พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7817/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้อง: ค่าทนายและค่าเดินทาง, ประเด็นข้อพิพาทที่จำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีต่อศาลโดยจะชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขประการที่ 2 คือสร้างตึกฟรี แต่ไม่ให้ค่าเสียหายให้ร้อยละ 10 ตามสำเนาเงื่อนไขเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำนวนร้อยละดังกล่าวเป็นการคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันซึ่งเมื่อคำนวณจากทุนทรัพย์แล้วเป็นเงินจำนวน 800,000 บาท จำเลยชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียง 150,000 บาท ยังค้างชำระจำนวน 650,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจำนวน 650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์คิดคำนวณค่าจ้างว่าความมาถูกต้องหรือไม่ อย่างไร เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และจำเลยเองก็เข้าใจข้อหาโจทก์ดี สามารถต่อสู้คดีโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือนคิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลแต่ละนัดเป็นเวลา 4 ปีครึ่ง นัดละ 2,500 บาท รวม 54 เดือนคิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายรวม 135,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเฉพาะที่เรียกค่าจ้างว่าความ มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล คดีจึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาลเคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เคลือบคลุม เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเบิกค่าเดินทาง: งานขององค์การโทรศัพท์ฯ เท่านั้น
ข้อบังคับว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 ของจำเลย เป็นข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 31 (2) แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวได้ให้คณะ-กรรมการมีอำนาจวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานต่าง ๆ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยได้ ดังนั้น ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 จึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับการงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกและตามข้อ 9 แห่งข้อบังคับดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า "บุคคลภายนอกที่องค์การโทรศัพท์มีความจำเป็นขอให้ไปปฏิบัติงาน ต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อน การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามข้อบังคับนี้" คำว่า "ปฏิบัติงาน" ตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ก็เหมือนกับคำว่า "ปฏิบัติงาน" ที่บัญญัติไว้ในแห่งอื่น ๆ ตลอดข้อบังคับ กล่าวคือ มิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งว่าเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหรืองานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอก แต่การที่จำเลยจะขอให้บุคคลภายนอกไปปฏิบัติงานตามข้อนี้ ย่อมหมายถึงงานของจำเลยเท่านั้น เพราะถ้าเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกย่อมอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะมีคำสั่งให้พนักงานไปปฏิบัติโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยได้ ฉะนั้นการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535 จึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้น หากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้ได้ การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการจำเลยจึงอนุมัติให้ยืมตัวไป การอนุมัติให้ยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลย อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศ พ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเบิกค่าเดินทางของลูกจ้างเมื่อถูกยืมตัวไปปฏิบัติงานให้หน่วยงานภายนอก ต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้น
ข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535ของจำเลยเป็นข้อบังคับที่คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา31(2)แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2497ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวได้ให้คณะกรรมการมีอำนาจวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานต่างๆขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยได้ดังนั้นข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535จึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานของจำเลยโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับการงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกและตามข้อ9แห่งข้อบังคับดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า"บุคคลภายนอกที่องค์การโทรศัพท์มีความจำเป็นขอให้ไปปฏิบัติงานต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการก่อนการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามข้อบังคับนี้"คำว่า"ปฏิบัติงาน"ตามที่บัญญัติไว้ในข้อนี้ก็เหมือนกับคำว่า"ปฏิบัติงาน"ที่บัญญัติไว้ในแห่งอื่นๆตลอดข้อบังคับกล่าวคือมิได้กล่าวไว้ให้ชัดแจ้งว่าเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยหรืองานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกแต่การที่จำเลยจะขอให้บุคคลภายนอกไปปฏิบัติงานตามข้อนี้ย่อมหมายถึงงานของจำเลยเท่านั้นเพราะถ้าเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะมีคำสั่งให้พนักงานไปปฏิบัติโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยได้ฉะนั้นการที่ผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้พนักงานคนใดไปปฏิบัติงานโดยมีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535จึงต้องเป็นการปฏิบัติงานของจำเลยเท่านั้นหากเป็นงานของหน่วยงานอื่นหรือของบุคคลภายนอกพนักงานผู้นั้นย่อมไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยตามข้อบังคับฉบับนี้ได้การที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ขอยืมตัวโจทก์ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการจำเลยจึงอนุมัติให้ยืมตัวไปการอนุมัติให้ยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่ราชการให้แก่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจำเลยอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและค่าเช่าที่พักจากจำเลยได้ตามข้อบังคับว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานภายในประเทศพ.ศ.2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้าง, ฟ้องเคลือบคลุม, ค่าเดินทางกลับ: ประเด็นความชอบธรรมและการเรียกร้องสิทธิในคดีแรงงาน
จำเลยจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน การที่จำเลยแจ้งโจทก์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2534 ให้โจทก์ออกจากงานในวันที่30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างประจำเดือนตุลาคม 2534 เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดการจ่ายสินจ้างครั้งถัดไปคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534เป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าที่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยให้โจทก์มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 3 สัปดาห์ และขอให้จำเลยรับผิดชอบเงินเดือนในส่วนที่ชดเชยการไม่ได้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 16,650 บาท โดยมิได้บรรยายเลยว่าโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีในปีใดบ้าง ปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31,35เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จึงไม่ชอบ จำเลยจ้างโจทก์มาจากประเทศอิตาลีโดยออกค่าเดินทางจากประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถึงโจทก์โดยเสนอจะให้เงินค่าตั๋วเครื่องบินกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรป โจทก์ไม่ตกลงตามเงื่อนไขในข้อเสนอดังกล่าว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตั๋วเดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรปจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องค่าเดินทางกลับถิ่นที่จำเลยจ้างโจทก์มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 586
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการครู: การช่วยราชการชั่วคราวและข้อยกเว้นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่งนับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13 (4) แห่ง พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆทำนองเดียวกัน และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่ง พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.ฎ.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เป็นเวลา120 วัน เท่านั้น สำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครูที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้ การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเดินทางข้าราชการ: การสั่งย้ายไปช่วยราชการชั่วคราว vs. การย้ายประจำ และผลของการสละสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งรับราชการเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการภายในที่โรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง นับเป็นการเดินทางไปช่วยราชการชั่วคราวตามมาตรา 13(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2526 โจทก์ย่อมมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พักค่าพาหนะอันรวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้าง คนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการตามมาตรา 14(1)(2)(3) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน กรณีเบี้ยเลี้ยงเดินทางนั้นปรากฏว่ามาตรา 18 แห่งพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวซึ่งแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มาตรา 3บัญญัติให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด สำหรับส่วนราชการใด ที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและประหยัด เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดกระทรวงเจ้าสังกัดของกรมจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์เบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกินระยะเวลาข้างต้น โจทก์จึงมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้เพียงวันละ 50 บาท ตามบัญชี 1 อัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 3 ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเวลา 120 วัน เท่านั้นสำหรับค่าพาหนะโจทก์เบิกได้ตลอดระยะเวลาที่ไปช่วยราชการ ส่วนการที่โจทก์ระบุไว้ในคำร้องขอย้ายข้าราชการครู ที่ได้ยื่นไว้แก่จำเลยที่ 1สละสิทธิไม่ขอเบิกค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าพาหนะเดินทางนั้นเป็นการที่โจทก์สละสิทธิดังกล่าวเฉพาะกรณีที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปยังโรงเรียนที่โจทก์ประสงค์เท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ย้ายโจทก์ไปรับราชการประจำยังโรงเรียนอื่นอันมิใช่สถานที่ที่โจทก์ขอไว้การแจ้งสละสิทธิของโจทก์ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางกับค่าพาหนะเดินทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารถเป็นค่าเดินทาง ไม่ใช่ค่าจ้าง: ไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยได้
เงินค่ารถที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะวันมาทำงานเท่านั้นเป็นเงินที่จ่ายทดแทนในการเดินทางที่ลูกจ้างได้จ่ายมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่เป็นค่าจ้างจะนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเดินทางมารับหน้าที่ถือเป็นค่าจ้าง เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมาย
เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในค่าเดินทางมารับหน้าที่+ต้องถือว่าเป็นประโยชน์+ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าแรงงานตาม ม.7(ก) ไม่ใช่เป็นเบี้ยทดแทนรายจ่ายพิเศษหรือประโยชน์เพิ่มอันจ่ายโดยสุจริตเป็นโสหุ้ยอันระบุฉะเพาะซึ่งลูกจ้างต้องจ่าย+การปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ม.8 วรรค 2 และเงินจำนวนที่กล่าวนี้จะต้องเสียภาษีเงินได้+คดีอังกฤษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเดินทางไปพักร้อนต่างประเทศถือเป็นประโยชน์เพิ่มจากค่าจ้าง ต้องเสียภาษี
เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าเดินทางไปเยี่ยมบ้านยังต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นประโยชน์เพิ่มซึ่งนายจ้าง+ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าแรงงานตาม ม.7 (ก) เงินจำนวนนี้ต้องเสียภาษีเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจ้างงาน: สิทธิในการได้รับค่าเดินทางและเงินเดือนหยุดพักผ่อนตามสัญญา
การแปลสัญญาเปนปัญหากฎหมาย