คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนของหมั้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของการหมั้นและการแต่งงานเมื่ออายุไม่ครบ 17 ปี และผลกระทบต่อการคืนของหมั้นสินสอด
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้นจากเหตุผลที่ไม่สมเหตุผล จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันคืนของหมั้น
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น: จำเลยมีหน้าที่คืนของหมั้น แม้จะมอบให้จำเลยอื่น และไม่มีเหตุฟังได้ว่าโจทก์มีสติไม่บริบูรณ์
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3868/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัด: การคืนของหมั้น สินสอด ค่าทดแทนความเสียหาย และการพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิง หลังจากแต่งงานกันแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้ หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นต้องมีการมอบทรัพย์สิน หากชายตายก่อนสมรส หญิงไม่ต้องคืนของหมั้นที่มอบไว้แล้ว โฉนดที่วางเป็นประกันหนี้ที่ไม่มีอยู่จริง ย่อมต้องคืน
ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายได้ให้แก่ฝ่ายหญิงไว้แล้ว ถ้าให้ทรัพย์สินไว้ส่วนหนึ่ง และสัญญาว่า จะนำมามอบให้ในวันหลังอีก ก็คงเป็นของหมั้นเฉพาะส่วนที่ให้ไว้แล้ว ส่วนที่ยังไม่ได้มอบให้ไม่เป็นของหมั้น ฉะนั้นในกรณีที่ชายตาย ของหมั้นที่มอบไว้ย่อมตกแก่หญิง แต่หญิงจะฟ้องเรียกทรัพย์ที่ฝ่ายชายสัญญาจะมอบให้อีกนั้นไม่ได้
ถ้าฝ่ายชายได้มอบของหมั้นให้บ้างแล้ว และสัญญาว่าจะนำของหมั้นที่ยังขาดมามอบให้อีก ถ้าฝ่ายชายไม่นำมามอบให้ตามที่ตกลงกัน ฝ่ายหญิงจะปฏิเสธไม่ยอมสมรส โดยถือว่าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นก็ได้
เอาโฉนดไปวางเป็นประกันหนี้ แต่ตามกฎหมายไม่มีหนี้ที่จะเรียกร้องจากกันได้ เจ้าของโฉนดก็ย่อมฟ้องเรียกโฉนดคืนได้