คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้างทำของ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย: การซื้อสินค้าสำเร็จรูปและค่าจ้างทำของ ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ซื้ออุปกรณ์เครนยกสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งมีทะเบียนการค้าและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรแตกต่างจากโรงงาน ส. ซึ่งโจทก์จ่ายค่าแรงติดตั้งเครนยกสินค้าให้ ดังนั้น โรงงาน ส. จึงเป็นบุคคลอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จะมีภูมิลำเนาอยู่แห่งเดียวกัน แต่ก็มีเงินได้พึงประเมินเป็นของตนเองและมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีแยกจากกัน จึงไม่อาจถือว่าเงินที่โจทก์จ่ายชำระราคาอุปกรณ์เครนยกสินค้าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างทำของที่โจทก์จ้างโรงงาน ส. ติดตั้งเครนยกสินค้า โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 3 เตรส
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน แต่เมื่อการไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนนั้นไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการควรได้รับจากการประกอบกิจการเพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะได้ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 (5) และมาตรา 91/16 (6) ดังนั้น เมื่อโจทก์ให้บริษัท พ. กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะโดยคำนวณจากดอกเบี้ยรับที่โจทก์ควรจะได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: เริ่มนับแต่วันรับมอบงาน มิใช่วันปฏิเสธการเบิกจ่าย
โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์หลายอย่างรวมทั้งรับเหมาประมูลงานก่อสร้างและงานด้านวิศวกรรมโยธาทุกชนิด โจทก์ทั้งสองจึงเป็นผู้ประกอบการค้า สิทธิเรียกร้องเอาค่าของที่ได้ส่งมอบหรือค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ 2 ปี และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป และมาตรา 602 กำหนดให้สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำโจทก์ทั้งสองจึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้นับแต่วันที่ได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างและได้ส่งมอบงานแล้ว ถือเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความ มิใช่ถือเอาวันที่ผู้ว่าจ้างปฏิเสธไม่อนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นวันเริ่มต้นนับอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าจ้างทำของและการติดตามทรัพย์คืน: ศาลวินิจฉัยอายุความ 2 ปีสำหรับค่าจ้าง และไม่มีอายุความสำหรับติดตามทรัพย์
การฟ้องเรียกค่าจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 มีกำหนดอายุความ2 ปี นับแต่วันรับมอบงาน โจทก์สร้างบ้านและรั้วพิพาทเสร็จส่งมอบให้จำเลยเมื่อเดือนตุลาคม 2526 และจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2526 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2528 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเอาไม้แบบพิพาทของโจทก์ไปทำสะพานทางเดินและเรียกทรัพย์หรือราคาทรัพย์ดังกล่าวคืนนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโรงแรมที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศ ถือเป็นค่าจ้างทำของและต้องเสียภาษี
โจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดตามสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษาและบริการทางเทคนิคให้กับบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศ เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(2)หาใช่เป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์เองไม่ บริษัท พ. ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษาแก่โจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าบริษัท พ. ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อโจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดให้กับบริษัท พ. โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 โจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้บริษัท ฮ. ตามสัญญาจ้างให้บริหารกิจการโรงแรมของโจทก์ แม้โจทก์จะเรียกว่าค่าธรรมเนียม ค่าการตลาดหรือเงินจ่ายคืนให้บริษัท ฮ.สำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทฮ.ทดรองจ่ายแทนโจทก์ไปก่อนก็มีความหมายอย่างเดียวกับค่าจ้างทำของโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้และการค้า ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 เตรส,78 สัตตรส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าจ้างทำของต้องมีผู้รับจริงจึงหักลดหย่อนได้ ค่ารับรองสมเหตุสมผลหักลดหย่อนได้
รายจ่ายค่าจ้างทำของที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2514,2515 และโจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่าได้จ่ายไปจริงโดยมีหลักฐานการจ่ายมาแสดง มีการลงบัญชี และเป็นค่าใช้จ่ายที่พอสมควรจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้จ่ายไปจริง เพียงแต่กล่าวอ้างว่าค่ารับรองที่โจทก์จ่ายไปนั้นเป็นจำนวนสูงเกินสมควร รายจ่ายดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 ถึง 2515 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของเริ่มนับเมื่อสัญญาเลิกกัน แม้มีข้อตกลงคิดบัญชีเมื่อยอดถึง 100,000 บาท
จำเลยว่าจ้างโจทก์ทำแม่พิมพ์ เมื่อค่าจ้างครบหนึ่งแสนบาทจึงคิดบัญชีกันครั้งหนึ่งหลังจากจำเลยจ้างโจทก์แล้วค้างชำระหนี้ยังไม่ถึงหนึ่งแสนบาท จำเลยไม่ว่าจ้างอีกกลับไปสั่งทำจากที่อื่นแทน ครั้นโจทก์ทวงถามให้ชำระจำเลยก็ผัดผ่อนถือได้ว่าได้มีการเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างทำของ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) บัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี ได้ความว่า เดิมมีข้อตกลงว่า เมื่อค่าจ้างครบจำนวนหนึ่งแสนจึงจะมีการคิดบัญชีและชำระหนี้กัน เมื่อเดือน มีนาคม 2517 โจทก์ติดต่อจำเลยขอเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระเงินเป็นว่าครบ 50,000 บาท ให้คิดบัญชีกันครั้งหนึ่งแต่จำเลยยังไม่ได้ตกลงด้วยจำเลยได้สั่งทำแม่พิมพ์เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนเมษายน 2517 รวมราคาทั้งสิ้น 68,395 บาท แล้วจำเลยงดสั่งทำ กลับไปสั่งทำจากที่อื่น เดือน พฤษภาคม 2517 โจทก์ทราบ จึงได้ทวงให้จำเลยชำระหนี้ เช่นนี้เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยเลิกจ้างและโจทก์ทวงถามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2517 จึงมีผลให้สัญญาจ้างเลิกกัน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเกิดและเริ่มนับอายุความตอนนั้น โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2519 คดีโจทก์ จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมและอายุความค่าจ้างทำของ: ศาลอนุญาตแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าจ้างทำของแก่โจทก์ในมูลหนี้ฐานผิดสัญญาจ้างทำของภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระอีกส่วนหนึ่งเกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับได้เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระในการทำป้ายโฆษณาโครงการฮอทไอซ์ของจำเลยซึ่งยังมิได้ระบุเรียกร้องไว้ในคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นฟ้องเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ซึ่งโจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ก็ไม่ทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ส่วนนี้ขาดอายุความ