พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องความเป็นบริวารและการฉ้อโกงในสัญญาซื้อขาย
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศขับไล่ผู้ร้องให้ออกไปจากที่ดินแต่ผู้ร้องคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย หากแต่เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านที่โจทก์กับจำเลยได้ร่วมกันจัดสรรขึ้น แต่โจทก์กับจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินและบ้านให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์แกล้งฟ้องขับไล่จำเลยต่อศาล หากเป็นความจริง การที่จะให้บังคับคดีโดยให้ผู้ร้องทุกรายออกไปจากที่ดิน อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องได้ แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่จะงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ก็เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร โดยไม่ต้องไต่สวนให้ได้ความจริงก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์จึงไม่อาจงดบังคับคดีได้
กรณีที่จะงดการบังคับคดีได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 292 และ 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หรือได้ยื่นฟ้องเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด แต่ตามคำร้องของจำเลยหาได้อ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ กลับอ้างวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นนอกประเทศไทยและในประเทศไทยเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้มาของดการบังคับคดี โดยอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150,205 และ 219 อันเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติซึ่งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับคดีแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ปัญหาที่ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ถึงมาตรา 305(ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 3,4,6,30 และ 48 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ทั้งมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ถึงมาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้และไม่จำต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ถึงมาตรา 305(ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 3,4,6,30 และ 48 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ทั้งมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ถึงมาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้และไม่จำต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีชดใช้ค่าทดแทนที่ดิน: ศาลสั่งงดบังคับคดีจนกว่าจะมีการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องเนื้อที่ดินที่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ซึ่งความจริงแล้ว ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา และโจทก์ก็แถลงรับว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังนั้น อาจจะมีการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามคำร้องขอแก้ไขคำพิพากษาของจำเลยดังกล่าว อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยอีกต่อไป กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9100/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งงดบังคับคดีนอกเหนือจากเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ได้ หากสมควรและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
อำนาจของศาลในการมีคำสั่งงดการบังคับคดีมิใช่มีได้เฉพาะเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอโดยอาศัยเหตุและเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 เท่านั้นหากมีกรณีอื่นใดที่เป็นการสมควรและไม่ก่อให้เกิดผลได้เสียแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลก็มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีได้ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(2)
โจทก์ถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดนนทบุรีเรียกเงินยืมจำนวน 460,062 บาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์นำเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นรายเดือน เดือนละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 168,000 บาทแต่จำเลยยังไม่ได้รับเงินไปเพราะถือว่าโจทก์ผิดนัดและประสงค์จะรับชำระหนี้ทั้งหมด คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 182,000 บาท จำเลยมีหนังสือแจ้งขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ แม้คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลจังหวัดนนทบุรียังไม่ถึงที่สุดแต่โจทก์ก็ยอมรับว่ายืมเงินจำเลยไปตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มีสิทธิผ่อนชำระ และแม้โจทก์ยังไม่ต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่จำเลยแต่อย่างน้อยโจทก์ก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระแก่จำเลยเป็นรายเดือน และยอดเงินที่โจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยมีจำนวนมากกว่าที่จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)โดยมีคำสั่งงดการบังคับคดีนี้ไว้จนกว่าคดีแพ่งของศาลจังหวัดนนทบุรีจะถึงที่สุด หรือมีเหตุเปลี่ยนแปลงประการอื่นให้คู่ความแถลงเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปนั้นชอบแล้ว
โจทก์ถูกจำเลยฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดนนทบุรีเรียกเงินยืมจำนวน 460,062 บาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา โจทก์นำเงินไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นรายเดือน เดือนละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 168,000 บาทแต่จำเลยยังไม่ได้รับเงินไปเพราะถือว่าโจทก์ผิดนัดและประสงค์จะรับชำระหนี้ทั้งหมด คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 182,000 บาท จำเลยมีหนังสือแจ้งขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ แม้คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลจังหวัดนนทบุรียังไม่ถึงที่สุดแต่โจทก์ก็ยอมรับว่ายืมเงินจำเลยไปตามฟ้อง เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มีสิทธิผ่อนชำระ และแม้โจทก์ยังไม่ต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่จำเลยแต่อย่างน้อยโจทก์ก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระแก่จำเลยเป็นรายเดือน และยอดเงินที่โจทก์ต้องรับผิดแก่จำเลยมีจำนวนมากกว่าที่จำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)โดยมีคำสั่งงดการบังคับคดีนี้ไว้จนกว่าคดีแพ่งของศาลจังหวัดนนทบุรีจะถึงที่สุด หรือมีเหตุเปลี่ยนแปลงประการอื่นให้คู่ความแถลงเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเพื่อหักกลบลบหนี้ต้องฟ้องในศาลเดียวกัน และคำสั่งศาลเป็นที่สุด
แม้คำร้องของจำเลยจะระบุว่าขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่เนื้อหาในคำร้องเป็นการขอให้งดการบังคับคดีเพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกัน คดีนี้จำเลยฟ้องโจทก์ที่ศาลอื่นจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะหักกลบลบหนี้ได้ และเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวไม่ว่าจะสั่งให้มีผลในทางใด คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดบังคับคดีเป็นที่สุดตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 อันเป็นเวลาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้แล้ว (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการบังคับคดี: สิทธิในการบังคับคดีไม่กระทบจากคดีอื่น และข้อเสนอต่อเจ้าของที่ดินไม่ผูกมัด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การที่จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์และจำเลยต่างถูกบริษัท ต. เจ้าของที่พิพาทฟ้องขับไล่ออกจากที่พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลย การบังคับคดีนี้ย่อมไร้ผล จึงเป็นเรื่องขอให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของศาลที่จะสั่งตามสมควรแก่รูปคดี
จำเลยได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ในเชิงคดีที่จะประวิงการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้เนิ่นช้าตลอดมา โดยเฉพาะในคดีที่บริษัท ต. ฟ้องขับไล่โจทก์ เป็นเรื่องระหว่างบริษัท ต. กับโจทก์ ไม่กระทบสิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่จำเลยได้ยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาเช่าที่พิพาท และเสนอผลประโยชน์แก่บริษัท ต. เป็นข้ออ้างของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าบริษัท ต. ได้ตกลงยินยอมด้วย และแม้ข้อเสนอหรือข้อตกลงกับบริษัท ต. หากจะพึงมี ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยไม่อาจยกขึ้นใช้ยันโจทก์ในชั้นนี้ได้ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่องดการบังคับคดีนี้ได้
จำเลยได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ในเชิงคดีที่จะประวิงการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้เนิ่นช้าตลอดมา โดยเฉพาะในคดีที่บริษัท ต. ฟ้องขับไล่โจทก์ เป็นเรื่องระหว่างบริษัท ต. กับโจทก์ ไม่กระทบสิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่จำเลยได้ยื่นข้อเสนอขอทำสัญญาเช่าที่พิพาท และเสนอผลประโยชน์แก่บริษัท ต. เป็นข้ออ้างของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าบริษัท ต. ได้ตกลงยินยอมด้วย และแม้ข้อเสนอหรือข้อตกลงกับบริษัท ต. หากจะพึงมี ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยไม่อาจยกขึ้นใช้ยันโจทก์ในชั้นนี้ได้ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่องดการบังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดบังคับคดีและการสิ้นสุดสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยแนบสำเนาคำฟ้องของศาลชั้นต้นตามที่จำเลยอ้างเป็นเหตุขอให้งดการบังคับคดีมาท้ายคำร้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้งดการบังคับคดี ก็มีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน อันเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเรื่องการงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293
ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และมีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุดจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และมีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุดจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดบังคับคดี: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวน และคำสั่งเป็นที่สุดตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยแนบสำเนาคำฟ้องของศาลชั้นต้นตามที่จำเลยอ้างเป็นเหตุขอให้งดการบังคับคดีมาท้ายคำร้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้งดการบังคับคดี ก็มีอำนาจยกคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน อันเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเรื่องการ งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 และ มีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้น ตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 และ มีผลใช้บังคับก่อนเวลาที่จำเลยยื่นฎีกา บัญญัติให้คำสั่งของศาลชั้นต้น ตามมาตรา 293 นี้เป็นที่สุด จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดี: คำสั่งศาลตามมาตรา 293 เป็นที่สุด หลังแก้ไขเพิ่มเติม
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา293 (ที่ยังไม่แก้ไข) ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนจำเลยยื่นฏีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 293 โดยให้ตัดข้อความบางส่วนของวรรคสอง และเพิ่มวรรคสามของมาตรา 293 ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542ตามบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ที่ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด"นั้น หมายความว่าคำสั่งของศาลตามมาตราดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้งดการบังคับคดีหรือยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการบังคับคดีสามารถดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว เมื่อจำเลยยื่นฎีกาภายหลังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคสาม มีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าว ประกอบด้วยมาตรา 246 ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247