พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดราคา
สัญญาเช่าซื้อระบุให้ผู้เช่าซื้อนำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไปชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของเจ้าของ จึงเป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อที่ต้องนำเงินค่างวดไปชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำสืบถึงข้อตกลงว่าพนักงานของโจทก์จะเป็นผู้ไปเก็บค่างวดแก่จำเลยที่ 1 เอง จึงเป็นการแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเอกสารสัญญาเช่าซื้อ ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันทันทีโดยเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
ฟ้องโจทก์ที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เพราะมิใช่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น อันจะต้องใช้สิทธิฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
ฟ้องโจทก์ที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เพราะมิใช่กรณีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น อันจะต้องใช้สิทธิฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องค่าขาดราคา/ค่าขาดประโยชน์เป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับประโยชน์จากลูกจ้าง-สิทธิโดยไม่สุจริต-ไม่ต้องรับผิดชอบค่าขาดราคา
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซิ้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ซื้อได้นำเช็คฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง แต่โจทก์ก็ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ ทั้งโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่าโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างแล้ว และไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคา และเมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตาม ป.วิ.พ.มาตรา245 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าขาดราคาและค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ประเด็นการเริ่มนับอายุความเมื่อสัญญาเลิกกัน
คำฟ้องของโจทก์เรียกให้จำเลยชดใช้ 2 กรณี ได้แก่ ฟ้องเรียกค่าขาดราคาเนื่องจากผู้ให้เช่าซื้อขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว แต่ยังไม่คุ้มราคา กับฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ในการที่จำเลยใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อตลอดเวลาที่ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนถึงวันที่ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมา อันเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ เมื่อมาตรา 193/12 บัญญัติอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ซึ่งคดีนี้หมายถึงวันที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า อายุความเริ่มนับแต่วันที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2540 ส่วนจำเลยฎีกาว่า สัญญาเช่าซื้อเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540 ทั้งยังไม่ได้ความว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นรถประเภทใด หากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันในกรณีใดตามข้อ 12 ของหนังสือสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานทำให้ไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอให้วินิจฉัยว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อใด ฉะนั้น นอกจากเรื่องค่าเสียหายและเรื่องประเด็นแห่งคดีข้ออื่นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่แล้ว ศาลชั้นต้นต้องสืบพยานและวินิจฉัยในประเด็นเรื่องสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อใดเพื่อพิจารณาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ 10 ปีแล้วหรือไม่ด้วย ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นสืบพยานคู่ความและวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าขาดราคาเช่าซื้อ: เริ่มนับจากวันเลิกสัญญา ไม่ใช่วันประมูล
เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมอาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคารถที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดหรือค่าขาดราคาได้นับแต่วันเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ มิใช่นับแต่วันที่ประมูลขายทอดตลาดรถที่เช่าซื้อ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2539 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขาดราคาจึงขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าขาดราคาเช่าซื้อเริ่มนับจากวันผิดนัด ไม่ใช่เมื่อขายรถได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 10 ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2539 และงวดที่ 11 ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2539 จึงเป็นการผิดนัดสองงวดติดต่อกันตามสัญญา โจทก์จึงสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและชำระค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ได้นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2539 รวมทั้งค่าขาดราคาซึ่งเป็นค่าเสียหายประการหนึ่งที่ศาลกำหนดให้ได้ตามพฤติการณ์ความเสียหายซึ่งโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ หาจำต้องรอให้ขายรถยนต์เสียก่อนไม่ อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ผู้ให้เช่าซื้อทราบถึงจำนวนค่าขาดราคาเพราะหากเป็นกรณีเป็นไปดังที่โจทก์ฎีกาแล้ว กรณีย่อมไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะนำรถออกประมูลขายเมื่อใด อันมีผลทำให้โจทก์สามารถกำหนดวันเริ่มต้นที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ซึ่งไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองในวันที่ 12 มกราคม 2550 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาให้สอดคล้องกับเหตุผล - ค่าขาดราคาเช่าซื้อรถยนต์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าขาดราคาจากการขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าค่าเช่าซื้อรถได้รวมดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้ล่วงหน้าตามระยะเวลาค่างวดเช่าซื้อมิใช่มีแต่ราคารถเพียงอย่างเดียว จึงเอาค่าเช่าซื้อค้างชำระมาเป็นเกณฑ์เรียกราคารถพิพาทไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ารถพิพาทที่แท้จริงมีราคาเท่าไร เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้เป็นเงิน 57,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าขาดราคาเช่าซื้อจากการขายทอดตลาดเพียงแต่ศาลชั้นต้นลดจำนวนเงินที่โจทก์ขอมาลงเหลือ 57,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้แก้ไขคำพิพากษานั้น จึงเป็นการขอแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาและถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งที่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่จะมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาด หรือข้อผิดหลงเช่นว่านั้นให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การคิดค่าเสียหาย ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลดค่าเสียหายลงนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพิ่มขึ้นและชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น ฎีกาในส่วนดอกเบี้ยโจทก์เพิ่งยกเป็นประเด็นขึ้นว่าในชั้นฎีกาจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8873/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากรถเช่าซื้อสภาพไม่ดีหลังส่งคืน ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาได้
คดีก่อนเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 1,852,000 บาท พร้อมให้รับผิดชำระค่าเสียหาย จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งคืนให้แก่โจทก์ในสภาพไม่เรียบร้อยอันเกิดจากความบกพร่องในการดูแลรักษาทรัพย์สินซึ่งเป็นความผิดของจำเลย โจทก์นำออกขายทอดตลาดได้เงินเพียง 1,173,707.89 บาท ไม่ครบถ้วนตามราคาใช้แทนรถยนต์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในคำพิพากษา ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากราคารถยนต์ส่วนที่ขาดไปและโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ราคารถยนต์ส่วนที่ยังขาดจำนวนได้ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่สืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนและเกิดขึ้นหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว มิใช่กรณีที่จะไปบังคับคดีในคดีก่อนได้เพราะการบังคับคดีในคดีก่อนจำต้องอาศัยคำพิพากษาที่วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ใดบ้างเป็นสำคัญ ทั้งยังมิใช่เป็นเรื่องที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติตามคำพิพากษาไว้และโจทก์ได้ดำเนินการบังคับชำระหนี้ก่อนหลังกันไปตามลำดับจนไม่อาจเรียกค่าขาดราคาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยไม่ชำระหนี้ค้างชำระ ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดราคา
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้องส่งคืนและส่งมอบรถยนต์ในสภาพที่ซ่อมแซมเรียบร้อยและใช้การได้ดีในสภาพเช่นเดียวกับวันที่รับมอบรถยนต์ไปจากเจ้าของพร้อมทั้งอุปกรณ์ และอะไหล่ทั้งหมดให้แก่เจ้าของ ณ สำนักงานของเจ้าของ แต่สัญญาข้อดังกล่าวยังระบุเงื่อนไขต่อไปอีกว่า "และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที..." แสดงให้เห็นว่า กรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อดังกล่าว ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์พร้อมกับชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลาที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า นอกจากจำเลยที่ 1 จะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์ทันที อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาเพื่อใช้สิทธิเลิกสัญญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาข้อ 12 ที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามสัญญาข้อ 13 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์โดยไม่ปรากฏข้อโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาอันเป็นค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อได้