คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าหุ้นค้างชำระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นและการรับผิดชอบค่าหุ้นค้างชำระ กรณีผู้รับโอนเป็นกรรมการบริษัท
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสามนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยกฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น
ขณะโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย แม้ ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีก การที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง นอกจากนี้ยังเป็นที่เห็นได้ว่า การที่บริษัทจำเลยมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแต่กลับละเลยเพิกเฉยไม่จดแจ้งการโอนแล้วจะกลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้โอนรับผิดเช่นนี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 อีกด้วย บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1133 เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนนั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติใน (1) และ (2) ที่ให้รับผิดเฉพาะในหนี้ของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนโอน และให้รับผิดต่อเมื่อผู้ที่ยังถือหุ้นอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหนี้ของบริษัทกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะ ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่บริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ อันผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อเรียกค่าหุ้นค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้ หากลูกหนี้ไม่ดำเนินการ
บริษัทจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ และกรรมการของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เรียกร้องผู้ถือหุ้นให้ชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียประโยชน์ โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ส่งชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การเพียงว่ากรรมการของจำเลยที่ 1เท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างโดยกรรมการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1120 และมาตรา 1121 บุคคลอื่นแม้จะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3หาได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในมาตราดังกล่าว โจทก์จึงยังหามีสิทธิเรียกร้องไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.ไม่มี สิทธิครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าหุ้นค้างชำระไม่ผูกติดกรอบเวลา 10 ปี แต่เกิดขึ้นเมื่อมีคำบอกกล่าวเรียกชำระจากกรรมการ
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใด ก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าจะต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนตั้งกรรมการบริษัทไม่แม้เมื่อเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เงินลงหุ้นอันเป็นส่วนที่ยังค้างชำระอยู่นั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1265 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของบริษัทจำเลยในการเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก จึงเกิดขึ้นในแต่ละคราวที่กรรมการส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นนั้น และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 119เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกค่าหุ้นค้างชำระ: ต้องเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมาย การโอนหุ้นต้องทำตามฟอร์ม
สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้นั้น เป็นการให้เรียกร้องมาเป็นสินทรัพย์ของบริษัทผู้ล้มละลาย เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งตามส่วน ดังนั้น จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดชำระต่อบริษัท ส่วนผู้ที่จะต้องรับผิดเพราะการแสดงออกให้เจ้าหนี้ บางคนหลงเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ถือหุ้นประการใดนั้น เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ผู้หลงเข้าใจผิดแต่ละรายไปหาใช่สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นและการรับผิดในค่าหุ้นค้างชำระ: ผู้โอนหุ้นหมดความรับผิดเมื่อบริษัทรับผู้รับโอนเป็นผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดได้โอนขายหุ้นทั้งหมดให้ผู้อื่นไปแล้วและบริษัทก็ได้แก้ทะเบียนให้ผู้รับโอนเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว ถึงแม้เงินค่าหุ้นนั้นจะยังส่งใช้ไม่ครบก็ดี โจทก์ผู้ชนะคดีบริษัทจำเลยจะขออายัดสิทธิเรียกร้องบังคับให้ผู้โอนขายหุ้นนั้นชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ ไม่ได้ เพราะบริษัทจำเลยหมดสิทธิจะเรียกร้องจากผู้โอนหุ้นไปแล้ว ผู้รับโอนย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อบริษัท
ในคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยต่อบุคคลภายนอกให้ชำระเงินในปัญหาที่ว่าอายัดได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8851/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเรียกเก็บค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทร้าง จำเป็นต้องดำเนินการให้มีการจดชื่อบริษัทกลับเข้าสู่ทะเบียนก่อน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนี้ด้วย เพราะการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย จึงต้องการให้ลูกหนี้ซึ่งทราบรายละเอียดหนี้สินระหว่างตนกับลูกหนี้ของลูกหนี้ยิ่งกว่าเจ้าหนี้ที่มาใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เข้ามาในคดีเพื่อให้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า บริษัท ค. ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นผลให้บริษัทดังกล่าวสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 1273/3 แต่กฎหมายบัญญัติทางแก้ไขไว้ในมาตรา 1273/4 ว่า หากเจ้าหนี้ของบริษัทรู้สึกว่าต้องเสียหายโดยไม่เป็นธรรมเพราะการที่บริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เจ้าหนี้สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้จดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียน และให้ถือว่าบริษัทนั้นยังคงอยู่ตลอดมาเสมือนมิได้มีการขีดชื่อออกเลย เมื่อบริษัท ค. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนทำให้สิ้นสภาพนิติบุคคลเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินการให้มีการขอหมายเรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาในคดีอันมีผลกระทบต่อการฟ้องคดีของโจทก์ ย่อมเข้าสู่หลักเกณฑ์ที่โจทก์จะใช้สิทธิดังกล่าว แต่โจทก์กลับมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดชื่อบริษัทดังกล่าวกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนทั้งที่ยังสามารถดำเนินการได้ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้บริษัท ค. ลูกหนี้เข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 234 จำเลยทั้งเจ็ดจึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมหรือมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องส่งเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง