คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนเงินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีรถไฟได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินเนื่องจากใช้ในกิจการของรถไฟโดยตรง ศาลสั่งคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โรงเรือนและที่ดินซึ่งเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่ลาดกระบังเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์ได้รับสัมปทานดำเนินกิจการจากการรถไฟแห่งประเทศไทย การดำเนินกิจการดังกล่าวเชื่อมต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ที่ใช้บริการ การดำเนินกิจการของสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของโจทก์จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟคือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 (2) และมาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ดังนั้น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องตามฟ้องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่ได้ชำระแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยไป โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 26 ที่จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน และดอกเบี้ย กรณีคดีไม่ถึงที่สุด ศาลกำหนดระยะเวลาคืนเงินและดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 39 วรรคสอง กำหนดว่า ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือนโดยไม่คิดค่าอย่างใด ดังนั้น เมื่อโจทก์ผู้เสียภาษีฟ้องขอคืนภาษีที่ต้องชำระเกินไปและศาลพิพากษาให้คืนจำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายใน 3 เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุด โดยมิต้องเสียดอกเบี้ย หากจำเลยไม่คืนภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแต่การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน นับจากวันฟังคำพิพากษานี้ ซึ่งก็คือวันอ่านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางนั้นไม่ชอบด้วยความในมาตรา 39 วรรคสอง เพราะคดียังไม่ถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง กรณีต้องนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8855/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การคืนเงินภาษี และการหักกลบลบหนี้ โดยต้องมีการแจ้งประเมินภาษีเป็นหนังสือเสียก่อน
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/2 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 14 และมาตรา 77 และมาตรา 88/5 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเเจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้ การที่โจทก์เพียงแต่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานของจำเลยยังถือไม่ได้ว่ามีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว หากมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระจำนวน 4,964,000 บาท และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) แล้ว เมื่อจำเลยยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเพิ่มเติม จำเลยจึงยังไม่อาจนำเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากผลการตรวจสอบดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์เนื่องจากการชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ค่าเช่าที่สมควร คำนวณจากสัญญาเช่าที่แท้จริง และการคืนเงินภาษีที่ถูกต้อง
ตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดระบุชื่อพ. และหรือบริษัท ก. (โจทก์) ผู้รับประเมิน ย่อมหมายถึงว่าพ. หรือโจทก์คนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนตามที่มีชื่อระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว อยู่ในฐานะผู้รับประเมิน โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะพึงชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ทราบและมีหน้าที่ชำระค่าภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เอกสารแนบท้ายสัญญาเช่ามีการระบุทั้งค่าเช่าและค่าบริการแยกไว้ชัดเจนทุกฉบับถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่า ย่อมรับฟังได้ หาจำต้องระบุไว้ในสัญญาประธานว่ามีข้อสัญญาได้กำหนดให้มีเอกสารแนบท้ายสัญญา โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประธานนั้นไม่ และสัญญาเช่าคดีนี้ จำเลยไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าค่าเช่ารายพิพาทนี้ ไม่ใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 8 กรณีจึงไม่มีเหตุ บ่งชี้ให้เห็นว่าค่าเช่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่าอาคาร ตามฟ้องไม่ใช่จำนวนอันสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียค่ารายปีจึงต้องถือตาม จำนวนค่าเช่าที่โจทก์รับมาตามเอกสารแนบท้ายสัญญาเช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินเรียกเก็บ ค่ารายปีโดยถือเอาค่าเช่าและค่าบริการรวมอยู่ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่และ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนที่เกินจากการประเมินใหม่ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน3 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษานี้ หมายถึงนับแต่วัน อ่านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อคดีนี้ไม่ได้ ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษา ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนฯ มาตรา 39 วรรคสองปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้ากรณีอธิบดีกรมสรรพากรมีประกาศเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา78และตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่1หมวด1(7)แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่18)เรื่องกำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้าตามมาตรา78วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่5กุมภาพันธ์2517ข้อ3ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ7ของรายรับดังนั้นแม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ7ของรายรับเสียแล้วเท่ากับจำเลยที่1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออกโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบ และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ต้องคืน รวมถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
กรมสรรพากรโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1คืนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินเครดิตภาษีหักณที่จ่ายซึ่งโจทก์คืนให้แก่จำเลยที่1ก่อนการตรวจสอบตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากรพ.ศ.2529ข้อ15.2ข.โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่่การจัดเก็บภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(4)ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา กรมสรรพากรโจทก์คืนเงินภาษีอากรให้แก่จำเลยที่1ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์มีข้อตกลงว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ต้องเสียภาษีแต่จำเลยที่1ไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนแล้วไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่จำเลยที่1ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันทีการคืนเงินภาษีอากรให้แก่จำเลยที่1จึงเป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขดังนั้นเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นปรากฏว่าจำเลยที่1ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนไปโจทก์ได้ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนไปจากโจทก์ได้และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดตามสัญญาค้ำประกันแม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยแต่โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง กรมสรรพากรโจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่1ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันเมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วจำเลยที่1ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่1นำเงินภาษีอากรมาคืนโจทก์ภายใน30วันนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวจำเลยที่1ได้รับหนังสือเมื่อวันที่14ตุลาคม2536จำเลยที่1จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่13พฤศจิกายน2536เมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินที่รับคืนไปจากโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่14พฤศจิกายน2536เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224 จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อกรมสรรพากรโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์เป็นเงิน50,677,905.41บาทพร้อมทั้งเงินเพิ่มแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา27ทวิให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษีจึงมิใช่ดอกเบี้ยเมื่อไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันที่ได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่2ต้องรับผิดจึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา683จำเลยที่2จึงคงรับผิดในวงเงิน50,677,905.41บาทแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่2จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรณีคืนเงินภาษีเกิน การฟ้องเรียกคืนเงินและดอกเบี้ยจากผู้รับเงินและผู้ค้ำประกัน
เงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.41บาทที่โจทก์คืนให้แก่จำเลยที่1ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์มีข้อตกลงว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ผู้ขอคืนภาษีอากรต้องเสียภาษีแต่จำเลยที่1ไม่ชำระภาษีอากรตามการแจ้งการประเมินหรือสั่งให้ชำระไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่ก็ตามจำเลยที่2ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันทีการคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1จึงมิใช่การคืนให้โดยเด็ดขาดแต่เป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวจำเลยที่1ต้องคืนเงินภาษีอากรที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ปรากฏว่าเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นเจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.51บาทที่ได้รับคืนไปโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที1คืนเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ขอคืนไปจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิได้และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยจำเลยที่1มีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากรพ.ศ.2529ข้อ15.2ข.โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่1ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วจำเลยที่1ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่12ตุลาคม2536แจ้งให้จำเลยที่1นำเงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.41บาทมาคืนโจทก์ภายใน30วันนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวจำเลยที่1ได้รับหนังสือเมื่อวันที่14ตุลาคม2536จำเลยที่1จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่13พฤศจิกายน2536เมื่อจำเลยที่1ไม่มาชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1รับคืนไปจากโจทก์จำนวน50,677,905.41บาทได้ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่14พฤศจิกายน2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224มิใช่นับแต่วันที่14ตุลาคม2536หรือวันที่จำเลยที่1รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์เป็นเงิน50,677,905.41บาทพร้อมทั้งเงินเพิ่มดังนี้คำว่าเงินเพิ่มนั้นประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา27กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนและมาตรา27ทวิให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษีดังนั้นเงินเพิ่มจึงมิใช่ดอกเบี้ยเมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่2ต้องรับผิดจึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา683จำเลยที่2จึงคงรับผิดในวงเงิน50,677,905.41บาทแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่2จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่15ธันวาคม2536แจ้งให้จำเลยที่2ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้วผลการตรวจสอบจำเลยที่1ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1นำเงินจำนวน50,677,905.41บาทไปชำระแก่โจทก์จำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่20ธันวาคม2536แล้วไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่21ธันวาคม2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนที่มิชอบตามมูลค่าทรัพย์สินแทนหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่1จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่1ได้ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วยดังนั้นแม้จำเลยที่1เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตามจำเลยที่1การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่ โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมายอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่2ก็ลดลงจากเดิม2,608,121บาทเหลือ1,593,190บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่2แจ้งมาจะมีจำนวน509,823,175บาทตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่2มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ที่ว่ากรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมินการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และคำชี้ขาดของจำเลยที่2จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษีโดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปีและมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมาโดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วยดังนั้นการที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร จำเลยที่1เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่2เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2รับชำระภาษีไว้จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3409/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยใช้ค่ารายปีและดัชนีราคาผู้บริโภค, ศาลสั่งคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นการบังคับให้ต้องนำมาเป็นหลักเสมอไป เมื่อปรากฏว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันอยู่ว่าค่ารายปีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งยังมิได้ยุติมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีของปีที่พิพาทได้
การจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้มีการจัดส่งหลักฐานข้อมูลดังกล่าวให้แก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าหรือค่ารายปีตามดัชนีราคาผู้บริโภค จึงเป็นอัตราที่มีเหตุผลตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และจำเลยที่ 1 ก็ทราบแล้ว แม้อัตราค่ารายปีของปี 2522 จะมิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งจะเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีสำหรับปีต่อมาก็ตามแต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปี 2522 จนถึงปี 2529เป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทางราชการกำหนด ทั้งไม่สามารถนำค่ารายปีของปีอื่น ๆ มาเป็นหลักคำนวณค่ารายปีพิพาทได้ การคำนวณค่ารายปีสำหรับโรงเรือนและที่ดินคดีนี้ตามอัตราที่โจทก์คำนวณตามฟ้อง จึงเป็นอัตราที่สมควร
จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกินแก่โจทก์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ถ้าไม่คืนในกำหนดดังกล่าวจึงจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 39 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจ-หน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยสัญญาจำนองที่ไม่ได้รับจริง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนเงินภาษีพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า โจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองเลย คงอ้างแต่เพียงว่าเมื่อระบุว่าคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ในสัญญาจำนอง ก็ต้องถือว่าโจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้นั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่า โจทก์และภรรยาไม่ได้รับเงินดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง จึงไม่มีเงินได้พึงประเมินจากเงินดอกเบี้ย.
of 3