คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,822 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าครบกำหนด-ละเมิด: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย & การลดเบี้ยปรับ
สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8696/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการครอบครองทรัพย์สินหลังเลิกสัญญาเช่า: กำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องขอเรียกค่าเสียหายที่จำเลยยังคงครอบครองรถแท็กซี่ของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้จะเรียกวันละ 400 บาท ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับค่าเช่า แต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์มิใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระ กรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8392/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีแพ่งอาญา – ดอกเบี้ยจากการลักทรัพย์ – การฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยในคดีอาญานั้น จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกแทนผู้เสียหายได้แล้วแต่ไม่เรียก ฟ้องของโจทก์คดีแพ่งในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายรับรถเช่าซื้อ: ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจทำสัญญา หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด มีหน้าที่ส่งมอบรถและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์และลงลายมือชื่อรับมอบรถยนต์ไว้ในสัญญาเช่าซื้อล่วงหน้าโดยยังไม่ได้รับรถยนต์ไป การที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่เช่าซื้อจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการมอบให้เป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี, สัญญาเช่า, ค่าเสียหาย, การบังคับคดี, หลักฐานทางสัญญา
ทนายจำเลยคนเดิมยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้วอ้างว่าป่วย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดี ก่อนถึงวันนัดสืบพยานจำเลย 4 วัน ทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลย ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยคนใหม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี จำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีและซักค้านพยานโจทก์ ขอเลื่อนการพิจารณาออกไปสักนัดหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ถ้าหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนคดีได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่า ตราสารใดที่ปิดอากรแสตมป์ครบจำนวนและได้ขีดฆ่าแล้ว จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้บังคับถึงเวลาที่ปิดและขีดฆ่า เมื่อต้นฉบับสัญญาเช่าอาคารที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ปิดอากรแสตมป์ครบจำนวนและขีดฆ่าแล้วจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ให้เช่าตามสัญญาและจำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่ทำกับโจทก์ไว้ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาที่ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าจึงไม่เป็นสาระแก่คดี และตามสัญญาเช่าอาคารกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 17,000 บาท เมื่อครบกำหนดการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนสัญญาข้ออื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และโดยเหตุที่การเช่าอสังหาริมทรัพย์นี้ ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่า ซึ่งเป็นอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาเช่าอาคาร โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ 20,000 บาท จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระเดือนละ 17,000 บาท ตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในงานปฏิทิน: การกำหนดค่าเสียหายและขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้าง
ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีต้องพิเคราะห์จากคำฟ้องและคำให้การ มิใช่จากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้จำเลยทั้งสองจะได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ว่าลูกจ้างโจทก์เป็นผู้ทำหนังสือชื่อผลไม้พิพาทจนเป็นเหตุให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุผลว่าลูกจ้างโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งาน ลูกจ้างโจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างสร้างสรรค์งาน ลิขสิทธิ์จึงเป็นของลูกจ้าง โดยจำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยสถานภาพของโจทก์ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มได้ โจทก์จึงไม่อาจสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ได้ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นนิติบุคคลไม่สามารถสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ด้วยตนเองได้หรือไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะลูกจ้างโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งาน ลูกจ้างโจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท และมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์เป็นนิติบุคคล แต่โจทก์ก็มีผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลและมาตรา 67 บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ประกอบกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจึงเป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1 ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ความสามารถในฐานะสำนักพิมพ์สร้างสรรค์งานด้วยการทุ่มเทความรู้ วิจารณญาณ ฝีมือ แรงงาน โดยขั้นตอนถ่ายรูปผลไม้ต้องคัดสรรผลไม้ที่มีผลสมบูรณ์จากจังหวัดระยองและจันทบุรีมาทำความสะอาด จัดวางตำแหน่งผลไม้จากนั้นมีทีมงานช่างถ่ายภาพรูปลงในฟิล์มใหญ่แล้วนำภาพไปสแกนโดยระบบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วมีข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับผลไม้ประกอบรูปผลไม้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการจัดทำหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 แล้วภาพถ่ายรูปผลไม้จึงเป็นงานศิลปกรรมประเภทงานภาพถ่าย ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้เป็นงานวรรณกรรมประเภทสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาหรือออกแบบรูปผลไม้โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสั่งการให้จำเลยที่ 2 ทำซ้ำหรือดัดแปลงรูปภาพผลไม้จากหนังสือของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมิได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
ภาพผลไม้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2545 ของปฏิทินที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงมาจากหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 จึงละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพถ่ายของโจทก์ ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้อันเป็นงานวรรณกรรมของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในปฏิทินกับในหนังสือแล้วแตกต่างกัน จำเลยที่ 2 จึงมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
โจทก์จัดทำหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1 แล้วยังพิมพ์งานปฏิทินชุดผลไม้ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ การที่จำเลยที่ 2 นำไปดัดแปลงย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ การที่จำเลยที่ 2 แจกจ่ายให้ลูกค้าแม้จะมิได้ขายก็ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์และมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัวกับไม่เข้าข้อยกเว้นกรณีอื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคสอง ทั้งยังขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามมาตรา 27 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนด้านสภาพแห่งข้อหาและค่าเสียหาย ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายอันเนื่องมาจากจำเลยผิดสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์เพียงว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยมิได้บอกว่าเสียหายอย่างไรบ้าง จำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงเท่าใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเสียหายหลังเกิดเหตุ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่จำเลยนำเงินไปวางที่สำนักงานบังคับคดี และที่ศาลชั้นต้นเพื่อใช้ราคาทรัพย์คืนแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมเป็นแต่เพียงการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ไม่มีผลเป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การคืนสภาพสู่ฐานะเดิม และการเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์สิน
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ทั้งปรากฏตามหลักฐานใบรับรถซึ่งจำเลยเป็นฝ่ายอ้างส่งว่า โจทก์ได้รับรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ดังนั้น จึงต้องฟังว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 ดังนั้น คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายจากจำเลยได้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพรถที่เช่าซื้อซึ่งเป็นรถใหม่ และการนำรถไปใช้บรรทุกดินเพื่อรับจ้างของจำเลยแล้ว เห็นควรกำหนดค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหายแก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ในแต่ละเดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: พิจารณาจากลักษณะข้อตกลงและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อในลักษณะเป็นค่าขาดราคารถยนต์หาใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วมาหักจากค่าเช่าซื้อทั้งหมดตามสัญญา และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน การฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
of 283