พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการพิจารณาคดีเพื่อรักษาพยาบาล และการพิสูจน์ภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นให้งดการพิจารณาคดี ส่งตัวจำเลยไปรักษาที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เมื่อจำเลยสามารถต่อสู้คดีแล้วให้โจทก์ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเนื่องจากแพทย์แถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้วคำสั่งดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 35 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนั่งพิจารณาคดีในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยก่อนหรือระหว่างเกิดเหตุ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนการที่แพทย์ตรวจอาการของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีแล้วมีความเห็นว่าจำเลยมีอาการทางจิตนั้น ยังไม่อาจรับฟังว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้สึกผิดชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟื้นฟูกิจการล้มละลาย-งดการพิจารณาคดี-ฟ้องแย้ง: ศาลต้องงดพิจารณาคดีเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการ และอาจงดพิจารณาฟ้องแย้งควบคู่ไปด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ หนี้ที่โจทก์ขอบังคับเป็นหนี้กระทำการในคดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย เมื่อต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยไว้พิจารณาและไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางให้ดำเนินคดีนี้ต่อไป ศาลชั้นต้นย่อมต้องงดการพิจารณาคดีดังกล่าวไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยไม่ได้แก้ไขเรื่องดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณา เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้บริหารแผนที่จะต้องเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความอ้างว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้จึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 252
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมชำระค่าเสียหาย แม้มิใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) เมื่อปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสามารถยกคดีในส่วนฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไปได้ ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่บัญญัติว่า "...เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมซึ่งพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน จำต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน ประกอบกับศาลต้องงดพิจารณาในส่วนของคำฟ้องไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายในการฟ้องและต่อสู้คดี ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะงดการพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งไว้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 หากต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงหรือศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีนี้ในส่วนของโจทก์ต่อไป จึงให้ยกคดีทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้อง
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมชำระค่าเสียหาย แม้มิใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) เมื่อปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสามารถยกคดีในส่วนฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไปได้ ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่บัญญัติว่า "...เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมซึ่งพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน จำต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน ประกอบกับศาลต้องงดพิจารณาในส่วนของคำฟ้องไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายในการฟ้องและต่อสู้คดี ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะงดการพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งไว้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 หากต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงหรือศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีนี้ในส่วนของโจทก์ต่อไป จึงให้ยกคดีทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้อง