พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนอากรหลังชำระหลังได้รับมอบสินค้า และอายุความของคดีภาษีอากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคห้ากำหนดให้โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบสินค้าว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่คดีนี้โจทก์ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 และต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาเพิ่มและแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า และโจทก์ได้ชำระหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากร แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องคดีภายใน 2 ปีนับแต่วันนำเข้า แต่พระราชบัญญัติศุลกากรฯ ก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้า: จำเลยต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากไม่ยื่น แม้มีสินค้าเหลือ ก็ไม่มีสิทธิหักออกจากภาษีที่ต้องชำระ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ กำหนดเงื่อนไขในการคืนอากรขาเข้าให้แก่ผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วได้ผลิตหรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ ด้วยของดังกล่าวและส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศไว้ว่า ผู้นำสินค้าเข้าต้องขอคืนเงินอากรภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนอากรสำหรับสินค้าทั้งสองรายการที่จำเลยอ้างขอตัดบัญชีได้อีกภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ทวิ และไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนไว้เลย จึงไม่อาจนำจำนวนสินค้าทั้งสองรายการดังกล่าวไปหักออกจากสินค้าคงเหลือซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินเรียกเก็บจากจำเลย จำเลยต้องชำระเงินค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มที่ค้างชำระแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนอากรขาเข้าเมื่อส่งออกสินค้าคืน และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า แต่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปีได้นั้น จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กักยึดผ้าของโจทก์ไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออก โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ ย่อมเป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในมูลละเมิดตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอน มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อการที่มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้าก็เพราะตรวจพบว่ามีตราคาโบติดอยู่ที่เนื้อผ้าแต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรกรณีสินค้าส่งออกต้องเป็นไปตามหลักฐานเดิมที่นำเข้า การสุ่มตรวจวัดน้ำหนัก/ความยาวต้องสมเหตุสมผล
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 มาตรา 19 (ง) กำหนดเวลาเฉพาะการขอคืนเงินอากรว่าจะต้องขอภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป มิได้มีบทบัญญัติว่าจะต้องคืนเมื่อใดหรือในกรณีที่จะไม่คืน จะต้องแจ้งให้ผู้ขอคืนทราบเมื่อใด จึงต้องพิจารณาตามการที่จะพึงปฏิบัติโดยปกติธรรมดาคือจะต้องคืนหรือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่าคืนให้ไม่ได้ภายในเวลาอันสมควรเมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 6 ปีเศษ และเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยยังอ้างว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะคืนให้หรือไม่อีก โดยไม่มีกำหนดเวลาว่าการพิจารณานั้นจะสิ้นสุดเมื่อใด เป็นการบ่ายเบี่ยงเสมือนไม่รับรู้สิทธิของโจทก์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าและการบังคับสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออกภายในกำหนด และอายุความ
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.