พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการคืนสิทธิในทรัพย์สินเมื่อผู้เช่าซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ 2 คราวติดต่อกัน โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ไม่ได้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันตามข้อสัญญาโดยยังคงถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความผูกพันต่อกันตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป การที่ต่อมาจำเลยที่ 1 นำรถที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ตามข้อสัญญาและตามมาตรา 573 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเลิกกันตามมาตรา 573นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ มิใช่กรณีสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย หรือประพฤติผิดสัญญาอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องชดใช้ราคาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญา เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันตามมาตรา 573 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์รวม 3 งวด ก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันดังกล่าว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกนั้นได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคืนสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อน ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน......ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงานดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การคืนสิทธิประโยชน์ และการนับอายุงานต่อเนื่องหลังกลับเข้าทำงาน
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่ ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน... ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงาน ดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8816/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง: การชำระหนี้ตามสัญญาหลักและการคืนสิทธิเรียกร้องเมื่อสัญญาหลักสิ้นสุด
โจทก์กู้เงินจำเลย โดยตกลงทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ลูกหนี้ผู้เช่าซื้อจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไปให้จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระเงิน และเมื่อภาระผูกพันที่โอนสิทธิเรียกร้องไปเป็นประกันได้รับชดใช้คืนครบถ้วนแล้ว จำเลยต้องโอนสิทธิเรียกร้องคืนให้แก่โจทก์ การที่สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อความว่า ให้สัญญานี้ใช้บังคับจนกว่าภาระผูกพันที่มีหลักประกันที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งหมดจะได้รับการชดใช้คืนจนครบถ้วนนั้น จากถ้อยคำในสัญญาที่ว่า "สัญญาอื่นใดระหว่างผู้โอน และผู้รับโอนที่ทำขึ้นไม่ว่าเวลาใด" คำว่า "สัญญาอื่นใดที่ทำขึ้นระหว่างผู้โอนและผู้รับโอน" ซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ระหว่างผู้โอนคือโจทก์ กับผู้รับโอน คือจำเลย จึงน่าจะหมายถึงสัญญากู้เงินที่ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องทำขึ้น ไม่ใช่หมายถึงสัญญาบริหารซึ่งเป็นสัญญาหลายฝ่าย ถ้าหากต้องการให้การโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญาบริหารด้วย ผู้โอนและผู้รับโอนก็น่าจะกำหนดไว้โดยชัดแจ้งว่า นอกจากสัญญากู้เงินแล้ว ให้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันสัญญาบริหารด้วย เพราะหากสัญญาบริหารเป็นสัญญาหลักที่สำคัญที่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถยนต์เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาด้วย ก็ควรต้องกำหนดในสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไว้ให้ชัดเจน การแปลสัญญาว่าสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันสัญญาบริหารด้วย ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น" ฉะนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญากู้ครบถ้วนแล้ว จำเลยต้องโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่โอนไปตามสัญญากลับคืนให้แก่โจทก์
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาฝากเงินกับธนาคาร และย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากตามป.พ.พ. มาตรา 665 แม้จำเลยจะโอนสิทธิและผลประโยชน์ในบัญชีเงินฝาก และสิทธิที่จะได้รับหรือถอนเงินจากบัญชีให้แก่ผู้อื่นแล้วก็ตาม
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร จำเลยจึงเป็นคู่สัญญาฝากเงินกับธนาคาร และย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากตามป.พ.พ. มาตรา 665 แม้จำเลยจะโอนสิทธิและผลประโยชน์ในบัญชีเงินฝาก และสิทธิที่จะได้รับหรือถอนเงินจากบัญชีให้แก่ผู้อื่นแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการกระทำผิดฟอกเงิน: การคืนสิทธิสถาบันการเงินและเงินลงทุนที่เหลือ
ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากผู้คัดค้านที่ 2 โดยนำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาชำระเงินดาวน์และค่างวดเช่าซื้อ แต่ผู้คัดค้านที่ 1 จะได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์เมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วเท่านั้น เมื่อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังคงเป็นของผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อกรณีมีเหตุควรเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 2 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์และรับเงินตามสัญญาเช่าซื้อโดยสุจริตจึงชอบที่จะขอคืนรถยนต์ได้ แต่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมาชำระราคาค่าเช่าซื้อบางส่วนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 รถยนต์จึงมีส่วนที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดซึ่งต้องตกเป็นของแผ่นดินรวมอยู่ด้วย เมื่อตามสัญญาเช่าซื้อเหลือเงินลงทุนของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ยังขาดอยู่ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 มีสิทธิจะได้รับ 358,504.59 บาท จึงต้องคืนราคารถยนต์ตามสิทธิของผู้คัดค้านที่ 2 โดยต้องขายทอดตลาดรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ที่แบ่งแยกไม่ได้แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่เกิน 358,504.59 บาท พร้อมดอกผล