คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าจ้างรายวัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างรายวันและรายเดือน โดยมิใช่ค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มิใช่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้าง อัตราสุดท้ายวันละ 75 บาท ค่าครองชีพเดือนละ 400 บาท การคิดค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46(3) จึงต้องนำค่าจ้างรายวันมาคูณด้วยหนึ่งร้อยแปดสิบวันและค่าจ้างรายเดือนมาคูณด้วยหก จะเป็นค่าชดเชย ที่โจทก์จะพึงได้รับส่วนการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจ และในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นเพียงการ คำนวณจ่ายค่าจ้างของจำเลย ไม่มีผลมาถึงการคำนวณจ่ายค่าชดเชยซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างประจำ: ค่าจ้างรายวัน/รายเดือน vs. ค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มิใช่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายวันละ 75 บาทค่าครองชีพเดือนละ 400 บาทการคิดค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46(3) จึงต้องนำค่าจ้างรายวันมาคูณด้วยหนึ่งร้อยแปดสิบวันและค่าจ้างรายเดือนมาคูณด้วยหก จะเป็นค่าชดเชยที่โจทก์จะพึงได้รับส่วนการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจและในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นเพียงการคำนวณจ่ายค่าจ้างของจำเลยไม่มีผลมาถึงการคำนวณจ่ายค่าชดเชยซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงาน: ลักษณะการจ้างงานเป็นประจำ แม้ได้รับค่าจ้างรายวันและมีการผ่อนผันการลา
เมื่อองค์การคลังสินค้าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานก็ไม่ได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างชั่วคราวหรือจ้างประจำ และไม่มีกำหนดเวลาจ้างแน่นอน ถ้ารัฐบาลไม่ยกเลิกข้าวโอชาโจทก์ก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ตลอดไป ลักษณะของการจ้างจึงเป็นการจ้างกันเป็นประจำไม่ใช่ตกลงจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือตามฤดูกาล โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การที่โจทก์ได้รับการผ่อนผันเกี่ยวกับการลา และได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน หาทำให้ลักษณะการจ้างเปลี่ยนแปลงไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: ลักษณะสำคัญคือการจ่ายค่าจ้างรายวัน ไม่ผูกพันผลสำเร็จของงาน
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้นมิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้นแม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การพิจารณาประเภทสัญญาจ้างจากลักษณะงานและวิธีการจ่ายค่าจ้าง
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน การได้รับค่าจ้างรายวันถือเป็นช่วงทดลองงาน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับ การเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร.ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดีมีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดพนักงานฯ ต้องได้รับการบรรจุเป็นเงินเดือน ไม่ใช่แค่ค่าจ้างรายวัน
จำเลยเข้าทำงานในองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงิน ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จำเลยจะทำงานอะไรแล้วแต่หัวหน้าหน่วยจะสั่งให้ทำในเรื่องเกี่ยวกับการเงิน เมื่อจำเลยปฏิบัติงานมาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหรือกว่านั้น ถ้าองค์การพิจารณาเห็นสมควร จึงจะรับบรรจุเป็นเงินเดือน ดังนี้ เมื่อจำเลยอยู่ในระหว่างทดลองให้ปฏิบัติงานชั่วคราวโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
มาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปพ.ศ.2498. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ทั้งต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการของ อสร. ซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้อำนวยการย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ดำเนินคดี มีอำนาจแจ้งความหรือร้องทุกข์ หรือสั่งให้บุคคลอื่นไปแจ้งความหรือร้องทุกข์แทน ขอให้ดำเนินคดีกับจำเลย ที่เบียดบังยักยอกเอาเงินของอสร. ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการทำงานเป็นโมฆะ หากวงเงินค้ำประกันเกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวัน
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประกาศข้อ 10 กำหนดว่าวงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับจากประกาศดังกล่าว เห็นได้ว่าเป็นเรื่องกำหนดให้การทำสัญญาค้ำประกันการทำงานต้องกำหนดวงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ ไม่ได้ให้นายจ้างทำสัญญากำหนดวงเงินให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียงใดก็ได้ แต่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเกินกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยไม่ได้ดังที่โจทก์อุทธรณ์ เพราะหากทำเช่นนั้นได้ นายจ้างก็สามารถฉวยโอกาสทวงถามเรียกร้องค้ำประกันให้ชำระค่าเสียหายเป็นจำนวนตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเกินกว่า 60 เท่าดังกล่าว โดยคาดหวังว่าจะได้รับชำระค่าเสียหายเต็มตามสัญญาหรือเกินกว่า 60 เท่า ตามกฎหมายจากผู้ค้ำประกันซึ่งอาจไม่รู้ถึงสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว เหมือนที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนซึ่งเกินกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยก่อนที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้สนใจที่จะปฏิบัติต่อผู้ค้ำประกันด้วยความเคารพต่อประกาศกระทรวงแรงงานฉบับดังกล่าว ที่ศาลแรงงานภาค 3 วินิจฉัยว่า สัญญาค้ำประกันตามฟ้องตกเป็นโมฆะ และพิพากษายกฟ้องชอบด้วยเหตุและผลแล้ว