คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยปริยาย-ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขาย: การรับรองการคืนสินค้าและเช็คโดยพนักงานขายผูกพันตัวการ
การที่พนักงานขายเสนอขายสินค้าของโจทก์แก่จำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโจทก์โดยปริยายและการที่พนักงานขายสินค้าของโจทก์รับรองกับจำเลยว่าถ้าสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์ไม่สามารถใช้ผลิตสินค้าได้ยอมให้คืนสินค้าและยอมคืนเช็คพิพาทให้จำเลยจึงย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการให้ต้องยอมรับผลในข้อตกลงที่ได้ทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา820โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้า กรรมสิทธิ์โอนเมื่อทำสัญญา, การคืนสินค้าที่รับเกิน, และดอกเบี้ยจากราคาสินค้า
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทยกับให้อำนาจส. มอบอำนาจช่วงได้ และ ส. มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช. พยานเบิกความทุกประการซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใดฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 440 ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อนจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ179 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาตัวแทนจำหน่ายและผลกระทบจากการไม่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอ พี ดี ให้เแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงิน เอ พี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอ พี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทตัวแทนจำหน่าย สินค้าค้างชำระ ค่าเอพีดี และหน้าที่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอพี ดี ให้แก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงินเอพี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอพี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการจำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์ โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเงินสดและการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การคืนสินค้าไม่ถือเป็นการตีใช้หนี้
ข้อตกลงซื้อสินค้ารายพิพาทเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสด เมื่อจำเลยในฐานะผู้ซื้อยอมรับมอบสินค้าไว้ จำเลยก็ต้องชำระราคาสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา486 การที่จำเลยไม่ชำระราคาขณะส่งมอบและยอมคืนสินค้าแก่ผู้คัดค้านไป แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะซื้อสินค้าต่อไปแล้ว ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำสินค้ากลับคืนได้ กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการรับเอาสินค้านั้นเป็นการตีใช้หนี้ค่าสินค้าชำระแทนไม่จึงไม่เข้าข่ายการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใด ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเงินสดและการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การคืนสินค้าไม่ใช่การตีใช้หนี้
ข้อตกลงซื้อสินค้ารายพิพาทเป็นการซื้อขายกันด้วยเงินสดเมื่อจำเลยในฐานะผู้ซื้อยอมรับมอบสินค้าไว้จำเลยก็ต้องชำระราคาสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา486การที่จำเลยไม่ชำระราคาขณะส่งมอบและยอมคืนสินค้าแก่ผู้คัดค้านไปแสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะซื้อสินค้าต่อไปแล้วผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำสินค้ากลับคืนได้กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการรับเอาสินค้านั้นเป็นการตีใช้หนี้ค่าสินค้าชำระแทนไม่จึงไม่เข้าข่ายการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใด ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนการชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายใบอินวอยซ์ปุ๋ยโดยสุจริต ผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์และหน้าที่คืนสินค้า
ปุ๋ยเคมีของโจทก์อยู่ที่คลังสินค้า มีผู้ปลอมใบอินวอยซ์ของโจทก์ขายใบอินวอยซ์ให้จำเลยรับปุ๋ยไปจากคลังสินค้าโดยจำเลยสุจริตศาลในคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักและใช้ใบอินวอยซ์ปลอม คำพิพากษาในคดีอาญานี้ศาลต้องฟังตามในคดีแพ่งผลในคดีแพ่งคือจำเลยไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ มิใช่ฟังกลับข้อเท็จจริงที่รับฟังมาในคดีอาญาได้ จำเลยซื้อใบอินวอยซ์เท่ากับซื้อปุ๋ยในท้องตลาด โจทก์เรียกปุ๋ยคืนไม่ได้ เว้นแต่ใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย: เช็คค่ายางรถยนต์คืนสินค้า
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในเช็ค ซึ่งจำเลยออกชำระหนี้ค่ายางรถยนต์ที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยได้ซื้อยางรถยนต์และออกเช็คจริง แต่จำเลยคืนยางรถยนต์ให้โจทก์ 18 เส้น โจทก์ออกเครดิตโน้ตให้ไว้แล้วไม่คิดหักให้ โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องเรียกเอาเงินตามเช็คได้ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังข้อต่อสู้ของจำเลย โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกัน โดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงกำหนดชำระจึงชอบที่จะหักกลบลบหนี้กันได้ และศาลชอบที่จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1,2 รับผิด ยกฟ้องจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาขอให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามข้ออ้างในฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายเชื่อและผลของการคืนสินค้าชำรุดต่ออายุความ
จำเลยซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์ในใบนำส่งสินค้าแต่ละคราวมีข้อความระบุว่าให้ผู้ซื้อชำระราคาภายใน 30 วัน และโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันว่าถ้าสินค้าชำรุดยอมให้จำเลยส่งคืนได้ โจทก์จะคิดชดเชยราคาให้ตามส่วนและสภาพของสินค้าโดยโจทก์จะออกใบเครดิตโน้ตให้จำเลย แสดงยอดเงินที่โจทก์คิดชดเชยให้ และโจทก์จะนำยอดเงินในเครดิตโน้ทนั้นไปหักออกจากราคาสินค้าที่จำเลยเป็นหนี้อยู่ดังนี้
สิทธิเรียกร้องในราคาสินค้าของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้า มิใช่นับจากวันที่หักราคาสินค้ากับเครดิตโน้ทเมื่อนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้าทุกฉบับจนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี แล้วคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
ข้อตกลงเรื่องคืนสินค้าดังกล่าวเป็นการตกลงกันในเรื่องคุณภาพของสินค้า จำเลยจะใช้สิทธิคืนสินค้าหรือไม่ย่อมแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจะเลือกปฏิบัติใบเครดิตโน้ทที่โจทก์ออกให้เมื่อจำเลยส่งสินค้าชำรุดคืนก็เป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ยินยอมชดเชยราคาให้แก่ฝ่ายจำเลยเองและเป็นหลักฐานที่โจทก์ฝ่ายเดียวทำขึ้นการที่จำเลยส่งสินค้าคืนเพื่อเรียกค่าชดเชยจากโจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าของกลางที่ศาลสั่งให้คืนแก่เจ้าของหลังคดีถึงที่สุด และสิทธิเรียกร้องเงินค่าขายจากกรมศุลกากร
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
of 2