พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมอายัดเงินในสัญญาประนีประนอมยอมความ: หลักการชำระค่าธรรมเนียมโดยคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยตกลงให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าธรรมเนียม ในการอายัดเงินของจำเลยซึ่งบุคคลภายนอกนำมาวางต่อศาลชั้นต้นย่อมตกเป็นพับด้วย
ค่าธรรมเนียมการอายัดเงินจะเรียกเก็บต่อเมื่อมีการขอให้จ่ายเงินมิใช่เรียกเก็บในขณะที่มีการอายัด เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่โจทก์และจำเลยก็เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 3 ครึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 เสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตาม ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 2 และข้อ 4
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 4 และข้อ 5 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง มีหลักการสำคัญว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลสั่งจ่ายเงินที่อายัดย่อมมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัด จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 4 แม้จำเลยจะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขออายัดเงินนั้น ก็ตาม
ค่าธรรมเนียมการอายัดเงินจะเรียกเก็บต่อเมื่อมีการขอให้จ่ายเงินมิใช่เรียกเก็บในขณะที่มีการอายัด เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่โจทก์และจำเลยก็เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 3 ครึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 เสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตาม ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 2 และข้อ 4
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 4 และข้อ 5 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง มีหลักการสำคัญว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลสั่งจ่ายเงินที่อายัดย่อมมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัด จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 4 แม้จำเลยจะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขออายัดเงินนั้น ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีหลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น และหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมอายัด
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากธนาคารของจำเลย การที่จำเลยได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคสาม นั้น ก็เพื่อมิให้ถูกบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ในระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 (1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงให้งดการบังคับคดีไว้ตามคำสั่งศาลชั้นต้นโดยให้ถอนการอายัดเงินฝากธนาคารของจำเลย หากคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีการบังคับคดีอยู่ไม่ถูกกลับในชั้นที่สุด ค่าธรรมเนียมในกรณีอายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ย่อมตกแก่จำเลยในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 169/2 วรรคหนึ่ง แต่ในคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความรวม 80,000 บาทมีผลทำให้โจทก์กลับมาเป็นลูกหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติข้อพิพาทโดยโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีและเรียกร้องใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป และให้ผู้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมหรือเงินใด ๆ ตามคำพิพากษามีสิทธิขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาลได้ก็ตาม ก็มีผลเพียงเป็นการยุติการดำเนินคดีของโจทก์และให้โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมหรือเงินใด ๆ ที่วางไว้ตามคำพิพากษาคืนจากศาลเท่านั้น ไม่มีผลเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องแต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์และจำเลยย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว โจทก์จึงไม่สามารถดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้อีกและทำให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ดำเนินไปแล้วถูกเพิกถอนไปกรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเป็นการถอนการบังคับคดีไปด้วยเหตุคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่อยู่ในระหว่างบังคับคดีนั้นถูกกลับในชั้นที่สุดโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) อันเป็นการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 295 (1) ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 169 /2 วรรคสี่ บัญญัติให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขออายัดเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีอายัดเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย