คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้างทนายความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: คำให้การไม่ชัดเจนถือเป็นประเด็นข้อพิพาท และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ย
คำให้การของจำเลยที่ 2 ที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าไม่ทราบและไม่รับรองว่า ป. เป็นผู้ตกลงว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองหรือไม่ และตกลงค่าจ้างเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่า ป. ไม่ได้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ด้วยตนเองโดยให้ค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ถือได้ว่าเป็นคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
ป. ตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความโดยตกลงค่าจ้างว่าความ 6,000,000 บาท ภายหลังจากโจทก์ตกลงรับจ้างว่าความให้แก่ ป. โจทก์สอบถามข้อเท็จจริงจาก ป. ทางโทรศัพท์ อีกประมาณ 10 วัน โจทก์เรียงคำให้การเสร็จและนำใบแต่งทนายไปให้ ป. ลงชื่อนำไปยื่นต่อศาล ต่อมาโจทก์ทราบว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผลงานที่โจทก์กระทำให้ ป. มีอยู่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองคำนวณผลงานดังกล่าวและกำหนดค่าจ้างว่าความให้โจทก์ 200,000 บาท จึงเหมาะสมแก่รูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไร คงมีแต่คำขอในอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 จ่ายดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยและปัญหานี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาโจทก์เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้พิจารณาประเด็นค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายเดินทางใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีต่อศาลโดยจะชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขประการที่ 2 คือสร้างตึกฟรี แต่ไม่ให้ค่าเสียหายให้ร้อยละ 10 ตามสำเนาเงื่อนไขเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำนวนร้อยละดังกล่าวเป็นการคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันซึ่งเมื่อคำนวณจากทุนทรัพย์แล้วเป็นเงินจำนวน 800,000 บาท จำเลยชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียง 150,000 บาท ยังค้างชำระจำนวน 650,000 บาทขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจำนวน 650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์คิดคำนวณค่าจ้างว่าความมาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดีสามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือน คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การเลิกสัญญาจ้างทำของก่อนคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญา จ้าง ว่า ความ เป็น สัญญา จ้าง ทำ ของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือ เอา ผลสำเร็จ ของงาน คือ การ ดำเนินคดี หรือ ทำ หน้าที่ ทนายความ ตั้งแต่ตระเตรียม คดี และ ว่า ต่าง หรือ แก้ต่าง ใน ศาล ไป จน คดี ถึง ที่สุดและ การ จ่าย สินจ้าง ต้อง ถือเอา ความสำเร็จ ของ ผลงานหรือ จ่าย สินจ้าง ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ แม้ ข้อตกลง ว่า ผู้ว่าจ้าง จะชำระ สินจ้าง ให้ เต็ม ตาม จำนวน ใน สัญญาจ้าง ไม่ว่า ผู้ว่าจ้างจะ เลิก สัญญา ใน ชั้นใด หรือ เวลา ใด ก็ ไม่ใช่ ข้อสัญญา ที่ ผูกมัดตัด ทอน เสรีภาพ ของ ผู้ว่าจ้าง เพราะ มิได้ ห้าม เด็ดขาดมิให้ ผู้ว่าจ้าง ถอน ทนาย เพียง แต่ มี เงื่อนไข ว่าหาก ถอน ทนาย ผู้ว่าจ้าง ก็ ยัง ต้อง ชำระ ค่า สินจ้าง เต็ม จำนวนใน สัญญา เท่านั้น จึง ไม่ ขัด ต่อ ความ สงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรมอันดี ของ ประชาชน ข้อตกลง เช่นว่า จึงมี ผลบังคับ ได้ แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ แม้ไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง แต่ได้ประโยชน์จากผลงาน มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามสมควร อายุความต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การประเมินจากความสำเร็จในการดำเนินคดี, ทุนทรัพย์, และความซับซ้อนของคดี
เดิมจำเลยที่1ถูกบ.ฟ้องฐานละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนและเรียกทรัพย์คืนศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้แก่บ. จำเลยที่1และบ.ต่างยื่นฎีกาสำหรับจำเลยที่1ได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความร่วมกับทนายความคนเดิมของจำเลยที่1ดำเนินคดีในชั้นฎีกาโจทก์จึงได้ทำคำแก้ฎีกาและทำคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกายื่นต่อศาลส่วนคำฟ้องฎีกานั้นโจทก์ก็เป็นผู้ยกร่างฎีกาเป็นบางส่วนซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่1ไม่ต้องมีหลักประกันมาวางศาลและจำเลยที่1ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บ. เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในชั้นฎีกาถือได้ว่ามีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ การที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาคดีย่อมต้องพิจารณาจากคำฟ้องฎีกาและคำแก้ฎีกาเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้หาใช่ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างเดียวไม่ การคิดจำนวนสินจ้างจำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีทั่วไปด้วยและโดยที่คดีที่โจทก์รับจ้างว่าความมีทุนทรัพย์เกือบถึง100,000,000บาทจำเลยที่1แพ้คดีศาลล่างทั้งสองศาลมาแล้วและโจทก์ตั้งที่ปรึกษาหลายคนเป็นคณะทำงานประกอบกับต้องทำงานอย่างรีบเร่งเพื่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยที่1ที่ประกอบธุรกิจธนาคารที่ถูกลูกค้าของธนาคารฟ้องฐานละเมิดหากจำเลยที่1จะจ้างทนายความอื่นก็น่าจะต้องเสียค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่จ้างโจทก์จึงเห็นว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์เป็นเงิน3,000,000บาทนั้นเป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: โจทก์มิได้ว่าความเอง ผลสำเร็จเกิดจากทนายความอื่น ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์เป็นเพียงหัวหน้าสำนักงานทนายความมิได้เป็นผู้ว่าความในคดีที่จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้อง ท. และจำเลยที่ 2 ได้แต่งตั้งพ. เป็นทนายความตั้งแต่ยื่นคำฟ้องจนคดีเสร็จเด็ดขาด ดังนั้นผลสำเร็จของคดีจึงเกิดจากการทำงานของ พ. หาใช่เกิดจากการทำงานของโจทก์ไม่ สำนักงานทนายความของโจทก์รับคดีมาให้ พ. ว่าความโจทก์ในฐานะหัวหน้าสำนักงานทนายความจะได้รับส่วนแบ่งอย่างไรเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างโจทก์กับ พ. จำเลยทั้งสองไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การคิดคำนวณค่าบริการ, ค่าป่วยการ, และการกำหนดจำนวนเงินที่เหมาะสม
แม้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความตามปริมาณและระยะเวลาการทำงาน แต่โจทก์ก็ได้แนบเอกสารท้ายฟ้องแสดงรายการค่าจ้างว่าความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าป่วยการเป็นเงินรวม 249,440 บาท ให้จำเลยทราบ จึงเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาตามฟ้อง ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น โจทก์มีตัวโจทก์เบิกความประกอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงสอดคล้องต้องกันสมเหตุสมผล มีน้ำหนักน่าเชื่อยิ่งกว่าพยานจำเลยซึ่งมีแต่เพียงพยานบุคคลเบิกความลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน รูปคดีฟังได้ว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความแก้ต่างให้แก่จำเลย ค่าบริการเมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการอะไรในส่วนไหนศาลย่อมไม่กำหนดเงินในส่วนนี้ให้ สำหรับค่าสินจ้างว่าความที่โจทก์เรียกมาเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น ปรากฏว่าในคดีที่จำเลยถูกธนาคารฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อนมากนัก และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ว่าความโดยต้องซักถามพยานเป็นข้อยุ่งยากและโจทก์ต้องไปแสวงหาพยานหลักฐานโดยยากลำบากแต่อย่างใดสมควรกำหนดสินจ้างว่าความตามส่วนของงานที่ทำไปเป็นเงิน 80,000 บาทส่วนค่าป่วยการนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า"ป่วยการ" หมายถึงเสียงานเสียการ และ "ค่าป่วยการ" หมายถึงเรียกค่าชดเชยการงานเวลาที่เสียไปการที่โจทก์เดินทางไปว่าความต่างจังหวัดเป็นการเดินทางไปทำงานในหน้าที่ของทนายความโดยตรงจะเรียกว่าเป็นการเสียงานเสียเวลาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: วงเงินตกลง, การสืบสวนข้อเท็จจริง, การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย, การตีความสัญญา
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงจากภรรยาจำเลยในประเทศไทยว่า จำเลยจะถูกฟ้องข้อหาให้สินบนเจ้าพนักงานหรือไม่ และขอคำแนะนำทางด้านกฎหมาย ถ้าจำเป็นก็ให้ตั้งทนายความสู้คดี โดยกำหนดจำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นค่าจ้างเหมาในกิจการดังกล่าว การที่โจทก์สืบสวนข้อเท็จจริงให้คำปรึกษาและแนะนำแก่จำเลย เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าคู่กรณีต่างตกลงคิดค่าจ้างกันเป็นรายชั่วโมงหรือโจทก์แจ้งจำเลยขอคิดค่าจ้างนอกเหนือจากเงินจำนวน 20,000 บาทเป็นพิเศษ ต้องถือว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์กระทำการในวงเงิน 20,000 บาท โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเอาเงินค่าใช้จ่ายอย่างอื่นนอกวงเงินที่จำเลยกำหนด แม้เพื่อใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความเหมาจ่าย: สัญญาไม่เป็นโมฆะ ศาลกำหนดจ่ายตามส่วนงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2515 ฉ. ตกลงว่าจ้างให้ ว. เป็นทนายความดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไปจาก ที่ดินของ ฉ. และ ว. ตกลงรับจ้างจัดการขับไล่ผู้เช่าทั้งหมด โดยตกลงเหมากันทำให้แล้วเสร็จในอัตราค่าจ้าง 1,000,000 บาท กำหนดชำระค่าจ้างกันเมื่อได้ขับไล่ผู้เช่าทั้งหมดออกไปแล้ว ดังนี้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฉ. มีความประสงค์ที่จะขับไล่ผู้อยู่ในที่ดินให้ออกไปเพื่อใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคารจึงได้ไปปรึกษากับว.และตกลงจ้างว. ที่ ว. รับออกค่าใช้จ่ายไปก่อนก็เพราะ ฉ. เป็นเพื่อนสนิทกับ ว. เป็นกรณีที่ ว.ออก ค่าใช้จ่ายทดรองไปก่อนโดยสุจริต. ถือไม่ได้ว่า ว. ยุยงส่งเสริมให้มีการ ฟ้องคดีกัน ทั้งค่าจ้างที่ ฉ.ตกลงให้ ว. ก็ไม่มากเกินสมควร. ส่วนที่ ฉ. จะให้ ค่าจ้างเป็นเงิน 1,000,000 บาท หรือถ้าไม่มีเงินให้ก็จะให้เป็น ตึกแถว 2 ห้องนั้นก็เป็นข้อเสนอและความประสงค์ของ ฉ. เอง ซึ่ง ฉ. จะให้เป็นเงินก็ได้ ทั้งตึกแถว 2 ห้องนั้นก็มิใช่เป็นทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของ ว. เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน และคิดค่าจ้าง โดยแบ่งเอาจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาท ดังนี้สัญญาจ้างหาตกเป็นโมฆะไม่
ฉ. ตกลงจ้าง ว. ให้ดำเนินการขับไล่ผู้เช่าให้ออกไปจากที่ดินเป็นเงิน 1,000,000 บาท และ ว. ได้กระทำการ ตามที่ ฉ. ว่าจ้างไปบ้างแล้ว. ต่อมาทั้ง ฉ. และ ว.ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลง ฉ. จำต้องใช้สินจ้างตามส่วนของการงานที่ได้ทำไปแล้วอันเป็นประโยชน์ แก่ ฉ.ซึ่งศาลกำหนดให้เป็นเงิน 450,000 บาทนั้น เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความที่ศาลตัดสินให้ชำระตามคำพิพากษาแล้ว ไม่ถือเป็นลาภมิควรได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืน
ศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้เงินค่าจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นเงินได้โดยชอบตามกฎหมาย โจทก์อ้างว่าจำเลยว่าความให้โจทก์ในคดีนั้นโดยไม่ถูกต้องและหลอกลวงโจทก์ จำเลยไม่ควรได้ค่าจ้างทนายความ จึงฟ้องเรียกเงินคืน ดังนี้ กรณีไม่ใช่ลาภมิควรได้
of 2