พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าตอบแทนพิเศษจากสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับแต่วันที่บังคับสิทธิได้ ไม่ใช่วันลาออก
ป.พ.พ.มาตรา 193/12 บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นการกระทำอย่างใด ให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น" เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงด้วยวาจากับโจทก์ว่า หากโจทก์สามารถตรวจสอบพบการทุจริตและนำเงินที่ทุจริตกลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ตรวจสอบพบการทุจริตและเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฟ้องธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กระทั่งวันที่ 31 มีนาคม 2546 จำเลยที่ 1 ได้รับคืนจำนวน 9,403,007.63 บาท ตามเงื่อนไขในการตกลงด้วยวาจาจึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าตอบแทนพิเศษให้นับแต่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 หาใช่นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2544 อันเป็นวันที่โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำฟ้องเรียกค่าตอบแทนพิเศษคิดเป็นร้อยละของผลงานที่ทำได้ จึงเป็นการเรียกร้องค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานโดยคำนวณตามผลงานที่ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันเป็นค่าจ้าง จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2547 จึงยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 31 มีนาคม 2546 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728-7731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ขัดขวางการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ ก่อความเสียหาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ทั้งสี่มาปฏิบัติราชการทำการสอนนักศึกษาตามกระบวนวิชาที่ได้รับมอบหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษแม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จะไม่ลงเวลาทำงานตามระเบียบว่าด้วยการลงเวลาอันเป็นการผิดระเบียบก็ตาม ก็เป็นเรื่องคนละส่วนกันกับเรื่องนี้ที่จะต้องไปดำเนินการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาได้กระทบถึงสิทธิอันมีอยู่โดยชอบในการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของโจทก์ทั้งสี่แต่อย่างใดไม่ ทั้งแบบฟอร์มก็เป็นแบบฟอร์มที่ให้จำเลยในฐานะหัวหน้าภาควิชารับรองการปฏิบัติราชการของอาจารย์ในภาควิชาไม่ใช่หลักฐานรับรองการลงเวลาปฏิบัติงาน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ทั้งสี่และไม่มีสิทธิขีดฆ่าชื่อโจทก์ทั้งสี่ออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษได้ นอกจากนี้จำเลยในฐานะหัวหน้าภาควิชาซึ่งมีหน้าที่รับรองการปฏิบัติราชการเพื่ออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ จะต้องปฏิบัติการในส่วนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์โดยเคร่งครัดด้วยความเที่ยงธรรมและเสมอภาค แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า จำเลยก็รับรองการปฏิบัติราชการและทำเรื่องขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้อาจารย์อื่นซึ่งไม่ได้ลงชื่อในบัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการเช่นเดียวกัน แสดงว่าจำเลยไม่ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองการปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับที่ใช้กับโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ในการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้รับ ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ทั้งสี่และขีดฆ่าชื่อโจทก์ทั้งสี่ออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายในงวดประจำเดือนตามฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวในอันที่จะไม่เสนอชื่อโจทก์ที่ 1ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละงวดเดือน เจตนาของจำเลยเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ธุรการการเงินเสนอขึ้นมาให้จำเลยพิจารณาลงลายมือชื่อรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งที่จำเลยพบเห็นแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือนที่เจ้าหน้าที่เสนอขึ้นมาเท่านั้น เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกในงวดเดือนต่อมาก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 และขีดฆ่าชื่อโจทก์ที่ 1 ออกจากฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 7 งวดจึงเป็นความผิด 7 กรรมต่างกันต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวในอันที่จะไม่เสนอชื่อโจทก์ที่ 1ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละงวดเดือน เจตนาของจำเลยเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ธุรการการเงินเสนอขึ้นมาให้จำเลยพิจารณาลงลายมือชื่อรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งที่จำเลยพบเห็นแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือนที่เจ้าหน้าที่เสนอขึ้นมาเท่านั้น เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกในงวดเดือนต่อมาก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 และขีดฆ่าชื่อโจทก์ที่ 1 ออกจากฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 7 งวดจึงเป็นความผิด 7 กรรมต่างกันต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าตอบแทนพิเศษที่เชื่อมโยงกับการระดมเงินฝาก เป็นโมฆะตามกฎหมายควบคุมธุรกิจเงินทุน
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างหรือไม่ จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างจะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษ หรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อย ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าลูกจ้างจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายให้โจทก์ (ลูกจ้าง) สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 เป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม
ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายให้โจทก์ (ลูกจ้าง) สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 เป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างให้ค่าตอบแทนพิเศษเพื่อระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย จึงเป็นโมฆะ
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ค่าจ้างเดือนละ 38,000 บาท และจำเลยตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยพร้อมกับโจทก์ ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 4,000 ล้านบาท จำเลยที่ 1จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม 4 คนในอัตราร้อยละ 0.06ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง 2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยสามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ให้ค่าตอบแทนพิเศษจากการระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุนมีข้อตกลงพิเศษว่า โจทก์ต้องระดมเงินฝากให้แก่จำเลยที่ 1ไม่ต่ำกว่าปีละ4,000 ล้านบาท จึงจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราร้อยละ 0.06 ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน หากไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ได้ ทำให้เห็นว่าโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษ จำนวนเท่าใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อยโจทก์ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์ระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาทในระยะหนึ่งปี สัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ดังนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินที่จะได้รับต่างหากจากเงินเดือนจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน การที่จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงินจึงเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงินจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติตามจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่านายหน้าและค่าตอบแทนพิเศษ: การซื้อขายไม่สำเร็จไม่ผูกพัน
ตามบันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ป. ผู้ขายกับจำเลย ผู้ซื้อระบุว่า จำเลยต้องการให้โจทก์เป็นนายหน้า หรือตัวแทนในการขายที่ดินให้กับบริษัทค. หากจำเลยขายให้กับทางบริษัทค.ได้ จำเลยสัญญาว่าจะจัดค่านายหน้าให้กับโจทก์20,000 บาท ต่อไร่ของที่ดินทุก ๆ แปลง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้า 3 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 20,000 บาท ต่อเมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยขายที่ดินดังกล่าวได้จนเป็นผลสำเร็จคือ ถ้าจำเลยขายที่ดินได้เงินมาในราคาไร่ละ 150,000 บาทก็จะจัดให้โจทก์ได้ราคาส่วนเกินจากราคาที่จำเลยต้องการขาย ในราคาไร่ละ 130,000 บาท โดยโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษไปในอัตรา 20,000 บาท ต่อไร่ ตามที่ขายได้เมื่อโจทก์เพียงแต่จัดให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับ พ.กรรมการบริษัทค.แต่ต่อมาพ. ผู้จะซื้อผิดสัญญา จนมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวไปแล้ว กรณีจึงหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันจะทำให้จำเลยได้รับเงินตามราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินหรือค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ในท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่