พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าที่พัก: ลูกจ้างฟ้องนายจ้างใช้มาตรา 193/34(9) ไม่ใช่ 193/33(4)
บทบัญญัติมาตรา 193/33 และมาตรา 193/34 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จะเป็นอายุความเรียกร้องเงินเดือนเหมือนกัน แต่มาตรา 193/34 (9) เป็นกรณีที่ลูกจ้างเรียกเอาเงินที่ได้จากการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานจากนายจ้าง หรือนายจ้างเรียกเอาเงินที่นายจ้างออกทดรองไปคืนจากลูกจ้าง ส่วนมาตรา 193/33 (4) นั้นเป็นกรณีที่ผู้อื่นที่มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาเงินเดือนหรือเงินประเภทต่างๆ จากผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่าย ซึ่งมีกำหนดการจ่ายเป็นระยะเวลา การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักอันเป็นสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานจึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (9) มิใช่ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางและค่าที่พักของพนักงาน เมื่อไปช่วยราชการหน่วยงานอื่น มิใช่การปฏิบัติงานขององค์กร
ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535ที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา31(2)แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2497เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับดังกล่าวจึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้ยืมตัวไปการอนุมัติกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าที่พักและอาหารในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการปราบปรามรักษาป่าตามสัญญาสัมปทาน
แม้โจทก์จะมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันป่าตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องตามสัญญาสัมปทานทำไม้ แต่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์หามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าที่พักโรงแรม ค่าอาหารในโรงแรมและค่าใช้จ่ายในไนท์คลับแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ปราบปรามและป้องกันรักษาป่าด้วยไม่เพราะการปราบปรามและป้องกันรักษาป่าเป็นงานในหน้าที่โดยตรงของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติอยู่แล้วทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามและป้องกันรักษาป่ายังมีสิทธิที่จะได้รับเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พักจากทางราชการอีกด้วย และทางราชการก็ไม่ได้ขอร้องให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าค่าที่พักโรงแรม ค่าอาหารในโรงแรม และค่าใช้จ่ายในไนท์คลับดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่จะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะ ที่พัก อาหาร และซักรีด ไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับการคำนวณค่าชดเชย หากไม่ได้จ่ายเป็นประจำ
ลูกจ้างจะได้รับค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าซักรีดจากนายจ้างก็ต่อเมื่อนายจ้างได้อนุมัติให้ลูกจ้างไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและลูกจ้างมิได้ไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเป็นประจำหรือแน่นอนทุกเดือน ดังนี้เงินทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะ ที่พัก อาหาร และซักรีด ไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับคำนวณค่าชดเชย หากไม่ใช่การจ่ายประจำหรือแน่นอน
ลูกจ้างจะได้รับค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าซักรีดจากนายจ้างก็ต่อเมื่อนายจ้างได้อนุมัติให้ลูกจ้างไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและลูกจ้างมิได้ไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเป็นประจำหรือแน่นอนทุกเดือน ดังนี้เงินทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะและที่พักสำหรับพนักงานที่ทำงานต่างจังหวัด ถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
โจทก์ได้รับเงินเดือนและได้รับค่าพาหนะค่าที่พักซึ่งโจทก์ต้องไปทำงานต่างจังหวัดทุกเดือนเดือนละ 25 วันอีกต่างหากเป็นการเหมาจ่ายโดยลักษณะงานเวลาทำงานปกติของโจทก์อยู่ในต่างจังหวัด ดังนี้ เงินค่าพาหนะค่าที่พักจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ และถือได้ว่าเป็นค่าจ้างโดยไม่คำนึงว่าจะเรียกเงินดังกล่าวอย่างไร(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 172/2524)