คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนโฉนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมรดกโดยทายาทคนเดียว เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นไม่ยินยอม สัญญาไม่ผูกพัน และต้องคืนโฉนด
เมื่อ ส.ถึงแก่กรรมที่ดินของส. เป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของ ส.ทุกคนโจทก์กับร.กับทายาทคนอื่นรวม 7 คน จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินทรัพย์มรดกเมื่อมรดกของ ส.ยังมิได้แบ่งปันระหว่างทายาทร.ทายาทคนหนึ่งจะนำที่ดินทรัพย์มรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยทั้งแปลง โดยทายาทคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมิได้ยินยอมด้วยก็ถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิคงผูกพันเฉพาะร.เท่านั้นแม้สัญญาจะซื้อจะขายจะมีผลผูกพันร.จำเลยก็มีสิทธิเพียงเรียกร้องบังคับเหนือ ร. ในฐานะคู่สัญญาได้เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้ขอให้จำเลยส่งโฉนดเพื่อที่โจทก์จะนำไปแบ่งแยกเป็นชื่อของโจทก์และทายาทคนอื่นในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดกจึงเป็นสิทธิอันชอบของโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้ต้องคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมรดกโดยทายาทคนเดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น สัญญาไม่ผูกพันทายาทอื่น และจำเลยต้องคืนโฉนด
เมื่อส. ถึงแก่กรรมที่ดินของส. เป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่บุตรซึ่งเป็นทายาทของส. ทุกคนโจทก์กับร. กับทายาทคนอื่นรวม7คนจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินทรัพย์มรดกเมื่อมรดกของส. ยังมิได้แบ่งปันระหว่างทายาทร. ทายาทคนหนึ่งจะนำที่ดินทรัพย์มรดกไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยทั้งแปลงโดยทายาทคนอื่นซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมิได้ยินยอมด้วยก็ถือว่าทำไปโดยไม่มีสิทธิคงผูกพันเฉพาะร. เท่านั้นแม้สัญญาจะซื้อจะขายจะมีผลผูกพันร. จำเลยก็มีสิทธิเพียงเรียกร้องบังคับเหนือร. ในฐานะคู่สัญญาได้เท่านั้นเมื่อโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้ขอให้จำเลยส่งโฉนดเพื่อที่โจทก์จะนำไปแบ่งแยกเป็นชื่อของโจทก์และทายาทคนอื่นในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดกจึงเป็นสิทธิอันชอบของโจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้ต้องคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนโฉนดที่ดินตามข้อตกลง: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับได้ แม้จำเลยอ้างเหตุผลต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ อ.มาให้จำเลยยึดถือไว้โดยมีข้อตกลงกันไว้ด้วย ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ตามข้อตกลง แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์จริง แม้จำเลยจะให้การอ้างว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินไว้ในฐานะผู้แทนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี และจำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยเก็บโฉนดที่ดินไว้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี จำเลยไม่อาจนำโฉนดที่ดินมาคืนให้แก่โจทก์ได้ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิตามฟ้องของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อผู้ร้องชนะคดีและไม่มีหนี้ตามสัญญา ศาลคืนโฉนดที่ดินที่วางค้ำประกันได้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดไม่ใช่ของจำเลย และโจทก์ยินยอมให้ผู้ค้ำประกันนำที่ดินมาวางค้ำประกันในการถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย โดยถ้าผู้ร้องแพ้ ผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่มีข้อความระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมค้ำประกันตลอดไปจนกว่าคดีถึงที่สุด ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี จึงไม่มีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะต้องชำระตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันย่อมระงับสิ้นไปทันทีศาลชอบที่คืนโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกโฉนดและการฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก จำเลยต้องคืนโฉนด แต่ไม่พอฟังว่ามีการทุจริตเบียดบัง
น. ให้จำเลยจัดการทรัพย์สิน มอบโฉนดให้ ต่อมาได้ถอนอำนาจ จำเลยไม่คืนโฉนด แต่ร้องขอต่อศาลให้แสดงกรรมสิทธิ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เป็นแต่จำเลยแสดงว่าประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ยังไม่เป็นการเบียดบังเอาเป็นของตน ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกโฉนด
น. ถอนจำเลยจากผู้จัดการทรัพย์สิน จำเลยมีหน้าที่คืนโฉนด ไม่มีหน้าที่จัดการต่อไปแล้ว จึงไม่ใช่ผู้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ การไม่คืนโฉนดไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 353
ผู้จัดการมรดกฟ้องว่าจำเลยยักยอกโฉนดของเจ้ามรดกระหว่างที่ศาลตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องตาม มาตรา 352 ได้
ศาลสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลให้ครบในคำขอให้คืนโฉนดก่อนมีคำพิพากษา ศาลสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา18
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่ศาลไม่รับเพราะอุทธรณ์เกิน 15 วันเมื่อโจทก์ยังฎีกาให้ลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอีกได้ แม้ถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์เพราะเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เมื่อศาลฎีกายกฟ้องโจทก์อยู่แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงิน-ค้ำประกัน-ยกฟ้อง-ขอคืนโฉนด: สิทธิของผู้ค้ำประกันเมื่อคดีสิ้นสุด
ศาลชั้นต้นอายัดเงินของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1) แล้วเปลี่ยนเป็นให้ อ. ทำสัญญาค้ำประกันเงินที่ถูกอายัดต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นยกฟ้อง วิธีการชั่วคราวระงับไปตาม มาตรา 260(3) คดีอยู่ระหว่างโจทก์ฎีกา อ. ขอรับโฉนดที่วางไว้คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการคืนโฉนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดตามสัญญา
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้นการที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การคืนโฉนดไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้น การที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077-3078/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจากสัญญาค้ำประกันที่ยังคงมีผล แม้มีการคืนโฉนดและทำสัญญาใหม่ และการขยายระยะเวลาบังคับคดีโดยศาล
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533 มีใจความว่า "...ข้าพเจ้า นายกิตติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต... และนายวิรัช ศรีสวัสดิ์... ผู้รับมอบอำนาจขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า เมื่อคดีถึงที่สุดโจทก์แพ้คดีจำเลย และไม่สามารถนำเงินมาชำระให้จำเลยได้ตามคำพิพากษา ข้าพเจ้ายอมให้บังคับคดีเอาจากที่ดินตามโฉนดเลขที่ 197889, 197890 ตำบลประเวช อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาสำนักเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร เลขที่ แอลจี. สพ.201/2533 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2533 ซึ่งข้าพเจ้าได้นำมาวางประกันต่อศาลแล้ว" ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ชำระและยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ประกันทั้งสองจึงยังคงต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ความรับผิดของผู้ค้ำประกันทั้งสองจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้จำเลยแพ้คดี หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะคืนโฉนดที่ดินเลขที่ 197889 และ 197890 ให้แก่โจทก์และทำหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แต่ก็เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไปโดยผิดหลง และศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 แล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่คืนโฉนดที่ดินเลขที่ 197889 และ 197890 แก่โจทก์ และการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2536 จึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่ามีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ ผู้ค้ำประกันทั้งสองจึงยังคงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533
การร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องร้องขอ แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาวันที่ 3 ตุลาคม 2537 ผู้ร้องทั้งสองขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสอง ตามคำร้องลงวันที่ 1 กันยายน 2546 วันที่ 23 กันยายน 2546 และวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ยังอยู่ภายในกำหนด 10 ปี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว ผู้ร้องทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์วันที่ 8 มกราคม 2547 และอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ที่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสองตามสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 2 สิงหาคม 2533 กรณีจึงต้องมีการบังคับคดีต่อไปและนับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่เวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย ต่อมาผู้ร้องทั้งสองยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำแถลงดังกล่าว ต้องถือว่าศาลชั้นต้นสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว เพราะมิฉะนั้นการบังคับคดีย่อมไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ผู้ร้องทั้งสองจึงชอบที่จะบังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ของผู้ค้ำประกันทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปโดยไม่มีเวลาครบกำหนด ศาลฎีกาจึงกำหนดเวลาให้ครบถ้วนสมบูรณ์