พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี 2534 ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่ 3 กันยายนปีเดียวกัน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าว ก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งอนุมาตรา 1 เท่านั้น หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา 193/24 อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว แม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่ 3 กันยายน2534 นั้นเอง จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2537 ซึ่งเป็นวันฟ้อง พ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ ตามมาตรา 193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59 ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในคดีละเมิด: ผลของการรับสภาพหนี้และการยกอายุความโดยคู่ความร่วม
โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในปี2534ก่อนที่จำเลยจะยอมรับผิดและทำหนังสือรับสภาพหนี้ในวันที่3กันยายนปีเดียวกันการที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14วรรคหนึ่งอนุมาตรา1เท่านั้นหาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามมาตรา193/24อันจะทำให้จำเลยไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่เพราะการสละประโยชน์แห่งอายุความจะกระทำได้ก็ต่อเมื่ออายุความครบกำหนดแล้วแม้การทำหนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความแต่การรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ได้สิ้นสุดในวันทำหนังสือรับสภาพหนี้คือวันที่3กันยายน2534นั้นเองจึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ในวันเดียวกันตามมาตรา193/15วรรคสองเมื่อนับจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่29มิถุนายน2537ซึ่งเป็นวันฟ้องพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา448วรรคหนึ่งและเนื่องจากจำเลยที่2ได้ยกอายุความเรื่องนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจึงอ้างเอาอายุความดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องได้ตามมาตรา193/29 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้แม้จำเลยที่1จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่จำเลยที่2ผู้เป็นคู่ความร่วมกันได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่2ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59ที่ศาลพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2877/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในหนี้จากการรับรองของคู่ความร่วมที่เสื่อมเสีย การพิสูจน์หนี้ที่ถูกต้อง
เมื่อเอกสารหลักฐานการซื้อสินค้าและใช้บริการไม่มีลายมือชื่อจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหรือร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2ที่ศาลอุทธรณ์ฟังคำแถลงรับของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคำแถลงที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 1แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมชำระหนี้ โดยโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงไม่ชอบเพราะกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 2 กระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความร่วม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1529/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านผลเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลต้องยื่นภายใน 15 วันตามกฎหมายเฉพาะ แม้เข้าเป็นคู่ความร่วมก็ไม่ช่วย
พระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482มาตรา 57 ผู้สมัครที่จะคัดค้านการประกาศผลของการเลือกตั้งจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องสอดทั้งสามยื่นคำร้องสอดคัดค้านการประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อพ้นกำหนด15 วัน นับแต่วันที่เทศบาลประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงไม่มีสิทธิที่จะคัดค้านการประกาศผลดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แจ้งคู่ความร่วมรับทราบการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ ทำให้การพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยร่วมได้รับสำเนาอุทธรณ์แล้ว หรือได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยร่วมโดยการปิดประกาศไว้หน้าศาลแทนการส่งหมายแต่อย่างใด การพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น โดยไม่มีจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ด้วย ทั้ง ๆ ที่จำเลยร่วมยังเป็นคู่ความอยู่ และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมตามอุทธรณ์ของจำเลยอยู่ด้วยทั้งศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยร่วมทราบแต่อย่างใด จึงเป็นอันว่าจำเลยร่วมพ้นจากคดีไปลอย ๆ เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลไม่อนุญาตคู่ความร่วม: พิจารณาประเภทคำสั่งเพื่อสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเป็นคู่ความร่วม: การจำแนกประเภทคำสั่งและการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความร่วม ย่อมไม่ผูกพันคู่ความอื่น
การที่คู่ความร่วมคนหนึ่งขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้น ไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับได้การที่โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยโจทก์ที่ 2 มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 2 ด้วย เป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ต้องถือว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง