พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนเมื่อใช้คำว่า 'หรือ' ในสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ.และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาทโดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรี หรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นบุตร และสิทธิการเบิกจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะ และขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ตั้งครรภ์ภายหลังได้เสียกับโจทก์และจำเลยที่ 2 เกิดแต่จำเลยที่ 1 ขณะเป็นภริยาโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงเป็นบุตรโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เฉพาะประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์อีก แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานใหม่คือ ระบบการตรวจเลือด ดี.เอน.เอ.เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์หรือไม่เป็นเพียงการกล่าวอ้างพยานหลักฐานใหม่เพื่อนำสืบในประเด็นซึ่งคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าว ก็หาอาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในคดีนี้จึงชอบแล้ว
การที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนต่อสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ว่า โจทก์ไม่เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยจำเลยที่ 1 ได้ขอให้ทางสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิสามีเป็นผู้เบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตร แต่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ สมาคมฯจึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ร้องต่อศาลขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวเพื่อใช้สิทธิเบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตรจากทางราชการ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรม-ราชินูปถัมภ์ดังกล่าว เป็นการร้องขอความช่วยเหลือตามสิทธิแห่งกฎหมาย เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นสามีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด การกระทำของจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการประพฤติชั่วอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้
การที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนต่อสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ว่า โจทก์ไม่เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยจำเลยที่ 1 ได้ขอให้ทางสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิสามีเป็นผู้เบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตร แต่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ สมาคมฯจึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ร้องต่อศาลขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวเพื่อใช้สิทธิเบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตรจากทางราชการ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรม-ราชินูปถัมภ์ดังกล่าว เป็นการร้องขอความช่วยเหลือตามสิทธิแห่งกฎหมาย เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นสามีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด การกระทำของจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการประพฤติชั่วอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
โจทก์จำเลยได้แยกกันอยู่โดยมิได้อยู่กินฉันสามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ.2531 ระหว่างที่โจทก์แยกไปนั้นจำเลยเองก็ทราบดีว่าโจทก์ไปพักอยู่ที่ใดแต่จำเลยก็มิได้ขวนขวายที่จะไปอยู่กินฉันสามีภรรยา โดยต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง 6 ปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่ 5 เมษายน 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 14 มกราคม 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่ 5 เมษายน 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 14 มกราคม 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกิน 3 ปี และประเด็นการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
โจทก์จำเลยได้แยกกันอยู่โดยมิได้อยู่กินฉันสามีภรรยาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ระหว่างที่โจทก์แยกไปนั้นจำเลยเองก็ทราบดีกว่าโจทก์ไปพักอยู่ที่ใดแต่จำเลยก็มิได้ขวยขวายที่จะไปอยู่กันฉันสามีภรรยา โดยต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง 6 ปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่5 เมษายน 2537 จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 14 มกราคม 2537จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากแยกกันอยู่โดยสมัครใจเกิน 3 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
โจทก์จำเลยได้แยกกันอยู่โดยมิได้อยู่กินฉันสามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ.2531ระหว่างที่โจทก์แยกไปนั้นจำเลยเองก็ทราบดีกว่าโจทก์ไปพักอยู่ที่ใดแต่จำเลยก็มิได้ขวยขวายที่จะไปอยู่กันฉันสามีภรรยาโดยต่างคนต่างอยู่นับถึงวันฟ้องเป็นเวลานานถึง6ปีตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ5,000บาทนับแต่วันฟ้องแย้งคือวันที่5เมษายน2537จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่จำเลยเดือนละ5,000บาทนับแต่วันฟ้องคือวันที่14มกราคม 2537จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานเมื่อบุตรเสียชีวิต: ความแตกต่างระหว่างค่าขาดแรงงานในครัวเรือนและค่าอุปการะ
ค่าขาดแรงงานนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา445ประกอบมาตรา1567(1),(3)หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตายผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871-4874/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะ: ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหากจำนวนเงินไม่เกิน 2 แสนบาทต่อคน และยืนยันหลักการจ่ายค่าอุปการะทั้งปัจจุบันและอนาคต
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้นจะต้องแยกชำระให้แก่โจทก์แต่ละคนตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดปรากฎว่าโจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และที่8ได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตเป็นจำนวนคนละไม่เกินสองแสนบาทคดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ถึงที่3ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์ที่2ถึงที่5ที่7และค่าที่ต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตให้โจทก์ที่8มากเกินสมควรเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะเพราะเหตุบิดามารดาบุตรหรือสามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยการทำละเมิดของบุคคลภายนอกฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ชอบที่จะได้รับค่าอุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามประกอบด้วยมาตรา1461,1563และ1564ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ผู้ขาดไร้อุปการะจะมีฐานะดีหรือยากจนก็ไม่ใช่ข้อสำคัญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสำหรับการขาดไร้อุปการะคงมีอยู่เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลการตรวจกรุ๊ปยีนพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดมีผลบังคับใช้ได้ทันที และเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ขอให้แพทย์ตรวจกรุ๊ปยีนของโจทก์ที่ 1ที่ 2 และจำเลย หากผลการตรวจพิสูจน์กรุ๊ปยีนความเป็นบิดามารดาและบุตรเป็นยีนเดียวกันจำเลยยอมแพ้คดี หากผลการตรวจยีนเป็นคนละกรุ๊ปกันโจทก์ยอมแพ้คดีการตรวจเลือดพิสูจน์สายสัมพันธ์กระทำได้หลายวิธีแต่ในคำท้าไม่ได้ระบุว่าจะต้องตรวจโดยวิธีใด เมื่อทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการตรวจและแจ้งผลให้ทราบถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจกรุ๊ปยีนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยแล้วมีความเห็นตรงตามคำท้าของคู่ความ จึงเป็นการปฏิบัติโดยถูกต้องตามคำท้ายแล้ว
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ยกปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงไม่ต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ยกปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงไม่ต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2536 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
จำเลยให้ ว.ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปรับปลาที่จังหวัดภูเก็ตมาส่งที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่ปลาที่จังหวัดภูเก็ตไม่มีว.จึงรอรับปลาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต วันเกิดเหตุ ว.ขับรถยนต์บรรทุกพาคนงานของจำเลยไปเที่ยวที่หาดป่าตอง ดังนี้ จำเลยมีตัวแทนอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อ ว.ขับรถยนต์บรรทุกไปถึงจังหวัดภูเก็ตไม่มีปลา จำเลยก็น่าจะมีระเบียบให้คนขับรถยนต์บรรทุกมอบรถยนต์บรรทุกไว้ในความรับผิดชอบของตัวแทน แต่จำเลยไม่ได้สั่งหรือดำเนินการดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยยินยอมมอบให้ ว.ควบคุมดูแลรถยนต์บรรทุกตลอดระยะเวลาที่ ว.อยู่ในจังหวัดภูเก็ต ว.สามารถนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปใช้ได้ตลอดเวลา การที่ ว.ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุพาคนงานของจำเลยไปเที่ยว ย่อมถือได้ว่านาย ว.กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย
การที่ ว.กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์ผู้เป็นบิดาจึงขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดู ย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูอันเป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าบิดามารดาจะมีฐานะมั่งมีหรือยากจนและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ และโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาหรือไม่
การที่ ว.กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์ผู้เป็นบิดาจึงขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดู ย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูอันเป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าบิดามารดาจะมีฐานะมั่งมีหรือยากจนและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ และโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยที่บ้านที่ครอบครัวโจทก์เช่าอยู่จนโจทก์ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือนก็เลิกร้างกันไป ต่อมาเมื่อโจทก์คลอดบุตรเป็นเด็กหญิงธ.จำเลยได้ให้เพื่อนของจำเลยนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยไปแจ้งการเกิดพร้อมกับโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ไปแจ้งการเกิดของเด็กหญิงธ. จึงอยู่ในความรู้เห็นยินยอมของจำเลย และโจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์ได้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรับเด็กหญิงธ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1557(3) คือต้องเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป การให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 นั้นการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วได้โดยไม่จำต้องอาศัยการแสดงเจตนาของจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธ.เป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอีก.