คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าแห่งการงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9062/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้าง, ค่าแห่งการงาน, การชดใช้ค่าเสียหาย, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนกันในการสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการสร้างอาคาร ต่อมาสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกโดยปริยาย คู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินแก่โจทก์ ส่วนเงินค่าก่อสร้างบ้านที่โจทก์เป็นผู้ชำระมิใช่ค่าการงานที่จำเลยที่ 1 ได้ทำให้แก่โจทก์อันโจทก์จะต้องรับผิด กับค่าตอกเสาเข็มที่จำเลยที่ 1 กระทำไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ในการที่โจทก์จะสร้างอาคารใหม่ จึงไม่ใช่การงานที่ควรค่าอันโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้เงินเป็นค่าแห่งการงานตอกเสาเข็มแก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ ค่าจ้างเมื่อเลิกสัญญาก่อนผลงานเสร็จสิ้น การพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือเอาผลสำเร็จของงานคือการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ทนายความตั้งแต่ตระเตรียมคดีและว่าต่างหรือแก้ต่างในศาลไปจนคดีถึงที่สุดและการจ่ายสินจ้างต้องถือเอาความสำเร็จของผลงานหรือจ่ายสินจ้างตามที่ตกลงกันไว้แม้ข้อตกลงว่าผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เต็มตามจำนวนในสัญญาจ้างไม่ว่าผู้ว่าจ้างจะเลิกสัญญาในชั้นใดหรือเวลาใดก็ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ผูกมัดตัดทอนเสรีภาพของผู้ว่าจ้างเพราะมิได้ห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ว่าจ้างถอนทนายเพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถอนทนายผู้ว่าจ้างก็ยังต้องชำระค่าสินจ้างเต็มจำนวนในสัญญาเท่านั้นจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงเช่นว่าจึงมีผลบังคับได้
แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การเลิกสัญญาจ้างทำของก่อนคดีถึงที่สุด ศาลพิจารณาค่าแห่งการงานตามความเป็นธรรม
สัญญา จ้าง ว่า ความ เป็น สัญญา จ้าง ทำ ของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ถือ เอา ผลสำเร็จ ของงาน คือ การ ดำเนินคดี หรือ ทำ หน้าที่ ทนายความ ตั้งแต่ตระเตรียม คดี และ ว่า ต่าง หรือ แก้ต่าง ใน ศาล ไป จน คดี ถึง ที่สุดและ การ จ่าย สินจ้าง ต้อง ถือเอา ความสำเร็จ ของ ผลงานหรือ จ่าย สินจ้าง ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ แม้ ข้อตกลง ว่า ผู้ว่าจ้าง จะชำระ สินจ้าง ให้ เต็ม ตาม จำนวน ใน สัญญาจ้าง ไม่ว่า ผู้ว่าจ้างจะ เลิก สัญญา ใน ชั้นใด หรือ เวลา ใด ก็ ไม่ใช่ ข้อสัญญา ที่ ผูกมัดตัด ทอน เสรีภาพ ของ ผู้ว่าจ้าง เพราะ มิได้ ห้าม เด็ดขาดมิให้ ผู้ว่าจ้าง ถอน ทนาย เพียง แต่ มี เงื่อนไข ว่าหาก ถอน ทนาย ผู้ว่าจ้าง ก็ ยัง ต้อง ชำระ ค่า สินจ้าง เต็ม จำนวนใน สัญญา เท่านั้น จึง ไม่ ขัด ต่อ ความ สงบ เรียบร้อย และ ศีลธรรมอันดี ของ ประชาชน ข้อตกลง เช่นว่า จึงมี ผลบังคับ ได้ แต่การที่จำเลยผู้ว่าจ้างได้ถอนโจทก์จากการเป็นทนายความ ก่อนที่คดีจะถึงที่สุดดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่า จำเลย ผู้ว่าจ้างได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างทำของในระหว่างที่การที่ว่าจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจำเลยในฐานะที่เป็นผู้ว่าจ้างและเป็นเจ้าของคดีความมีผลประโยชน์และมีส่วนได้เสีย ในฐานะลูกความในคดีดังกล่าว มีสิทธิที่จะกระทำได้ หากผู้ว่า จ้างไม่มีความไว้วางใจในตัวทนายความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 และเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลตามกฎหมายตามมา กล่าวคือ ในส่วนของการงาน อันโจทก์ได้กระทำไปแล้วจำเลยผู้ว่าจ้างต้องใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ ผู้รับจ้างตามมาตรา 605 และไม่อาจถือได้ว่าจำนวนเงินค่าจ้าง ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความเป็นจำนวนเงินค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้ทำให้แก่จำเลย หรือเป็นจำนวนเงินที่มีกำหนด ในสัญญาว่าให้ใช้เป็นเงินตอบแทนอันจะต้องใช้เงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั่นเองซึ่งหากจำนวนเงินค่าปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 การใช้เงินตามราคา ค่าแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วจึงต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการงานที่โจทก์ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดและพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกับความเป็นธรรมและความเหมาะสม และศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร จำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยชำระแก่โจทก์ตามค่าแห่งการงาน ที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นยังไม่รู้จำนวนที่แน่นอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาจ้างว่าความ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ตามกฎหมายนับ แต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานหลังบอกเลิกสัญญาจ้างเหมา: ไม่จำกัดตามงวดงาน หากงานที่ทำมีค่าน้อยกว่าเงินที่รับไป
สัญญาจ้างเหมามีความว่าเมื่อผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ผู้รับจ้างดำเนินการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใด ๆจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้นนั้นหมายถึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาเท่านั้นแต่ผู้รับจ้างหาสิ้นสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานที่ทำเพื่อกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมในกรณีอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาตามป.พ.พ.มาตรา391ไม่ ค่าแห่งการงานตามมาตรา391นั้นไม่จำต้องตีราคางานตรงตามงวดที่ระบุไว้ในสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานของผู้รับจ้างเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเหมา
สัญญาจ้างเหมามีความว่าเมื่อผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ผู้รับจ้างดำเนินการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใดๆจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้นนั้นหมายถึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาเท่านั้นแต่ผู้รับจ้างหาสิ้นสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานที่ทำเพื่อกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมในกรณีอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ไม่. ค่าแห่งการงานตามมาตรา391นั้นไม่จำต้องตีราคางานตรงตามงวดที่ระบุไว้ในสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาปลูกบ้านและการใช้ค่าแห่งการงาน เมื่อผู้ว่าจ้างไม่ชำระเงินค่าวัสดุและห้ามทำงาน
สัญญาปลูกบ้านเสร็จใน 50 วัน แต่ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินงวดแรกไม่ครบ และสั่งซื้อสัมภาระให้ผู้รับจ้างช้ากว่ากำหนดจึงถือกำหนด 50 วันบังคับไม่ได้ ผู้ว่าจ้างไม่ให้ผู้รับจ้างทำงานจะว่าผู้รับจ้างทิ้งงานไม่ได้ ผู้ว่าจ้างเลิกสัญญาได้โดยอาศัย มาตรา 605 จึงต้องใช้ค่าแห่งการงานที่ผู้รับจ้างได้ทำไปแล้วตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 หักกับเงินที่ผู้ว่าจ้างจ่ายให้ผู้รับจ้างไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสิ้นสุด-ค่าแห่งการงาน: สละสิทธิเรียกร้องได้จากการตกลงในสัญญา
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม บัญญัติรับรองสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าแห่งการงานที่โจทก์ทำให้จำเลย แต่ตามสัญญาตัวแทนประกันชีวิตระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความว่า เมื่อสัญญาตัวแทนประกันชีวิตสิ้นสุดลงจำเลยมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดแก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานที่โจทก์มีต่อจำเลย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยก่อนสัญญาตัวแทนประกันชีวิตสิ้นสุดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างเนื่องจากผิดแบบ และผลของการยอมสละค่าแห่งการงานเป็นเบี้ยปรับ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์ก่อสร้างบ้านพักที่พิพาทผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญาจ้างหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่สามผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญาจ้าง โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ ทั้งเมื่อจำเลยอุทธรณ์ โจทก์ก็ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่ามีการก่อสร้างงวดที่สามผิดไปจากแบบแปลนจริง แต่เป็นการผิดไปเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัย การที่โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อนี้เป็นการยกเอาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ขึ้นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. ตาม 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ในการก่อสร้างบ้านพักที่พิพาทโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจ้างไว้มีข้อความว่าหากโจทก์ก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่ชำระค่าจ้างส่วนที่ค้างแก่โจทก์ได้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลเป็นการที่โจทก์ยอมสละค่าแห่งการงานที่โจทก์เสียไปในการก่อสร้างบ้านพักงวดที่สามให้แก่จำเลยเพื่อเป็นค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง ค่าใช้จ่ายดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน จึงไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยคืนเบี้ยปรับบางส่วนแก่โจทก์ โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ได้
การพิจารณาว่าเมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว จำเลยยังต้องรับผิดชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์หรือไม่ ต้องอาศัยข้อความในสัญญาจ้างเป็นสำคัญ เมื่อสัญญาจ้างมีข้อความระบุว่า หากโจทก์ก่อสร้างผิดไปจากรูปแบบตามสัญญาจ้าง โจทก์ยอมให้จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างอยู่ให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำสัญญาดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องเสียไปในงานก่อสร้างงวดที่สามจากจำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น