พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: สิทธิของผู้ร้องในการฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตแล้ว
ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ฉ. นั้น ฉ.ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว และยังคงเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องตลอดมา จนกระทั่ง ฉ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ ฉ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ร้องนำคดีมาร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ อันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. และระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. สิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 ก็ตาม ก็ไม่ตัดอำนาจผู้ร้องในอันที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้คัดค้านและ ฉ. ไม่ได้สมรสกัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133 (เดิม) และมาตรา 1497 (เดิม) มีสิทธิร้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของคดีหย่าและแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดี
คดีฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ตายก่อนคดีถึงที่สุดเนื่องจากมีการขอพิจารณาใหม่ ซึ่งมีผลให้การสมรสสิ้นสุดลงเสียก่อนที่คำพิพากษาให้หย่าและแบ่งสินสมรสจะถึงที่สุด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษาหย่า และผลต่อการสมรสใหม่ กรณีคู่สมรสถึงแก่ความตาย
คดีเดิม ก. ซึ่งเป็นสามีฟ้องหย่าโจทก์ ซึ่งเป็นภริยา ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์และ ก. หย่าขาดจากกันเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ต่อมา ก. นำคำพิพากษาดังกล่าวไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "การขาดนัดพิจารณามิได้เป็นไปโดยจงใจและมีเหตุอันสมควร ประกอบกับโจทก์ไม่คัดค้านการขอพิจารณาคดีใหม่ จึงให้งดไต่สวนและอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ" ชี้ให้เห็นว่า ศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์ถึงข้อความในคำขอพิจารณาคดีใหม่ของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะและในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้าก็ได้แสดงเหตุแห่งการล่าช้านั้นด้วย อันเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 การที่ ก. โจทก์ และทนายโจทก์ไม่แถลงคัดค้านการขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยในคดีดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่า คู่ความในคดีนั้นประสงค์จะให้คดีแพ้ชนะกันในเนื้อหาแห่งคดี หาใช่โดยการได้เปรียบกันด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ซึ่งเป็นเรื่องที่คู่ความในคดีแพ่งสามารถกระทำได้โดยชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะใช้ดุลพินิจ มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หาใช่เป็นการสั่งโดยผิดหลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ไม่ และกรณีเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ ทั้งคดีหย่าระหว่าง ก. กับโจทก์ก็เป็นคดีเกี่ยวด้วยสถานะของบุคคล เมื่อ ก. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีดังกล่าวในภายหลังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) จึงไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีคู่ความฝ่ายโจทก์ในคดีนั้นแล้ว ดังนั้น คำพิพากษาโดยคู่ความขาดนัดของศาลชั้นต้นและวิธีการบังคับคดีที่ดำเนินไปแล้วนั้น ถือเป็นการเพิกถอนไปในตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
เมื่อคำพิพากษาโดยคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดถูกเพิกถอน การที่ ก. ไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จึงถูกเพิกถอนไปด้วย สถานะของบุคคลระหว่าง ก. กับโจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นสามีภริยากัน เมื่อจำเลยไปจดทะเบียนสมรสกับ ก. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 อันเป็นเวลาหลังจากมีการเพิกถอนทะเบียนการหย่าระหว่าง ก. กับโจทก์แล้ว จึงเป็นการสมรสในขณะที่ ก. มีคู่สมรสอยู่ จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 จำเลยไม่อาจอ้างความสุจริตได้ การสมรสระหว่างจำเลยกับ ก. ไม่มีผลเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่เป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเพราะคำพิพากษาที่ถูกเพิกถอนนั้นเกี่ยวด้วยฐานะของบุคคลและมีผลผูกพันบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิงหรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (1)
เมื่อคำพิพากษาโดยคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดถูกเพิกถอน การที่ ก. ไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จึงถูกเพิกถอนไปด้วย สถานะของบุคคลระหว่าง ก. กับโจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นสามีภริยากัน เมื่อจำเลยไปจดทะเบียนสมรสกับ ก. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 อันเป็นเวลาหลังจากมีการเพิกถอนทะเบียนการหย่าระหว่าง ก. กับโจทก์แล้ว จึงเป็นการสมรสในขณะที่ ก. มีคู่สมรสอยู่ จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 จำเลยไม่อาจอ้างความสุจริตได้ การสมรสระหว่างจำเลยกับ ก. ไม่มีผลเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่เป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเพราะคำพิพากษาที่ถูกเพิกถอนนั้นเกี่ยวด้วยฐานะของบุคคลและมีผลผูกพันบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างอิงหรือจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (1)