คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทำงานวันหยุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างค่าทำงานวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่ประกาศวันหยุดและผิดนัดชำระ
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่า โจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีก จำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท ดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวด 4ข้อ 31 วรรคแรก ถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไร ทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทำงานวันหยุด และการปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทำงานวันหยุด & การปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา-ค่าทำงานวันหยุด: การทำงานข้ามกะ
โจทก์เข้าทำงานในกะบี. ตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกาจนถึง 23 นาฬิกาแล้วทำงานแทน ค.และส.พนักงานของจำเลยซึ่งไม่มาทำงานในกะซี. และกะเอ. ติดต่อกันไปจนถึงเวลา 15 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานเพียง 1 กะใน 1 วัน ดังนั้นการที่โจทก์ต้องทำงานให้จำเลยในกะซี.และกะเอ.แทนค.และส. จึงเป็นการทำงานเกินกว่า 1 กะใน 1 วัน ถือได้ว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยเลี้ยงต่างจังหวัดไม่ถือเป็นค่าทำงานวันหยุด หากจำเลยไม่ได้สั่งให้ทำงานในวันหยุด
การที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ตามจำนวนวันที่ออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัด เป็นการให้เงินตอบแทนการทำงานในช่วงเวลาที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปกติหรือวันหยุดประจำสัปดาห์มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน และจำเลยก็มิได้มีคำสั่งหรือระบุเจาะจงว่า โจทก์จะต้องทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่เป็นดุลพินิจของโจทก์ที่จะเลือกปฏิบัติงานในวันใดเวลาใดก็ได้ในระหว่างช่วงเวลานั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันหยุด โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าทำงานในวันหยุดในช่วงเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับ – การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานให้ทำช่วงเวลาที่อยู่เวร
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981-991/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานวันหยุด: เงินเปอร์เซ็นต์จากค่าโดยสารไม่ใช่ค่าจ้าง, ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณ
เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหรือเงินเปอร์เซ็นต์ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติคือเกินวันละ 8 ชั่วโมง มิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เพราะมิใช่เป็นเงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทำงานวันหยุด: ศาลฎีกาพิพากษาว่าอายุความ 2 ปีนับจากวันที่สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้น
คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานตรวจแรงงาน อันเป็นพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (4) และการพิจารณาคดีแรงงานนั้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้โดยเฉพาะแล้ว ซึ่งหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2545 ให้แก่ ช. เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะ ช. ยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดเมื่อล่วงเลยกำหนดอายุความ 2 ปีแล้ว ศาลแรงงานกลางมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์สืบเพิ่มเติมในประเด็นนี้ในชั้นพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วยจึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 แม้ศาลแรงงานกลางจะมิได้วินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดของ ช. ดังกล่าว แต่คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อน ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดอันเป็นค่าจ้างนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ให้มีกำหนดอายุความสองปี และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 (3) บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง ดังนั้นสิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2545 รวม 6 วัน จึงเกินกว่ากำหนด 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ และไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16007/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การจ่ายค่าอาหารหรือหยุดชดเชยไม่สามารถใช้แทนได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 62, 63 บัญญัติให้นายจ้างปฏิบัติในการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดโดยเคร่งครัดตามอัตราที่กำหนดไว้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนาเพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน จึงกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้มิให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าเป็นบทบังคับเด็ดขาด ซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่จำเลยให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าอาหาร ค่าจ้างโดยคำนวณจากยอดขายสินค้า และจัดให้ลูกจ้างหยุดชดเชยในวันอื่น โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16007/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดนายจ้างต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การจ่ายค่าอาหารหรือหยุดชดเชยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 62 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 หรือมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังต่อไปนี้ (1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย" และมาตรา 63 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย" ดังนั้น การที่จำเลยให้ลูกจ้างและโจทก์ทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าอาหาร ค่าจ้างโดยคำนวณจากยอดขายสินค้า และจัดให้ลูกจ้างหยุดชดเชยในวันอื่น โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150