คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขอคืนภาษี: การตรวจสอบภาษียังไม่เสร็จสิ้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 และ 2542 ระบุผลการประกอบกิจการขาดทุนสุทธิทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาปฏิบัติดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และตามระบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรฯ ข้อ 21 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันออกหมายเรียก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอคืนภาษีขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาตรวจสอบดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีระหว่างอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน ถือโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2541 และ 2542 ระบุผลการประกอบกิจการขาดทุนสุทธิทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย สำหรับรอบระยะเวลาปฏิบัติดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องตรวจสอบบัญชีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ก่อน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจสอบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 ข้อ 21 กำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันออกหมายเรียก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขณะที่ยังอยู่ในระยะเวลาตรวจสอบดังกล่าว การกระทำของจำเลย จึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณา คดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องลาภมิควรได้ กรณีคืนภาษีสรรพสามิต: การได้รับเงินคืนโดยไม่มีสิทธิภายหลังถือเป็นลาภมิควรได้
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสำหรับเหตุที่ไม่ได้มีการเติมน้ำมันให้แก่เรือและรายละเอียดของกฎกระทรวงตามวรรคสองของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ไม่ใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักในข้อหาที่โจทก์ฟ้อง จึงสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ แต่อุทธรณ์ของจำเลยไม่ปรากฏเลยว่าเหตุใดจำเลยจึงเห็นว่ากรณีดังกล่าวมิใช่รายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ และเหตุใดจำเลยจึงถือว่ารายละเอียดของกฎกระทรวงเป็นข้ออ้างที่โจทก์ต้องอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา อุทธรณ์ของจำเลยไม่มีข้อโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับกรมสรรพสามิตโจทก์คืนค่าภาษีคนละเที่ยวเรือกับที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเรือแต่ละเที่ยวเรือตามคำฟ้องและฟ้องแย้งไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นว่า จำเลยจะต้องคืนเงินค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไป ให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยมีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเรียกให้โจทก์คืนเงินค่าภาษีที่จำเลยชำระไว้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น แม้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลยจะเป็นเรื่องของการขอคืนภาษีสรรพสามิตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตในมาตราเดียวกัน แต่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำขอของโจทก์กับฟ้องแย้งของจำเลยก็แตกต่างตรงข้ามกันและไม่มีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าการที่จำเลยขอรับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือจำเลยได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีก็เป็นผลมาจากการที่โจทก์ตรวจสอบพบว่าไม่มีการเติมน้ำมันแก่เรือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 102(4) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2537 กรณีตามฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่อาจนำอายุความเรื่องละเมิดมาบังคับแก่คดีได้
จำเลยใช้สิทธิจากการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตหรือขายหรือจำหน่ายน้ำมันนำน้ำมันที่จำเลยชำระภาษีแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว ขอรับคืนค่าภาษีจากกรมสรรพสามิตโจทก์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่ามิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือซึ่งมีชื่อที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไปแม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นลาภมิควรได้จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกเงินดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยคืนเงินภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 จึงฟังได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนซึ่งค่าภาษีจากจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: กรณีพิพาทคืนภาษี แม้ไม่ใช่การประเมิน ก็มีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยตามแบบ ค.10 ที่จำเลยกำหนดไว้ แต่ต่อมาจำเลยพบว่าโจทก์ได้รับค่าภาษีอากร เกินไปจำนวน 5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่ง คืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมินก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบ ค.10 ให้ผิดไปตามแบบที่จำเลยกำหนด โดยจำเลยได้ทำการพิจารณา คำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่ง เงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของ โจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน และการคิดดอกเบี้ยคืนภาษีที่ชำระเกิน
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 33เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการที่โจทก์จะขอลดภาษีต่อกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ไว้มิใช่บทบัญญัติถึงขั้นตอนในการที่ศาลจะมีอำนาจพิจารณาค่ารายปีที่พิพาท ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ค่าเช่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำมากำหนดเป็นค่ารายปีนั้น มิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่ารายปีให้เท่าจำนวนที่สมควรจะให้เช่าได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางเห็นว่ามีเหตุสมควรลดค่ารายปีและคืนภาษีที่โจทก์ชำระเกินมาให้โจทก์นั้น เป็นการพิพากษาลดค่าภาษีให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง ตามที่ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณา
การที่ศาลภาษีอากรกลางให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินไปชำระนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 วรรคสอง เพราะเมื่อศาลให้ลดค่าภาษีต้องคืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายใน 3 เดือน หากไม่คืนในกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงจะมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย ปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอคืนภาษีของโรงงานที่ไม่เข้าสู่ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยและน้ำตาล
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แต่การที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นใหม่ในการพิพากษาคดีว่าจำเลยมีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์หรือไม่ก็เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวเพราะหากวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่หรือไม่มีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์แล้วการที่จำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ก็จะเป็นการไม่ชอบหรือชอบด้วยกฎหมายนั่นเองหาเป็นการพิพากษานอกประเด็นข้อพิพาทไม่ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำเลยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้บริหารตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา25(3)และ(4)กำหนดหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไว้ว่าปฏิบัติหน้าที่อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายเมื่อไม่ปรากฎว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์และคณะรัฐมนตรีก็มิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการแทนโจทก์อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่183)พ.ศ.2530พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า(ฉบับที่204)พ.ศ.2532และ(ฉบับที่211)พ.ศ.2533ก็มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์จำเลยจึงปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้าจากผลักภาระภาษี การคิดดอกเบี้ย และอำนาจฟ้องของหน่วยงาน
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า แต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์
จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากร-คืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบียไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีผลักภาระภาษีจากผู้ผลิตไปผู้ส่งออก และดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)ซึ่งกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรในข้อ 3 ว่า ในกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบ ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับแต่เมื่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้วเท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ท้องถิ่นที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาคเท่านั้น ส่วนการจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 จึงหาต้องรับผิดคืนเงินภาษีแก่โจทก์ไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องคืนเงินค่าภาษีอากรแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ผู้ต้องเสียภาษีมีสิทธิที่จะเรียกร้องดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ขอคืนได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ได้รับคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีจำเลยเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และการคิดดอกเบี้ยเงินภาษีที่ได้รับคืน
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 1(7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อนละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์ ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516)ข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ใน อัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีผลักภาระภาษีจากผู้ผลิตไปผู้ส่งออก และการคำนวณดอกเบี้ย
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีที่ใช้บังคับขณะนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78วรรคแรก และไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 มาตรา 5(8) เนื่องจากน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา บัญชีที่ 1 หมวด 1(7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 ข้อ 3 ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับ ดังนั้นแม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับ แต่เมื่อจำเลยได้มีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออกจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าตามฟ้องให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรตามฟ้อง บัญญัติว่าให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยด้วยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ที่ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศวรรคแรก บัญญัติไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอแต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
of 4