คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขนส่งยังไม่เป็นรายได้ของรัฐ จึงอายัดได้
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 มาตรา 11 และมาตรา 12 กำหนดให้รายได้ที่จำเลยต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ คือ รายได้จากการดำเนินกิจการที่จำเลยได้รับมาแล้ว และเหลือจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 12 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่รวมถึงรายได้ที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย สิทธิเรียกร้องเงินค่าขนส่งตามสัญญาจ้างที่จำเลยทำไว้กับโรงงานยาสูบซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่จำเลยยังไม่ได้รับเข้ามาเป็นรายได้ของจำเลยและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย ยังไม่เป็นรายได้ที่จำเลยต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ต้องห้ามมิให้อายัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6198/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ทางการค้า: การซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการค้า และค่าขนส่งที่ทดรองจ่าย
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบจากจำเลย ทั้งจำเลยก็ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้าจากโจทก์มาแล้วนำไปจำหน่ายให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้ เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม มาตรา 193/33 (5) ส่วนเงินค่าขนส่งสินค้าดังกล่าวที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปก็เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากที่โจทก์ขายสินค้าให้แก่จำเลยดังกล่าว จึงเป็นเงินที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าได้ออกทดรองไปเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย มิใช่เป็นเงินที่ผู้ขนส่งสิ่งของได้ออกทดรองไปตาม มาตรา 193/34 (3) หนี้เกี่ยวกับค่าขนส่งที่โจทก์ออกทดรองไปดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม มาตรา 193/33 (5) เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9637/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง และโบนัสพนักงาน ความถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษี
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ แก้ไขโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 10/2528 ข้อ 1 (2) (ค) หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อลูกจ้างขึ้น ในประเทศ ก็ให้ถือว่านิติบุคคลนั้นมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าจ้างจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ไม่ได้ แม้คำสั่งดังกล่าวจะไม่ใช่กฎหมาย แต่เจ้าพนักงานสรรพากรต้องถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่า บริษัท ต. ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว การที่โจทก์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว จึงถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนั้น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงิน เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. เป็นที่ปรึกษาการเงินและตั้งบัญชีค้างจ่ายค่าบริการในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 ไว้ จำนวน 150,000 บาท แต่โจทก์ยกเลิกสัญญาดังกล่าวในเดือนธันวาคม 2531 แล้วนำค่าใช้จ่าย ที่ตั้งบัญชีค้างจ่ายดังกล่าวมาบวกกลับเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 แม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการเลิกสัญญา แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ยังมิได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภ. โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมารถยนต์โดยสารรับส่งพนักงานกับห้างหุ้นส่วน อ. โดยห้างดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสารแล้ว และเมื่อพิจารณาสัญญาดังกล่าวซึ่งกำหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา รถยนต์โดยสารและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น ค่าจ้างพนักงานขับรถ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษารถยนต์ ค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แสดงว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ถือผลสำเร็จของการกระทำเป็นหลักเท่านั้น แต่มีเจตนาประกอบกิจการในการรับขนคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ ดังนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จึงเป็นผู้ประกอบการขนส่ง การที่โจทก์จ่ายเงินให้กับห้างฯ โจทก์จึงไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป. รัษฎากร ประกอบด้วยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 และมาตรา 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้ง ตามค่ารายปีของทรัพย์สิน โดยให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้ในปี 2530 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2531 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมิน และแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังโจทก์ ภาษีดังกล่าวเรียกว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2531 เมื่อโจทก์ตั้งค้างจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินสูงเกินจำนวน รายจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในส่วนที่เกินไปดังกล่าวจึงถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 การที่โจทก์หักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 จึงถือเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเอง โดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป. รัษฎากร
เงินโบนัสที่โจทก์จ่ายให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินโบนัสปี 2528 และ 2529 ของพนักงาน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่มาช่วยงานโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และปี 2529 โจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในปี 2530 ไม่ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9496/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิส่งออกกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา: จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่ง
สินค้าที่โจทก์ขนส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อตกลงในการขนส่งกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุมัติโควตามอบโควตาให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาอีกต่อหนึ่ง เป็นการโอนสิทธิในการส่งออกให้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการตั้งให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่งต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9496/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิส่งออกกับการรับผิดในค่าขนส่ง: จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาโดยตรง ไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4
สินค้าที่โจทก์ขนส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อตกลงในการขนส่งกับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุมัติโควตามอบโควตาให้จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา อีกต่อหนึ่ง เป็นการโอนสิทธิในการส่งออกให้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ เป็นการตั้งให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดในค่าขนส่ง ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่ชำระหนี้, ค่าขนส่ง, การผิดสัญญาซื้อขาย, สิทธิเรียกคืนเงินมัดจำและค่าปรับ
สัญญาซื้อขายไม้ซุงกระยาเลยกำหนดให้จำเลยทั้งสองผู้ขายส่งมอบไม้ซุงที่โรงงานของบริษัทโจทก์ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นสถานที่ที่โจทก์และจำเลยทั้งสองแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะชำระหนี้ ณ สถานที่นั้นตามป.พ.พ. มาตรา 324 เมื่อจำเลยทั้งสองส่งมอบไม้ซุงให้โจทก์ ณ สถานที่ดังกล่าวแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจเรียกค่าขนส่งไม้ซุงจากโจทก์ได้ กรณีไม่ต้องด้วยป.พ.พ.มาตรา 464 ซึ่งโจทก์ผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งไม้ซุงให้ครบจำนวนตามสัญญาแก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำส่วนที่เหลือและเรียกค่าปรับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้ซุง: สถานที่ส่งมอบกำหนดสิทธิค่าขนส่งและผลของการผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายไม้ซุงกระยางเลยกำหนดให้จำเลยทั้งสองผู้ขายส่งมอบไม้ซุงที่โรงงานของบริษัทโจทก์สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นสถานที่ที่โจทก์และจำเลยทั้งสองแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจำชำระหนี้ณสถานที่นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา324เมื่อจำเลยทั้งสองส่งมอบไม้ซุงให้โจทก์ณสถานที่ดังกล่าวแล้วจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจเรียกค่าขนส่งไม้ซุงจากโจทก์ได้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา464ซึ่งโจทก์ผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งไม้ซุงให้ครบจำนวนตามสัญญาแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำส่วนที่เหลือและเรียกค่าปรับได้เมื่อจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทรายกรอง: เหตุสุดวิสัย, การปรับ, การบอกเลิกสัญญา, ค่าขนส่ง, และการหักหนี้
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาอ้างเหตุว่าไม่สามารถส่งมอบทรายกรองได้เพราะมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากฝนตกชุก ไม่มีแดดที่จะตากทรายให้แห้งได้นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้กำหนดให้โจทก์ขายทรายกรองจากแหล่งใดหรือบริษัทใดโจทก์จึงสามารถจัดหาจากผู้ผลิตรายอื่นซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝนไม่ตกเพื่อจัดส่งแก่จำเลยได้กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่สามารถส่งทรายกรองได้ทันตามกำหนดในสัญญาเพราะเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาซื้อขายทรายกรองรายพิพาทข้อ 8 วรรคแรก กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบหรือส่งมอบทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาได้ ข้อ 9 วรรคแรก กำหนดว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายนำสิ่งของมาส่งมอบให้จนครบถ้วน และวรรคสามกำหนดว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา...ก็ได้ การที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองบางส่วนที่โจทก์ส่งมอบหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9 มิใช่กรณีที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองไม่อิดเอื้อนหรือไม่ถือเอาระยะเวลาการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยยังได้มีหนังสือกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ส่งทรายกรองส่วนที่ส่งมอบไว้บกพร่อง และส่วนที่ยังไม่ส่งในระยะเวลานั้น โดยแจ้งไปด้วยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาเท่ากับจำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งมอบทรายกรองให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับตามสัญญาข้อ 9
ตามสัญญาซื้อขายรายพิพาทในงวดที่ 4 กำหนดให้โจทก์ส่งมอบทรายกรอง ณ สำนักงานของจำเลยเขต 13 ชุมพร เขต 14 นครศรีธรรมราชแต่จำเลยย้ายที่ตั้งสำนักงานเขต 13 จากจังหวัดชุมพรไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ให้โจทก์นำทรายกรองที่จะต้องส่งมอบให้สำนักงานเขต 14 ไปส่งที่อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว และอำเภอทุ่งสง จึงเป็นกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันจะพึงชำระหนี้ จำเลยผู้ซื้อจึงต้องออกใช้ค่าขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 464
โจทก์ส่งมอบทรายกรองบางส่วนแล้วโดยส่งมอบครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530 แต่จำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาในระยะเวลาอันสมควรเพิ่งจะบอกเลิกสัญญาโดยให้มีผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2530 และตามสัญญากำหนดให้ปรับเป็นรายวัน จำนวนเบี้ยปรับจึงสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยบอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ส่งมอบทรายกรองไปที่สำนักงานของจำเลยเขต 12 เป็นเงิน 216,642 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ส่งทรายกรองที่สำนักงานเขต 12 ครบถ้วนตามสัญญาโดยมิได้ปฏิเสธค่าทรายกรองตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรายกรองซึ่งโจทก์ส่งมอบที่สำนักงานเขต 12 จึงฟังได้ยุติตามฟ้องแล้วไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยราคาทรายกรองรายนี้อีก และจำเลยคงต้องชำระค่าทรายกรองรายนี้เป็นเงิน 216,642 บาท ตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อจำเลยต้องชำระค่าทรายกรองและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,053,779.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าปรับและค่าทดสอบทรายกรองแก่จำเลย 512,950 บาท พร้อมดอกเบี้ย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นฟ้องแย้งก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้โจทก์ชำระค่าปรับและค่าทดสอบ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งนั้น แม้โจทก์จะให้การต่อสู้ไว้ แต่ชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
และที่โจทก์ฎีกาว่าธนาคารกรุงเทพจำกัดยึดเงินค้ำประกันไว้แทนจำเลย จำเลยอาจอ้างเหตุเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วไปขอรับเงินจากธนาคารได้ทันทีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีอากรต้องแจ้งความประสงค์ก่อนส่งมอบของ และการประเมินราคาภาษีรวมค่าขนส่ง
ราคาของที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้นต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวาง เรียกว่า ราคาซี.ไอ.เอฟ. ที่โจทก์อ้างว่าโต้แย้งเฉพาะค่าขนส่งก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของ เมื่อโจทก์มิได้แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของ ว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรในส่วนนี้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4190/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดยาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าเงินที่ใช้ซื้อยาเสพติดหรือค่าขนส่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดและต้องริบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันมีกัญชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และยึดได้ธนบัตรจากจำเลยที่ 1 จากจำเลยที่ 3 และจากจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นธนบัตรที่จำเลยรับมาเพื่อใช้ในการหาซื้อกัญชา และใช้เป็นค่าขนย้ายกัญชาเป็นของกลางเมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงต้องฟังว่าธนบัตรของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าธนบัตรของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3ที่ 4 มิใช่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด หรือได้มาจากการกระทำผิด นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลย ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งให้การปฏิเสธเป็นคดีใหม่ เป็นการสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 และมีผลทำให้คำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ให้ริบธนบัตรของกลางที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 สิ้นสภาพไป
of 2