พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้างเหมา: ค่าเค, การปรับราคา, และผลของการแก้ไขสัญญาหลังส่งมอบงาน
ตามสัญญาจ้างเหมา กำหนดให้ปรับราคาค่างานตามราคาวัสดุที่ขึ้นลงเกินกว่าร้อยละ 5 ขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าค่า 'เค' ได้ และเงื่อนไขในสัญญาที่ว่า คู่กรณีตกลงกันให้นำเอาสูตรการคำนวณค่าเคมาใช้ในการคิดคำนวณค่างานที่จะจ่ายจริงให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ผู้รับจ้าง ย่อมต้องถือว่าคู่สัญญาต่างมีเจตนาที่จะใช้สูตรคำนวณค่าเคนี้ ต่องานจ้างเหมาทั้งหมดในทุกรายการแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุการแยกส่วนของเนื้องานออกเป็นแต่ละประเภทไว้ก็ตาม ก็หาเป็นเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ชำระราคาค่างานเพิ่มให้แก่โจทก์ไม่
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
เดิมโจทก์จำเลยตกลงกันให้การจ้างเหมางานพิพาทเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2522 และโจทก์ก็ได้ส่งมอบงานครบถ้วนตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา ต่อมาภายหลังที่กำหนดเวลาในสัญญาฉบับแรกสิ้นสุดลงทั้งการส่งมอบงานก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ได้มีการแก้ไขสัญญาย่นระยะเวลาให้สั้นเข้ามาจากสัญญาเดิมอีก 1 เดือน ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานครบถ้วนตามสัญญาจ้างเหมาจนเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่มาแก้ไขสัญญากันในภายหลังแล้วถือเอาเงื่อนไขจากระยะเวลาที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุว่าโจทก์ผิดสัญญานั้นย่อมไม่มีผลบังคับ เพราะขณะส่งมอบงานโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างแบบปรับราคาได้ และสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยค่างาน (ค่าเค) ที่เกิดจากการปรับราคา
โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้างตามสัญญารับจ้างก่อสร้างซึ่งเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยระบุว่ามีการโอนสิทธิการรับเงินตามจำนวนที่ผู้โอนสิทธิจะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 28,000,000 บาท ซึ่งเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ ซึ่งหมายความว่าสัญญาดังกล่าวอาจมีการพิจารณาเงินเพิ่มหรือลดราคาค่างานจากราคาที่ผู้รับจ้างทำสัญญาตกลงกับผู้ว่าจ้างได้ เงินที่ได้เพิ่มหรือลดลงจากราคาค่างานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของสัญญาจ้างที่กำหนดให้ถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ แม้โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จะไม่ได้กำหนดสิทธิเรียกร้องในเงินส่วนนี้ไว้อย่างชัดเจนในบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิฯ ก็ต้องถือว่าสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) ดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งถือเป็นเงินเพิ่มที่โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ประสงค์จะโอนให้แก่กันด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอายัดเงินซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี การอายัดเงินจากผู้คัดค้านในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษา เงินค่าจ้างล่วงหน้าและเงินค่าเค
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากผู้คัดค้านร้อยละ 15 ของค่าจ้างตามสัญญาโดยรับไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งการอายัดไปยังผู้คัดค้าน เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนให้แก่ผู้คัดค้านเฉพาะกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสถานะเป็นลูกหนี้ของผู้คัดค้านและไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่ผู้คัดค้าน เงินค่าจ้างล่วงหน้าที่จำเลยที่ 1 รับไปจึงไม่อยู่ที่ผู้คัดค้านอันอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ขออายัดได้ โจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านในส่วนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคารระบุว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคู่สัญญาว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันตามสัญญานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถเรียกร้องเอาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้คัดค้านได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาผู้คัดค้านจึงไม่ถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนี้เป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นอันจะทำให้หนี้ที่ผู้โอนมีอยู่กับผู้รับโอนระงับลงบางส่วนหรือทั้งหมด และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ได้รับเงินจากผู้คัดค้านหรือได้รับไม่พอชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ผู้โอนยังคงผูกพันที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนจนครบถ้วน ข้อความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันนั้นรวมถึงเงินค่าเคด้วย ทางปฏิบัติที่ผู้คัดค้านจ่ายเงินค่าเคให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมีผลเป็นเพียงการสละสิทธิเรียกร้องของธนาคารที่มีต่อจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะอายัดเงินค่าเคที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่ธนาคารไปแล้วไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านสำหรับเงินค่าเคเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคารระบุว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคู่สัญญาว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันตามสัญญานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถเรียกร้องเอาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้คัดค้านได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาผู้คัดค้านจึงไม่ถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนี้เป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นอันจะทำให้หนี้ที่ผู้โอนมีอยู่กับผู้รับโอนระงับลงบางส่วนหรือทั้งหมด และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ได้รับเงินจากผู้คัดค้านหรือได้รับไม่พอชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ผู้โอนยังคงผูกพันที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนจนครบถ้วน ข้อความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันนั้นรวมถึงเงินค่าเคด้วย ทางปฏิบัติที่ผู้คัดค้านจ่ายเงินค่าเคให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมีผลเป็นเพียงการสละสิทธิเรียกร้องของธนาคารที่มีต่อจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะอายัดเงินค่าเคที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่ธนาคารไปแล้วไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านสำหรับเงินค่าเคเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง