พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืน
โจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาโดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลาตามสัญญาได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกเงินที่ชำระค่าที่ดินคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยบางส่วนและจำเลยได้โอนที่ดินให้แก่โจทก์บางแปลง โจทก์และจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่ขยายเวลาโอนที่ดินส่วนที่เหลือโดยให้ถือว่าเงินมัดจำในสัญญาเดิมยังคงไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยถือว่าการโอนที่ดินที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วสามารถแยกต่างหากจากที่ดินส่วนที่เหลือได้และถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในที่ดินส่วนที่โอนแล้ว ดังนี้ โจทก์จะเรียกเงินค่าที่ดินที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนทั้งหมดหาได้ไม่ คงมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินในส่วนที่ชำระเกินราคาที่ดินที่รับโอนไปแล้วคืนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: สิทธิภารจำยอมเฉพาะโรงเรือน, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, และขอบเขตการชดใช้ค่าที่ดิน
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า สร้างโรงเรือน ย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของ บทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนด้วย ดังนี้แม้จำเลยจะสร้างหรือ ทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต จำเลยก็ไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้นจึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตรก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำ ของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของ โจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความ จึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและการริบเงินค่าที่ดิน: ข้อตกลงริบเงินไม่ใช่เบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน 250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3 ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลงจะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538และผู้ขายตกลงจะไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลยเพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และ ข้อ 3 ดังกล่าวโจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวด งวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาท โดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน800,000 บาท และงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง 250,000 บาท เท่านั้น
ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้ แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้ เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใด ดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้ แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้ เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6776/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินค่าที่ดินเมื่อผิดสัญญา: ข้อตกลงริบเงินไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในสัญญาดังกล่าวข้อ 2 ระบุว่า คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่จะซื้อขายกันคิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,750,000 บาท โดยในวันทำสัญญานี้(วันที่ 9 ธันวาคม 2537) ผู้ซื้อได้วางมัดจำไว้จำนวน250,000 บาท ซึ่งผู้ขายจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว และผู้ซื้อตกลงจะชำระเงินอีก800,000 บาท ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2538 และสัญญาข้อ 3ระบุว่า เงินส่วนที่เหลือจำนวน 700,000 บาท คู่สัญญาตกลง จะชำระกันในวันที่ 1 ธันวาคม 2538 และผู้ขายตกลงจะไปทำการ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ซื้อ ในวันเดียวกับที่ผู้ซื้อชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาโดยชำระเงินงวดที่ 2 ให้จำเลย เพียง 100,000 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย ไปทั้งสิ้น 350,000 บาท นอกจากนี้สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ กับจำเลยดังกล่าวมีข้อตกลงด้วยว่า หากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดด้วย จึงเห็นได้ว่าตามสัญญาจะซื้อขายข้อ 2 และข้อ 3ดังกล่าว โจทก์กับจำเลยตกลงแบ่งชำระราคาที่ดินเป็น 3 งวดงวดแรกกำหนดชำระในวันทำสัญญาจำนวน 250,000 บาทโดยให้ถือเป็นมัดจำด้วย ส่วนงวดที่ 2 จำนวน 800,000 บาทและงวดที่ 3 จำนวน 700,000 บาท จะชำระในภายหลัง ดังนี้ จึงถือว่ามีการวางเงินมัดจำตามสัญญาดังกล่าวเพียง250,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทมีลักษณะเป็นเพียงข้อสัญญากำหนดจำนวนเงินค่าที่ดินที่เหลือที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยเป็นงวด ๆ ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เท่านั้น ไม่แน่ว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแต่ละงวดโจทก์จะชำระเงินให้จำเลยครบถ้วนหรือชำระมากน้อยเพียงใดดังนี้แม้จะมีข้อสัญญาว่าหากโจทก์ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้จำเลยริบเงินค่าที่ดินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมดได้แต่ก็หาได้มีลักษณะเป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับได้ไม่ ดังนี้เงินตามข้อตกลงในสัญญาจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะมีอำนาจลดลงได้ หากแต่เป็นเงินค่าที่ดินส่วนหนึ่งที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ซึ่งเมื่อข้อสัญญาให้สิทธิจำเลยริบเงินค่าที่ดินที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้หากโจทก์ผิดสัญญาและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยย่อมชอบที่จะริบเงินจำนวน 100,000 บาท ได้ทั้งหมดตามข้อสัญญาที่โจทก์ตกลงกับจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค สิทธิเรียกร้องค่าที่ดินและการชดใช้
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุง ถนนบนที่ดิน ที่ ส. อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน 4 ต้น โดยมีส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ที่ 1และที่ 3 ได้ โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหายแต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้ สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆ ซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลุกสร้างคดีนี้ เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแปลงหนี้: สัญญากู้เงินที่แปลงจากค่าที่ดินและแปลงหนี้เงินกู้เดิม ย่อมมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน
โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้แปลงจากค่าที่ดิน-สัญญาเงินกู้ สัญญาเงินกู้ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้เงิน สัญญาไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลยหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'มัดจำ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการคืนเงินค่าที่ดินล่วงหน้าเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
ถ้อยคำที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377บัญญัติว่า"เมื่อเข้าทำสัญญาถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ"แสดงว่ามัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่6มีนาคม2532ระบุข้อความว่า"ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน200,000บาทและในวันที่20มีนาคม2532อีกจำนวน3,300,000บาท"เงินสดจำนวน200,000บาทเท่านั้นที่เป็นเงินมัดจำส่วนเงินจำนวน3,300,000บาทนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาบางส่วนล่วงหน้าซึ่งจะชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าที่ดินเป็นหนี้กู้ และการผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ยืมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญาแล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำมาคืนให้โจทก์ได้ จึงยอมใช้เงินเป็นค่าที่ดินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้โดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ค่าที่ดินมาเป็นหนี้สัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยทั้งสองต้องผูกพันตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยที่ 1ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เพื่อไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และรับเงินจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของโจทก์ไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา แล้วถูกศาลสั่งขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวของโจทก์ จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินคืนให้โจทก์ไม่ได้ และไม่มีเงินใช้ให้โจทก์จึงทำสัญญากู้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องหรือต่างกับฟ้องไม่.