คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนเงินอากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร
โจทก์นำสินค้าผ้าฝ้ายจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อผลิตเป็นสินค้าเสื้อผ้าส่งออกไปยังต่างประเทศซึ่งการส่งออกดังกล่าวต้องมีโควตาและรับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เป็นหนังสือ แต่โจทก์ไม่มีโควตา จึงมอบให้บริษัท ว. เป็นผู้ส่งออกในนามของบริษัทดังกล่าว แม้ว่าตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 จะเพียงแต่บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออกดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วย การที่บริษัท ว. ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุในใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงเท็จยี่ห้อสินค้าและผลกระทบต่อสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดงอันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 60,99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากรโจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อ ระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้าดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้นจึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 19

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนเงินอากร, ภาษี, ค่าธรรมเนียมพิเศษ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้นจะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้าตามมาตรา10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี แต่นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปหรือขาดอายุความ ส่วนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และศาลวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องคืนอากรขาเข้าขาดอายุความเพียงอย่างเดียว จำเลยจึงต้องคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี พอถือได้ว่าโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเป็นการเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดชำระหนี้เงินคืน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ส่วนค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นการเรียกดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โดยจำเลยต้องคืนค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนนับแต่วันที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน คดีนี้จำเลยไม่ได้ยกอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามฟ้องอีกหรือไม่เพียงใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คืนเงินอากรขาเข้า-ค่าเสียหาย: การกักยึดสินค้า-การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ-สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกแบบรีเอ๊กซ์ปอร์ตต่อกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้าแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ในชั้นศุลกากร ได้มีการตรวจวิเคราะห์สินค้า ปรากฏว่าเป็นของรายเดียวกันจึงระงับคดีอาญาแก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1กักยึดผ้าไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกโจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าจากจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ได้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ เป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลภาษีอากร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอนมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้า เพราะตรวจพบว่ามีตราติดอยู่ที่เนื้อผ้า แต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1มีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 และ 60การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตัวผ้าซึ่งอ้างว่าเสื่อมคุณภาพไม่สามารถนำมาใช้ได้และไม่เป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งถือว่าไร้ประโยชน์ทั้งหมดค่าเสียหายเนื่องจากไม่สามารถส่งผ้ากลับออกไปตัดเย็บได้ทันกำหนด ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดประโยชน์ทางการค้าของโจทก์สืบเนื่องมาจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 กักยึดผ้าของโจทก์ไว้ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างว่าผ้าของโจทก์เสียหายเพราะจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาไว้ไม่ดี เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่กักยึดผ้าไว้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายตามฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรขาเข้าและอำนาจฟ้องคดีละเมิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าภายใน1ปีนับแต่วันนำเข้าแต่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน1ปีได้นั้นจึงมิใช่ความผิดของโจทก์แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1กักยึดผ้าของโจทก์ไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกโจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบย่อมเป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในมูลละเมิดตามฟ้อง จำเลยที่2ถึงที่4เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอนมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อการที่มีความเห็นในตอนแรกว่าผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้าก็เพราะตรวจพบว่ามีตราคาเนโบติดอยู่ที่เนื้อผ้าแต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จึงมีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คืนเงินอากรขาเข้า: การกักยึดสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าภายใน1ปีนับแต่วันนำเข้าแต่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน1ปีได้นั้นจึงมิใช่ความผิดของโจทก์แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1กักยึดผ้าของโจทก์ไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกโจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบย่อมเป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในมูลละเมิดตามฟ้อง จำเลยที่2ถึงที่4เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอนมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อการที่มีความเห็นในตอนแรกว่าผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้าก็เพราะตรวจพบว่ามีตราคาโบติดอยู่ที่เนื้อผ้าแต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จึงมีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรตามมาตรา 19 พ.ร.บ.ศุลกากร: การปฏิบัติตามแบบพิมพ์ไม่ใช่เงื่อนไขหลัก
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (ก) ถึง (ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรขาเข้า: แม้ใช้แบบพิมพ์ผิด แต่หากปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นครบถ้วน กรมศุลกากรต้องคืนเงินให้
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้นผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่ แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศ ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรขาเข้า: แบบพิมพ์ผิดมิใช่เหตุปฏิเสธ หากผู้ขอคืนปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้อง แต่มาตรา 19 วรรคท้ายที่บัญญัติขึ้นใหม่มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้แสดงว่ากฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากร หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์ยื่นคำขอตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แทนที่จะยื่นคำขอตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยต้องคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์
of 2