คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่างาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7704/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแบบปรับราคาได้: การคำนวณราคาค่างานเพิ่มจากสัญญาสัญญาใหม่ที่แก้ไขราคาเดิม
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เดิมระบุค่าก่อสร้าง 18,540,000 บาท และมีสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเดิมอีกสัญญาหนึ่ง โดยทำเป็นข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาดังกล่าวให้มีการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้มาใช้ ต่อมาโจทก์และจำเลยได้มีการทำสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเป็นฉบับที่สามตกลงราคาค่าก่อสร้างเป็น 26,011,005 บาท จึงเป็นสัญญาแก้ไขสัญญาเดิมในเรื่องราคาค่าก่อสร้างเป็นสำคัญ และได้ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวด้วยว่างานตาม สัญญานี้เป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ การคิดคำนวณการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้จึงต้องคิดจากยอดเงินตาม สัญญาฉบับที่สามโดยใช้ดัชนีค่าวัสดุก่อสร้าง ณ วันที่ได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย เปรียบเทียบกับวันที่ได้ เสนอราคาใหม่ เมื่อสัญญาฉบับที่สามเป็นการแก้ไขสัญญาเดิมโดยยกเลิกราคาก่อสร้างจากสัญญาเดิมมาเป็นราคาตามสัญญาใหม่ ซึ่งเป็นราคาที่มากกว่าเดิมถึง 7,000,000 เศษ ราคาใหม่เป็นราคาคิดตามดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ณ เดือนที่ได้เสนอราคาใหม่บวกกำไรไว้ด้วยแล้ว ฉะนั้นเมื่อมีการส่งมอบงานและจะขอให้มีการจ่ายค่างานเพิ่มจึงย่อมหมายถึงจำนวน 26,011,005 บาท ตามสัญญาใหม่ หาใช่จำนวน 18,540,000 บาท ตามสัญญาเดิม ซึ่งคู่สัญญาตกลงยกเลิกไปแล้วไม่ ดังนั้น การคำนวณการใช้สัญญาแบบปรับราคาได้โดยเปรียบเทียบกับดัชนีค่าวัสดุก่อสร้าง ณ เดือนที่โจทก์ได้เสนอราคาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่างานหลังเลิกสัญญา: ค่างานที่ทำไปแล้วต้องชดใช้ตามควรค่า แม้มีการเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,260,000 บาท ตกลงแบ่งชำระค่าก่อสร้างเป็น 4 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 300,000 บาท ภายหลังมีการเลิกสัญญาก่อสร้างเมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารให้จำเลยจนครบงวดงานที่ 1 แล้ว โดยจำเลยชำระค่าวัสดุแทนโจทก์ไปจำนวน 132,612 บาท และโจทก์เบิกเงินค่าแรงงานไปจากจำเลยจำนวน 82,832 บาท จำเลยคงค้างค่างานอยู่อีก 84,556 บาท เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนที่เป็นงานอันได้กระทำให้แก่กันแล้ว ให้ชดใช้กันด้วยเงินตามควรค่าแห่งงานนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อขณะที่ยังมีข้อสัญญาที่ต้องปฏิบัติต่อกันโจทก์ได้ทำงานให้แก่จำเลยไปบ้างแล้ว ภายหลังเมื่อมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมต้องใช้ค่างานแก่โจทก์ตามที่ได้กระทำให้จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่างานที่เหลือจำนวน 84,556 บาท จากจำเลยได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าค่างานที่ทำเสร็จแล้ว
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,260,000 บาท ตกลงแบ่งชำระค่าก่อสร้างเป็น 4 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 300,000 บาทภายหลังมีการเลิกสัญญาก่อสร้างเมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารให้จำเลยจนครบงวดงานที่ 1 แล้ว โดยจำเลยชำระค่าวัสดุแทนโจทก์ ไปจำนวน 132,612 บาท และโจทก์เบิกเงินค่าแรงงานไปจากจำเลย จำนวน 82,832 บาท จำเลยคงค้างงานอยู่อีก 84,556 บาท เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนที่เป็นงานอันได้กระทำให้แก่กันแล้ว ให้ชดใช้กันด้วยเงินตามควรค่าแห่งงานนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อขณะที่ยังมีข้อสัญญาที่ต้องปฏิบัติต่อกันโจทก์ได้ทำงานให้แก่จำเลยไปบ้างแล้ว ภายหลังเมื่อมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมต้อง ใช้ค่างานแก่โจทก์ตามที่ได้กระทำให้จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่างานที่เหลือจำนวน 84,556 บาทจากจำเลยได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่างานที่ทำเสร็จแล้วกับค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมาที่บอกเลิก
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่1วางท่อประปาขยายเขตจำหน่ายน้ำโดยสัญญาข้อ21มีใจความสรุปได้ว่าหากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและจำเลยที่1ยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ทั้งโจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานที่ค้างต่อไปได้หากค่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่สูงกว่าค่าจ้างเดิมจำเลยที่1ยอมให้นำค่าจ้างเดิมที่ยังค้างจ่ายซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้ไปหักออกจากค่าจ้างรายใหม่ถ้ายังไม่พอชำระค่าจ้างรายใหม่ที่สูงกว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ยังขาดจนครบถ้วนข้อตกลงนี้จึงมีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา382หากจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่วางท่อให้ถูกต้องสมควรโจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา381วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา383วรรคแรกดังนั้นถ้าให้โจทก์ริบเอาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นทั้งหมดโดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและไม่ยอมลดจากค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้ก็จะเป็นการเรียกเบี้ยปรับสูงเกินส่วนย่อมสมควรให้ลดเบี้ยปรับลงเท่ากับค่างานที่จำเลยที่1ทำงานให้แก่โจทก์ไปแล้วก่อนบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658-2659/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระค่างานที่ทำไปแล้วตามสภาพผลงานจริง และค่าฤชาธรรมเนียม
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วเพราะจำเลยทั้งสองทำผิดสัญญา จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยผิดสัญญา อันเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองยังไม่เลิกกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงรวมอยู่ในประเด็นที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองเลิกกันแล้วหรือยังด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว ดังนี้ ที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่อีกนั้น จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยจ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคาร ในสัญญาจ้างแบ่งเงินค่าจ้างออกเป็นงวดๆ โดยงวดสุดท้ายกำหนดชำระเป็นจำนวนเกือบจะเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาต่อกันโดยกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังเป็นอยู่เดิม ส่วนการงานที่โจทก์ได้กระทำให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้น จำเลยทั้งสองจำต้องใช้เงินให้โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว ค่าแห่งการงานที่จะต้องชดใช้กันนั้นไม่จำต้องมีราคาตรงตามงวดของงานที่ระบุไว้ในสัญญา ต้องพิจารณาถึงผลงานที่ทำให้ไปแล้วทั้งหมด
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658-2659/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: ศาลวินิจฉัยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 391 การชำระค่างานตามผลงานจริง
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้วเพราะจำเลยทั้งสองทำผิดสัญญา จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยผิดสัญญา อันเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองยังไม่เลิกกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงรวมอยู่ในประเด็นที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองเลิกกันแล้วหรือยังด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้วดังนี้ ที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงเลิกสัญญาต่อกันแล้ว โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่อีกนั้น จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยจ้างเหมาโจทก์ปลูกสร้างอาคาร ในสัญญาจ้างแบ่งเงินค่าจ้างออกเป็นงวด ๆ โดยงวดสุดท้ายกำหนดชำระเป็นจำนวนเกือบจะเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าก่อสร้างทั้งหมด เมื่อโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาต่อกันโดยกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์และจำเลยต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังเป็นอยู่เดิม ส่วนการงานที่โจทก์ได้กระทำให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้น จำเลยทั้งสองจำต้องใช้เงินให้โจทก์ตามค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว ค่าแห่งการงานที่จะต้องชดใช้กันนั้นไม่จำต้องมีราคาตรงตามงวดของงานที่ระบุไว้ในสัญญา ต้องพิจารณาถึงผลงานที่ทำให้ไปแล้วทั้งหมด
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีหรือการดำเนินคดีของคู่ความ