คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าสินจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย: การเลิกสัญญา, ค่าสินจ้าง, และเบี้ยปรับ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุดและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่าย สินจ้างตามที่ตกลงกันไว้ แม้สัญญาจ้างระบุว่า "ผู้ว่าจ้างจะไม่ถอนทนายหรือผู้แทนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หากมีการถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุด ผู้ว่าจ้างตกลงที่จะชำระค่าสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้างนี้" ก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนายเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างให้ผู้รับจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้น ข้อตกลงนี้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่ผู้ว่าจ้างได้ถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุดเช่นนี้ถือว่าผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จซึ่งผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานนั้น ๆ รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่ผู้รับจ้างด้วย ข้อตกลงที่ว่าหากมีการถอนทนายก่อนคดีถึงที่สุดผู้ว่าจ้างยอมใช้ค่าสินจ้างเต็มจำนวนเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าทำนองเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง: เหตุผลการเลิกจ้างต้องชัดเจนตามกฎหมาย และการคำนวณค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ตามหนังสือเลิกจ้างของจำเลย จำเลยได้ระบุเหตุเลิกจ้างไว้ว่าโจทก์จงใจกลั่นแกล้งผสมสีพ่นไม้ให้ผิดไปจากที่เคยปฏิบัติเป็นเหตุให้สีที่พ่นไม้แดงปาร์เก้ไม่แห้ง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นการเลิกจ้างโดยอ้างเหตุโจทก์ได้กระทำผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2)จำเลยหาได้ระบุเหตุเลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตามข้อ 47(5) ไม่ ต้องถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะเลิกจ้างโจทก์โดยสาเหตุเช่นว่านี้แล้ว แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลแรงงานกลางหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย ก็ไม่เป็นเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 3,050 บาท จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 16และวันที่ 1 ของเดือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 2 กันยายน2529 กรณีนี้การบอกเลิกการจ้างของจำเลยจะมีผลเป็นการเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็คือวันที่ 1 ตุลาคม 2529จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างในระหว่างวันที่ 2 กันยายน ถึงวันที่30 กันยายน 2529 รวมเป็นเวลา 29 วัน คิดเป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 2,948.14 บาทแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)