คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าน้ำมันรถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถส่วนตัวที่ใช้ในการทำงาน ไม่ถือเป็นค่าจ้างในการคำนวณค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
จำเลยเหมาจ่ายค่าน้ำมันรถให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เพื่อชดเชยกับการที่โจทก์ใช้รถยนต์ส่วนตัวของโจทก์ไปในการทำงานให้แก่จำเลย ค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่นายจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ไม่เป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง, การละทิ้งหน้าที่ไม่มีสิทธิรับค่าจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน รวมทั้งวันหยุด วันลา หรือจ่ายให้ตามผลงาน ไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ 20,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน งวดละ 10,000 บาท เมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถ จำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือน จึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2538 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ในระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575
ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2538 อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้น ปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการละทิ้งหน้าที่ทำให้ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง
เงินค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถจำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือนจึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างรวมค่าเลี้ยงรับรอง-ค่าน้ำมันรถ, สิทธิได้รับค่าจ้างเมื่อละทิ้งหน้าที่, เลิกจ้าง
เงินหรือเงินและสิ่งของใดที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานรวมทั้งวันหยุดวันลาหรือจ่ายให้ตามผลงานไม่ว่าค่าตอบแทนนั้นจะเรียกชื่อหรือกำหนดคำนวณอย่างไรก็ล้วนเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ทั้งสิ้นโจทก์ได้รับค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถอีกเดือนละ20,000บาทโดยแบ่งจ่ายทุกวันที่15และวันสิ้นเดือนงวดละ10,000บาทเมื่อค่าเลี้ยงรับรองและค่าน้ำมันรถจำเลยจ่ายแก่โจทก์แน่นอนทุกเดือนจึงเป็นเงินตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานในตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม2538จนถึงวันที่30มิถุนายน2538และจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้แสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่30มิถุนายน2538ในระหว่างวันที่1ถึงวันที่30มิถุนายน2538โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างเช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575 ในระหว่างวันที่1มิถุนายน2538ถึงวันที่30มิถุนายน2538อันเป็นช่วงเวลาที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรอย่างไรทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลานั้นปัญหาว่าคำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไปถึงวันที่1มิถุนายน2538ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายตามจำนวนวันที่มาทำงาน เป็นค่าช่วยเหลือปฏิบัติงาน ไม่รวมคำนวณค่าชดเชย
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดง แต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วัน จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายตามวันทำงานจริงเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ไม่รวมคำนวณค่าชดเชย
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วันจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงานไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ค่าน้ำมันรถที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะวันที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานแม้จะจ่ายโดยไม่ต้องมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนที่ได้รับไม่แน่นอนแล้วแต่มาทำงานกี่วันจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานไม่ใช่เพื่อตอบแทนการทำงานไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าน้ำมันรถเหมาจ่ายเป็นค่าจ้าง: การพิจารณาฐานคำนวณค่าชดเชยและเงินสะสม
จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นการเหมาให้โจทก์เป็นรายเดือนเดือนละเท่าๆ กัน โดยไม่คำนึงว่าในเดือนหนึ่งๆ โจทก์จะได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าน้ำมันรถหรือไม่ หรือได้ใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ค่าน้ำมันรถย่อมเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงถือว่าเป็นค่าจ้าง ส่วนการเบิกเงินค่าน้ำมันรถดังกล่าวซึ่งต้องมีใบเสร็จมาแสดงเป็นเพียงวิธีการเบิกจ่ายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอ, สิทธิโบนัส, และการจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน หาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า 'การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน ' แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัสด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด' แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง