พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้จากค่าสินสอด แม้ไม่จดทะเบียนสมรส ก็มีผลผูกพัน
ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลย โดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้ว จำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินสอดคืนได้หรือไม่เมื่อไม่มีเจตนาสมรส: เงินที่ให้เพื่อขอขมามารดา ไม่ใช่สินสอด
ขายได้เสียเงินให้แก่มารดาของหญิงเพื่อขอขมามารดาของหญิง เนื่องจากชายได้พาหญิงหนีไปอยู่กันฉันสามีภริยา โดยไม่ได้สู่ขอตามประเพณี และชายกับหญิงนั้นก็อยู่กินกันต่อมาโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินสินสอดหรือของหมั้นและมิใช่เป็นการให้เพราะมารดาหญิงหลอกลวงดังฟ้อง โจทก์ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันทรัพย์เกินกว่าเหตุและการทำร้ายร่างกาย แม้ตกลงค่าสินสอดก่อนหน้า
ผู้เสียหายกับพวกมาเอาโคของจำเลย ซึ่งผู้เสียหายถือว่าจำเลยตกลงให้เป็นค่าสินสอดแก่ผู้เสียหาย จำเลยไม่ยอมให้ผู้เสียหายจึงเข้าไปจับโคในคอกของจำเลย ๆ จึงไ้ดใช้ดาบฟันผู้เสียหาย 3 ที จำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรจำเลยคนแรกเข้ามาใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหายอีก 1 ที ผู้เสียหายมีบาดเจ็บถึงสาหัสดังนี้ แม้ผุ้เสียหายจะไม่มีสิทธิจะมาเอาโคนั้นไปโดยพละการแต่มูลกรณีที่ว่า จำเลยตกลงให้โคเป็นค่าสินสอดก็มีอยู่จริงจำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหายถึง 3 ทีติด ๆ กัน แล้วจำเลยผู้เป็นบุตรยังมาช่วยฟันอีก 1 ที จนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงสาหัส การกระทำของจำเลยนับว่าเป็นการรุนแรงและเกินควรแก่เหตุในการป้องกันทรัพย์มีผิดตามมาตรา 256 , 53 ก.ม.ลักษณะอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จดทะเบียนสมรส: เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่ดำเนินการ โจทก์เรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้
โจทก์ได้ทำพิธีแต่งงานกับบุตรีจำเลย แล้วโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส โจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้.
(อ้างฎีกา 269/2488)
(อ้างฎีกา 269/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จดทะเบียนสมรส: หากทั้งสองฝ่ายไม่ดำเนินการ โจทก์จะเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้
โจทก์ได้ทำพิธีแต่งงานกับบุตรีจำเลย แล้วโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส โจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้ (อ้างฎีกา 269/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2833/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีหนี้สินค่าสินสอด: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อลูกหนี้และการแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท
หนังสือแจ้งความจำนงชำระเงินที่ยืมมีข้อความว่า ธ. ได้ยืมเงินจากผู้ตาย จำนวน 1,000,000 บาท โดยผู้ตายให้ ธ. ผ่อนชำระเดือนละ 4,000 บาท จนเดือนสิงหาคม 2561 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ผ่อนชำระไปแล้ว 48,000 บาท คงเหลือ 952,000 บาท และจะขอผ่อนชำระกับโจทก์ทั้งสอง (ภริยาผู้ตาย) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบ และ ธ. ได้เบิกความยอมรับว่าเป็นผู้ทำเอกสารดังกล่าวด้วยตนเองโดยทำขึ้นหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เหตุที่ทำเอกสารดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ทั้งสองทวงถามเงินจาก ธ. เมื่อ ธ. มีความรับผิดที่จะต้องชำระหนี้แก่ผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นจะเรียกให้ชำระแก่กองมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกจึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเท่านั้น สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่อาจแบ่งแยกแก่โจทก์ทั้งสองได้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ธ. ได้ชำระเงินคืนแก่กองมรดกเพียงใด จึงยังไม่มีตัวเงินที่จะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องให้ ธ. ชำระหนี้แก่กองมรดกเพื่อรวบรวมและแบ่งปันให้แก่โจทก์ทั้งสองต่อไป