คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าฤชาธรรมเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6698/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มิใช่ค่าฤชาธรรมเนียม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม ที่กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสูศาลแรงงานได้ แต่นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งจึงจะฟ้องคดีได้นั้นเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มุ่งถึงสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จากนายจ้างโดยเร็วเมื่อลูกจ้างชนะคดีอันเป็นการป้องกันไม่ให้นายจ้างหน่วงเหนี่ยวชำระให้แก่ลูกจ้างชักช้า และตามมาตรา 125 วรรคสี่ ยังบัญญัติไว้สอดคล้องกันว่า เมื่อคดีถึงที่สุดลูกจ้างเป็นฝ่ายชนะคดี ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลแก่ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบังคับคดี ซึ่งเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องนำมาวางศาลเมื่อฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวเป็นเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับ จึงมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง มิใช่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27 กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแรงงานแต่อย่างใด ดังนี้ ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, ขาดนัดพิจารณา, การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว, ฟ้องแย้ง, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีค่าเช่าเดือนละ 24,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าค่าเช่ามีเพียงเดือนละ 2,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท และในส่วนฟ้องแย้งนั้นจำเลยมีคำขอบังคับให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 50,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบเมื่อไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบจำเลยจะอ้างว่าจำเลยชำระค่าธรรมเนียมตามที่เจ้าหน้าที่ศาลคิดคำนวณหาได้ไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงไม่มีเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอนาถา: ต้องยื่นภายใน 7 วันนับจากคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่นับจากกำหนดวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งยกคกร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ภายในวันที่ 19กรกฎาคม 2547 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 เกินกำหนดเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำเพื่อขอให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยยื่นคำร้องฉบับแรก ขอให้ศาลคำมีสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ศาลมีคำสั่งโดยไม่ได้ไต่สวนว่า ตามคำร้องยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ให้ยกคำร้อง แม้ศาลจะมิได้ล่าวถึงกรณีโจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร แต่คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่ง จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังว่า ศาลสมควรจะมีคำสั่งให้รับคำร้องของจำเลยฉบับแรกไว้พิจารณาไต่สวนแล้วมีคำสั่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น โดยอ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลเหมือนกับคำร้องฉบับแรก เพียงแต่เพิ่มเติมว่ามีคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องจำเลยและบัดนี้ศาลในคดีดังกล่าวเพิ่งมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำร้องของจำเลยไว้แล้ว ซึ่งแม้ส่วนที่อ้างเพิ่มเติมเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ก็ยังเป็นเพียงข้อที่อ้างเพื่อสนับสนุนว่าหากโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เสียไปอันควรที่จะสั่งให้โจทก์วางเงินเหมือนคำร้องฉบับแรก จึงมีข้ออ้างอันเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยชี้ชาดเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในคดีทรัพย์สินทางปัญญา แม้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
คำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอให้จำเลยวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นคำร้องเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 253 ที่จะให้ความคุ้มครองโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง โดยคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษาหากมีกรณีที่จำเลยจะต้องรับผิด ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 93 ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในคดีทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งให้กองทรัพย์สินวางเงินได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 ให้โจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยสำหรับฟ้องแย้งของจำเลย มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้
จำเลยถูกพิทักทรัพย์เด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษา เนื่องจากคดียังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดและสัญญาประกันภัย: การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและการแยกความรับผิดของจำเลย
แม้ว่าในการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) กำหนดให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้ต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย เมื่อผู้ตายมีส่วนประมาทในการทำละเมิด ย่อมเป็นเหตุให้ฝ่ายจำเลยต่อสู้คดีและฝ่ายจำเลยก็ได้ดำเนินคดีไปตามข้อต่อสู้และสิทธิของตน โดยไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินคดีไปโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงสมควรแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกแม้ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และการวางค่าฤชาธรรมเนียม
ตามกรมธรรม์ จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าทดแทนในนามของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ แต่ก็มีข้อสัญญาพิเศษว่า จำเลยร่วมจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัยหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์ต่อจำเลยที่ 2 เพราะเป็นกรณีซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 ต้องใช้เงินจำนวนที่จำเลยร่วมได้จ่ายไปคืนให้แก่จำเลยร่วม ซึ่งมีความหมายว่า กรณีที่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันเกิดจากการขับขี่ของบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในจำนวนเงินที่จำกัดความรับผิดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แล้วไปไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกินวงเงินประกันที่จำกัดความรับผิดไว้
เมื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันโดยจำเลยที่ 2 แยกยื่นอุทธรณ์อีกฉบับต่างหาก จึงต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาพร้อมกับอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี แต่มาตรา 59 ห้ามมิให้โจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้รับผิดในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด ซึ่งเป็นความรับผิดในมูลละเมิดโดยผลของกฎหมาย ส่วนจำเลยร่วมถูกจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นความรับผิดในมูลสัญญา ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และความรับผิดของจำเลยร่วมจึงแตกต่างกัน มูลความแห่งคดีมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความเต็มจำนวนที่ตนจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ด้วย
การวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 เป็นการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมในการใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และเพื่อเป็นประกันการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้ได้เพียงจำนวนตามคำพิพากษาเท่านั้น จะบังคับชำระเอาทั้งหมดตามที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมวางไม่ได้ เงินค่าธรรมเนียมส่วนที่วางเกินหรือเหลือจากการบังคับคดี จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมย่อมขอคืนตามส่วนที่ตนวาง และหากจำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ย่อมขอเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่วางไว้คืนได้ ซึ่งจำเลยร่วมได้ใช้สิทธิขอเงินที่วางไว้ดังกล่าวคืนไปแล้วด้วย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางให้ครบถ้วนโดยไม่ยอมให้หักเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ที่จำเลยร่วมวางไว้แล้วนั้น จึงไม่เป็นการให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์เกินกว่าที่จำเลยที่ 2 จะต้องใช้ให้แก่โจทก์หรือเป็นการวางเงินซ้ำซ้อน ไม่ขัดต่อมาตรา 229 และ 162 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเอกสารสัญญากู้เงินเพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีมูลหนี้ที่แท้จริง และอำนาจศาลในการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไปและต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้มิใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้เสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้
of 34