่ซื้อเป็นของจำเลยหรือไม่ และจำเลยซื้อแทนใครหรือไม่ พระภิกษุ ส.ไม่ทราบ คำแถลงพระภิกษุ ส.ไม่ครบถ้วนตามคำท้าคดีจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยกันต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: คำแถลงก่อนศาลสั่งอนุญาตขายทอดตลาด ไม่ถือเป็นการคัดค้านการบังคับคดี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามมิได้ยื่นคำคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นภายใน 8 วัน นับแต่ทราบถึงเหตุที่ทำให้การขายทอดตลาดเป็นไปโดยมิชอบ และที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขายว่าผู้สู้ราคาให้ราคาต่ำ ขอให้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายนั้น เป็นคำแถลงเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลว่าจะสมควรอนุญาตให้ขายทอดตลาดหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีที่ผิดระเบียบหรือฝ่าฝืนต่อกฏหมายว่าด้วยการบังคับคดีตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 และมาตรา 296 วรรคสองกำหนดไว้ จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดเพราะโจทก์จะพาพวกเข้าประมูลกดราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อให้ศาลระงับการขายไว้ก่อน การที่โจทก์พาพวกมาประมูลกดราคาถือว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำให้ฝ่ายจำเลยเสียหาย ศาลมีอำนาจเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ และที่ดินที่ขายกันในปัจจุบันราคาสูงเพราะอยู่ในเขตพัฒนา หากศาลฎีกาสั่งยกเลิกการขายแล้วให้ประมูลใหม่ จำเลยทั้งสามหาคนมาประมูลได้ราคาสูงกว่าที่โจทก์ประมูลนั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2280/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามฎีกา: ศาลต้องสั่งคำแถลงจำเลยเมื่อส่งสำเนาฎีกาไม่ได้ ไม่ใช่รอจำเลยแถลงเอง
เมื่อส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยผู้ฎีกาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาฎีกาให้ทนายโจทก์ไม่ได้ เพราะทนายโจทก์ออกไปธุระ และขอให้ส่งใหม่อีกครั้งโดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นสั่งว่าให้รอผลการส่งหมายก่อน ต่อมาอีก 4 เดือนเศษ พนักงานเดินหมายเพิ่งรายงานผลการส่งหมายให้ศาลชั้นต้นทราบดังที่จำเลยแถลง ดังนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งคำแถลงของจำเลยว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ศาลชั้นต้นกลับสั่งให้รอจำเลยแถลง โดยมิได้แจ้งคำสั่งให้ทราบด้วย จำเลยย่อมไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว และไม่อาจดำเนินการอะไรได้ การที่ระยะเวลาล่วงเลยไปเช่นนี้เป็นเพราะความบกพร่องของพนักงานเดินหมายที่รายงานผลการส่งหมายล่าช้าเกินสมควรจะถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลกำหนดและถือว่าจำเลยทิ้งฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานตามคำแถลงของจำเลย: ศาลชอบธรรมในการดำเนินการตามคำรับรองเดิม แม้จำเลยอ้างความหมายคับแคบ
วันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยแถลงขอเลื่อนคดี และแถลงว่าหากนัดหน้าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยแถลงว่าไม่มีพยานมาศาล แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเนื่องจากจำเลยแถลงว่า หากนัดนี้ไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ จึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้งดสืบพยานจำเลย คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งไปตามที่ทนายจำเลยได้แถลงรับรองไว้ในนัดแรก และในนัดนี้ทนายจำเลยก็มิได้แถลงขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ด้วย
คำแถลงของจำเลยที่ว่า หากนัดหน้าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะพยานของฝ่ายจำเลยเท่านั้นหากแต่รวมถึงตัวจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองไว้เป็นพยานด้วย เพราะจะเป็นตัวจำเลยหรือพยานของจำเลยก็จะต้องเรียกว่าพยานฝ่ายจำเลยอยู่นั่นเอง
คำแถลงของจำเลยที่ว่า หากนัดหน้าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะพยานของฝ่ายจำเลยเท่านั้นหากแต่รวมถึงตัวจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองไว้เป็นพยานด้วย เพราะจะเป็นตัวจำเลยหรือพยานของจำเลยก็จะต้องเรียกว่าพยานฝ่ายจำเลยอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานจำเลยตามคำแถลง หากจำเลยไม่นำพยานมาศาลในนัดถัดไป
วันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยแถลงขอเลื่อนคดี และแถลงว่าหากนัดหน้าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยแถลงว่าไม่มีพยานมาศาล แล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเนื่องจากจำเลยแถลงว่า หากนัดนี้ไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ จึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้งดสืบพยานจำเลย คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบแล้วเพราะศาลชั้นต้นได้สั่งไปตามที่ทนายจำเลยได้แถลงรับรองไว้ในนัดแรกและในนัดนี้ทนายจำเลยก็มิได้แถลงขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ด้วย คำแถลงของจำเลยที่ว่า หากนัดหน้าจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะพยานของฝ่ายจำเลยเท่านั้นหากแต่รวมถึงตัวจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองไว้เป็นพยานด้วย เพราะจะเป็นตัวจำเลยหรือพยานของจำเลยก็จะต้องเรียกว่าพยานฝ่ายจำเลยอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5173/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำแถลงต่อศาลมีผลผูกพัน หากผลคดีตามคำแถลงเป็นจริง โจทก์ต้องผูกพันตามคำท้าที่ให้ไว้
คู่ความแถลงร่วมกันว่าคดีนี้เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งโดย จ.เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้และ จ. เป็นจำเลยและจำเลยร่วมคดีนี้เป็นโจทก์ร่วม อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของราชพัสดุ ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน หากผลของคดีดังกล่าวปรากฏว่า จ.เป็นฝ่ายชนะคดี โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยคดีนี้ เป็นคำแถลงที่ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คู่ความจึงต้องผูกพันตามคำแถลงดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นคำท้าว่าหาก จ.ชนะคดีโจทก์ในคดีนั้น โจทก์ก็จะถอนฟ้องคดีนี้ เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้ จ.ชนะคดี โจทก์ยังแถลงขอถอนข้อหาส่วนอาญา ให้ตัดสินตามคำท้าโดยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมิได้ครอบคลุมถึงที่พิพาทในคดีนี้ทั้งหมดโจทก์จึงต้องแพ้คดีตามคำท้า
ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมเป็นโมฆะ โจทย์ยังมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเป็นคูเมือง แต่ส่วนที่เหลือกว้าง 12 วาเป็นที่ดินชานกำแพงเมืองอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยรับว่าปลูกเรือนในที่พิพาทก่อนขอเช่าที่พิพาทจากจำเลยร่วมจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น โจทก์จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยและจำเลยร่วมเป็นโมฆะ โจทย์ยังมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเป็นคูเมือง แต่ส่วนที่เหลือกว้าง 12 วาเป็นที่ดินชานกำแพงเมืองอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยรับว่าปลูกเรือนในที่พิพาทก่อนขอเช่าที่พิพาทจากจำเลยร่วมจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น โจทก์จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้