พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเสียหายจากละเมิดเครื่องหมายการค้า และการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน
โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท น. ซึ่งประกอบกิจการน้ำดื่มโดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูป คดีก่อนศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 272 (1) ฐานเอาชื่อ รูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์กิจการของโจทก์มีกำไรมากขึ้นจากเดิม โจทก์จึงไม่เสียหายในผลกำไรที่โจทก์ควรได้จากการจำหน่ายน้ำดื่ม
จำเลยระบุเหตุในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยเพิ่งทราบว่ามีพยานดังกล่าวที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัท น.ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการว่าระหว่างปี 2537 ถึงปี 2540 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600,000 บาทข้อเท็จจริงเหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เช่นงบดุล แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ รายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้จัดทำขึ้นและยื่นต่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่น พยานบุคคลและเอกสารที่จำเลยระบุอ้างเพิ่มเติมก็เป็นสรรพากรจังหวัดขอนแก่นกับงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น หาได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยผู้อ้างที่ต้องแนบสำเนามาท้ายคำให้การดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7 แห่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ไม่ การอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีย่อมทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวเป็นไปโดยเที่ยงธรรม การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว จึงอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อกำหนดหรือเป็นการที่จำเลยจงใจดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 3
โจทก์ดำเนินกิจการน้ำดื่มโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูปมากว่า 20 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มของโจทก์มีคุณภาพ การที่จำเลยผลิตน้ำดื่มไม่มีคุณภาพออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้โจทก์ไม่อาจสืบให้เห็นได้แจ้งชัดว่าน้ำดื่มที่จำเลยผลิตไม่มีคุณภาพ และโจทก์เสียหายมากน้อยเพียงใด แต่การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหาย ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์เกินไปจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยระบุเหตุในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยเพิ่งทราบว่ามีพยานดังกล่าวที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัท น.ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการว่าระหว่างปี 2537 ถึงปี 2540 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600,000 บาทข้อเท็จจริงเหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เช่นงบดุล แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ รายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้จัดทำขึ้นและยื่นต่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่น พยานบุคคลและเอกสารที่จำเลยระบุอ้างเพิ่มเติมก็เป็นสรรพากรจังหวัดขอนแก่นกับงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น หาได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยผู้อ้างที่ต้องแนบสำเนามาท้ายคำให้การดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7 แห่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ไม่ การอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีย่อมทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวเป็นไปโดยเที่ยงธรรม การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว จึงอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อกำหนดหรือเป็นการที่จำเลยจงใจดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 3
โจทก์ดำเนินกิจการน้ำดื่มโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูปมากว่า 20 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มของโจทก์มีคุณภาพ การที่จำเลยผลิตน้ำดื่มไม่มีคุณภาพออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้โจทก์ไม่อาจสืบให้เห็นได้แจ้งชัดว่าน้ำดื่มที่จำเลยผลิตไม่มีคุณภาพ และโจทก์เสียหายมากน้อยเพียงใด แต่การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหาย ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์เกินไปจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.