คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าบำเหน็จนายหน้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จนายหน้า การขาดนัดยื่นคำให้การ และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพิพากษา
จำเลยที่3ขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยที่3จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่1และที่2ชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องแบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน280,000บาทแต่พิพากษาให้โจทก์แบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน288,000บาทเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดศาลอุทธรณ์พิพากษายืนศาลฎีกาชอบที่แก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้าเกิดเมื่อทำสัญญาซื้อขายสำเร็จ แม้ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3ที่ชี้ช่องจนจำเลยสามารถขายที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ได้เมื่อจำเลยกับโจทก์ที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าให้แก่โจทก์ที่ 2และที่ 3 แม้ต่อมาสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุใดจำเลยก็ต้องชำระค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้าเกิดขึ้นเมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ที่2และที่3ที่ชี้ช่องจนจำเลยสามารถขายที่ดินแก่โจทก์ที่1ได้เมื่อจำเลยกับโจทก์ที่1ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันจำเลยทั้งสองรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าให้แก่โจทก์ที่2และที่3แม้ต่อมาสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุใดจำเลยก็ต้องชำระค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: ตกลงโดยปริยาย แม้มีข้อตกลงพิเศษ ศาลกำหนดจำนวนตามสมควรได้
โจทก์ช่วยติดต่อขายที่ดินให้จำเลยสำเร็จ เป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดย พฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ ถือได้ว่าตกลงกันโดย ปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 846 วรรคแรก ส่วนข้อตกลงให้เงินส่วนที่เกินจากราคาที่ดินที่จำเลยกำหนดไว้ 2,000,000 บาทเป็นค่าบำเหน็จแก่โจทก์นั้นเป็นข้อตกลงพิเศษส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกัน แม้จำเลยจะขายที่ดินให้แก่ ฉ. ในราคา 2,000,000 บาทก็ตามโจทก์ก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จ และเมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้โดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้าต้องชัดเจน หากไม่ชัดเจนศาลใช้ตามธรรมเนียม
ค่าบำเหน็จนายหน้าที่คู่สัญญาตกลงกันเป็นพิเศษจะต้องกำหนด กันไว้โดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นจะต้องถือว่าตกลงกันเป็นจำนวนตามธรรมเนียมตามบทบัญญัติมาตรา 846 วรรคสอง แห่งป.พ.พ. เมื่อทางพิจารณาไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่ามีการตกลงกำหนด ค่าบำเหน็จนายหน้ากันไว้เท่าใดแน่นอน จึงต้องถือเอาอัตราตามธรรมเนียมซึ่งได้ความว่าจำนวนร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขายกันแท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สิทธิเมื่อชี้ช่องได้ผู้ซื้อ แม้เลิกสัญญา & ข้อตกลงพิเศษส่วนเกิน
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้ สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์สองจำนวน คือ ถ้าโจทก์ขายได้ราคาเกินกว่า 3,500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์จำนวนหนึ่ง กับบำเหน็จร้อยละ 5 ของราคา 3,500,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งโจทก์ได้ชี้ช่องให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับผู้ซื้อแล้ว ในราคา 5,000,000 บาท เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้จำเลยจะตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อในภายหลัง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ดิน 3,500,000 บาทจากจำเลย ส่วนเงิน 1,500,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้กับข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้คู่สัญญาตกลงกันว่าถ้าโจทก์ขายได้สูงกว่านั้นก็ให้โจทก์รับไป ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการ กรณีนี้คู่กรณีตกลงเลิกสัญญากันหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สิทธิเมื่อชี้ช่องซื้อขายสำเร็จ แม้เลิกสัญญา แต่เงินส่วนเกินพิเศษต้องมีเงื่อนไขชัดเจน
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้ สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์สองจำนวน คือ ถ้าโจทก์ขายได้ราคาเกินกว่า3,500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์จำนวนหนึ่งกับบำเหน็จร้อยละ 5 ของราคา 3,500,000 บาทอีกจำนวนหนึ่งโจทก์ได้ชี้ช่องให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับผู้ซื้อแล้วในราคา 5,000,000 บาท เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้จำเลยจะตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อในภายหลัง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ดิน 3,500,000 บาทจากจำเลย ส่วนเงิน 1,500,000 บาทอีกจำนวนหนึ่งนั้นเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้กับข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้คู่สัญญาตกลงกันว่าถ้าโจทก์ขายได้สูงกว่านั้นก็ให้โจทก์รับไป ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการ กรณีนี้คู่กรณีตกลงเลิกสัญญากันหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20654/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าบำเหน็จนายหน้าเกินกรอบคำฟ้อง ศาลต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำฟ้องของโจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดว่าเป็นการเรียกค่านายหน้า และบรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนขายห้องชุดของจำเลย ซึ่งสัญญาระบุว่า ถ้าโจทก์หาคนมาซื้อห้องชุดภายใน 5 เดือน นับแต่วันทำสัญญา จำเลยตกลงจะให้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ซื้อขาย ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าบำเหน็จนายหน้า โดยอาศัยเหตุตามข้อ 2 ของสัญญา ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ก็ต่อเมื่อสัญญาที่จำเลยขายห้องชุดแก่ ม. นั้น ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่า จำเลยขายห้องชุดให้แก่ ม. โดยมิได้เกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 2 ของสัญญาที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเอาข้อ 5 ของสัญญาซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยขายห้องชุดได้โดยมิได้เกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยตีความว่าเป็นการตกลงค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้ง ๆ ที่ข้อตกลงดังกล่าว มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องมา จึงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142