คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุ้มครองลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เดิมโจทก์มีคำสั่งให้ลูกจ้างกะเช้าหยุดรับประทานอาหาร ตั้งแต่เวลา 9.00-10.30 นาฬิกา โดยไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างคนใดจะต้องหยุดรับประทานอาหารในเวลาใด ต่อมาโจทก์ได้กำหนดเวลารับประทานอาหารแก่ลูกจ้างเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 30 นาที และกำหนดให้ ต. รับประทานอาหารเมื่อเวลา 10 นาฬิกา ดังนี้ การกำหนดเวลารับประทานอาหารที่แน่นอนต่อลูกจ้าง โจทก์ได้กำหนดตามเวลาในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิม โจทก์ไม่ได้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเวลาใหม่แต่ได้กำหนดเวลาสำหรับลูกจ้างแต่ละคนให้แน่นอนเพื่อเป็นระเบียบในการทำงาน โจทก์ในฐานะนายจ้างซึ่งเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาย่อมออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติตามได้ ถือว่าเป็นอำนาจในการบริหารหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะต้องมีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 13 ไม่ กรณีจะต้องบังคับตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 123 หรือไม่ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะคำสั่งหรือข้อบังคับที่ลูกจ้างฝ่าฝืนเท่านั้น แต่จะต้องพิจารณาว่าในสถานประกอบกิจการนั้นได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องใช้บังคับอยู่หรือไม่ด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ข้อความตอนท้ายบัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร หาได้จำกัดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิค่าชดเชย: ข้อบังคับบริษัทฯ ที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างโดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้...(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว... การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้น กลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นได้ให้ความคุ้มครองไว้ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วินัย, การลงโทษทางวินัย, และการคุ้มครองลูกจ้าง: ข้อเรียกร้องไม่สมบูรณ์ไม่คุ้มครองการเลิกจ้าง
วินัยและโทษทางวินัยเป็นรายการที่นายจ้างต้องให้มีกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 68 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย แม้ไม่มีระบุไว้ในรายการของข้อ 68 แต่นายจ้างจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยก็ได้เพราะรายการในข้อ 68 เป็นเพียงรายการที่กำหนดว่าอย่างน้อยต้องมีเท่านั้น และการที่นายจ้างกำหนดวินัยและโทษทางวินัยขึ้นใช้บังคับก็หาเป็นการทำให้นายจ้างลงโทษลูกจ้างโดยปลดออกจากงานแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่เพราะการที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อปลดออกจากงานนั้น ต้องพิจารณาว่าเป็นการปลดออกในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 47(1) ถึง (6) หรือไม่ 'ข้อเรียกร้อง' ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 31 หมายถึงข้อเรียกร้องที่สมบูรณ์ตามบทบัญญัติมาตราอื่น ๆ ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นช่องทางให้ลูกจ้างผู้ไม่สุจริตหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษทางวินัยได้โดย ง่าย ดังนั้น เมื่อได้ความว่าสหภาพแรงงานมีสมาชิกไม่ถึงหนึ่งในห้า ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานที่ขอให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจึงไม่สมบูรณ์เป็นข้อเรียกร้องตามมาตรา 15 แม้ข้อเรียกร้องนั้นจะผ่านการไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทจนอยู่ในระหว่างการพิจารณาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ก็ถือไม่ได้ว่ามีข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน และการที่โจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นผู้แทนสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การที่นายจ้างปลดโจทก์ ออกจากงานระหว่างนั้นจึงไม่เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมและการคุ้มครองลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามดุลพินิจ
เมื่อสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างและตกลงกันได้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงคือสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งยื่นข้อเรียกร้องนั้น จึงถือได้ว่าสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นต่อนายจ้าง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 การที่นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41(4) มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งเรื่องค่าเสียหายในกรณีเลิกจ้างอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมได้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้างตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บกระดูกหักหลายแห่ง เงินทดแทนต้องจ่ายตามจริง แม้กฎหมายไม่ได้นิยามชัดเจน คุ้มครองลูกจ้างตามหลัก
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้าง การตีความข้อกฎหมายที่เป็นปัญหาหรือมีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางหรือนัยให้ความคุ้มครองหรือให้ประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
กระดูกปลายแขนช่วงล่างนับแต่ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 2 ชิ้น คือกระดูกเรเดียส (กระดูกชิ้นใหญ่) และกระดูกอัลนา (กระดูกชิ้นเล็ก) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ขนาด และชื่อเรียกทางการแพทย์ต่างกัน น.ลูกจ้างของโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานกระดูกแขนขวาหัก โดยกระดูกเรเดียสหักเป็น 3 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะยาวดามกระดูกที่หักเป็น 3 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน กระดูกอัลนาหักเป็น 2 ท่อน แพทย์ต้องผ่าตัดใช้โลหะ ที่สั้นกว่าดามกระดูกที่หักเป็น 2 ท่อน ให้เป็นชิ้นเดียวกัน จึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 (2)