พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะระหว่างการพิจารณาคดี ศาลต้องมีคำสั่งก่อนพิพากษา
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ต้องถือว่า โจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 42 และ 44 ก่อนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างรอยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
การที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างรอยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะในคดีระหว่างพี่น้องที่เป็นคู่ความฝ่ายตรงข้าม ศาลมีดุลพินิจไม่อนุญาตได้
จำเลยมรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์และจำเลยเป็นพี่น้องกัน การอนุญาตให้บุคคลเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 43 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเหตุสมควรทั้งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ สำหรับกรณีนี้โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน หากยอมให้โจทก์เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย โจทก์ย่อมจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาทุกขั้นตอนให้เป็นคุณแก่โจทก์ ซึ่งขัดต่อความประสงค์ของจำเลยผู้มรณะอย่างเห็นได้ชัด ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์
การอนุญาตให้บุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม ป.วิ.พ.มาตรา 43 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเหตุสมควร โดยศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ แม้โจทก์จำเลยจะเป็นพี่น้องกัน แต่ก็เป็นคู่ความฝ่ายตรงกันข้ามและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน หากยอมให้โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย โจทก์ย่อมต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นคุณแก่โจทก์ อันเป็นการขัดต่อความประสงค์ของจำเลยผู้มรณะอย่างเห็นได้ชัด ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์
การอนุญาตให้บุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 43 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเหตุสมควร โดยศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ แม้โจทก์จำเลยจะเป็นพี่น้องกัน แต่ก็เป็นคู่ความฝ่ายตรงกันข้ามและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน หากยอมให้โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย โจทก์ย่อมต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นคุณแก่โจทก์ อันเป็นการขัดต่อความประสงค์ของจำเลยผู้มรณะอย่างเห็นได้ชัด ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มรณะและคู่ความ
จำเลยมรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์และจำเลยเป็นพี่น้องกัน การอนุญาตให้บุคคลเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 43 นั้นศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและเหตุสมควรทั้งศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ สำหรับกรณีนี้โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกันและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน หากยอมให้โจทก์เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย โจทก์ย่อมจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาทุกขั้นตอนให้เป็นคุณแก่โจทก์ ซึ่งขัดต่อความประสงค์ของจำเลยผู้มรณะอย่างเห็นได้ชัด ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนผู้ตายหลังศาลอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์: อำนาจศาลและการอนุญาต
ล. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา ต่อมาจำเลยอุทธรณ์และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นแล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่ศาลแรงงานกลางสั่งอนุญาตให้ ล.เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์หลังจากนั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ล. เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ ล. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเรียกคู่ความแทนที่จำเลยเสียชีวิตและการไม่ถือว่าทอดทิ้งคดีภายในกำหนดเวลา
จำเลยตายก่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเรียกภรรยาจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด 1 ปี แต่ปรากฏว่าภรรยาจำเลยไม่ได้รับมฤดก เนื่องจากจำเลยทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตรทั้งสิ้น โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย แม้จะยื่นคำร้องตอนหลังนี้เกินกำหนด 1 ปี แล้วนับแต่จำเลยตายก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทอดทิ้งคดีของตนเสีย และจะถือว่าโจทก์ไม่มีคำขอภายใน 1 ปี ตามมาตรา 42 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเรียกคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิตและการไม่ถือว่าทอดทิ้งคดีแม้จะล่าช้า
จำเลยตายก่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเรียกภรรยาจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด 1 ปี แต่ปรากฏว่าภรรยาจำเลยไม่ได้รับมรดก เนื่องจากจำเลยทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่บุตรทั้งสิ้น โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลย แม้จะยื่นคำร้องตอนหลังนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้วนับแต่จำเลยตายก็ถือได้ว่าโจทก์มิได้ทอดทิ้งคดีของตนเสียและจะถือว่าโจทก์ไม่มีคำขอภายใน 1 ปี ตามมาตรา 42 ไม่ได้