คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
งบประมาณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต มีเจตนาเบียดบัง
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี มีหน้าที่เบิกเงินงบประมาณตามคำสั่งโรงพยาบาลบันนังสตา จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชีมานานถึง 14 ปี ย่อมทราบระเบียบเกี่ยวกับการรักษาเงินเป็นอย่างดี จำเลยเก็บเงินงบประมาณแผ่นดินที่โรงพยาบาลเบิกมาเพื่อจ่ายค่าเวชภัณฑ์ที่สั่งซื้อ จำเลยควรนำเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลและต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลัง แต่จำเลยกลับลงหลักฐานทางบัญชีเป็นเท็จว่าได้ชำระเงินทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้จ่าย และนำเงินนั้นมาเก็บไว้และเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตน นับแต่วันที่รับเงินมาจนกระทั่งเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบเป็นเวลาถึง 6 เดือน พฤติการณ์ของจำเลยฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบลดหนี้ต้องมีเหตุตามกฎหมายเท่านั้น การออกเพื่อแก้ไขการเบิกจ่ายงบประมาณไม่ชอบ
การออกใบลดหนี้ใหม่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/10 นั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าจะออกใบลดหนี้ได้ต้องเป็นเรื่องมีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากผิดข้อตกลง สินค้าชำรุดเสียหายหรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกำหนด หรือมีการคืนสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 82/10 เท่านั้น
โจทก์ออกใบลดหนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพราะโจทก์ส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วแต่ยังไม่อาจติดตั้งได้จึงออกใบกำกับภาษีชุดใหม่ให้ผู้ซื้อ โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลนราธิวาส เพราะผู้ซื้อได้ทำใบอนุมัติเบิกจ่ายรวมสินค้าทั้งหมด แต่โจทก์ส่งสินค้าแยกรายการ จึงออกใบกำกับภาษีรวมสินค้าให้ใหม่และโจทก์ออกใบลดหนี้ให้สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากปีงบประมาณต่างงบกัน โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ใหม่ ส่วนที่โจทก์ออกใบลดหนี้ให้โรงพยาบาลควนขนุน ก็เพราะผู้ซื้อไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2537ได้โดยจะต้องเบิกจ่ายจากปีงบประมาณ 2538 ซึ่งเป็นปีถัดไป โจทก์จึงออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่ การออกใบลดหนี้ของโจทก์ในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการออกเพื่อยกเลิกใบกำกับภาษีที่ออกไว้เดิม หลังจากออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อใหม่แล้ว จึงมิใช่กรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา 82/10 (1) (2) (3) (4) ดังนั้น การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีและออกใบลดหนี้ดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณ: การแก้ไขใบส่งของไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่ หากการก่อหนี้เดิมชอบด้วยระเบียบ
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอยและวัสดุไม่มีแล้ว จึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำ กลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่า ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26 บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.นี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความใน พ.ร.บ.นี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุรุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2530 แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 และมาตรา 26
จำเลยได้จัดซื้อพัสดุคุรุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530 มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531 ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7987-7988/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากสัญญาซื้อขายที่ผิดระเบียบ - อำนาจฟ้องของหน่วยงานที่รับโอนงบประมาณ - อายุความ
เดิมกิจการส่วนการศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและโรงเรียนประถมศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2523 เป็นต้นไป ส่วนการศึกษาหรือกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลจึงโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ดังนี้ การที่จำเลยทั้งหกทำละเมิดต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกได้ แต่เมื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษไม่ฟ้องคดี และสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลละเมิดเป็นทรัพย์สินย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 แล้วตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และโรงเรียนประถมศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 มาตรา 5 และมาตรา 6 ซึ่งให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ เจ้าหน้าที่กิจการ ทรัพย์สิน หนี้ และเงินงบประมาณส่วนที่เป็นเงินอุดหนุนงบประถมศึกษาไปเป็นของโจทก์ ส่วนสัญญาซื้อขายที่ทำเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2523 ถือว่าเป็นงบประมาณที่โอนไปเป็นของโจทก์แล้ว และแม้ว่าเลขาธิการของโจทก์เคยทำความเห็นไม่ฟ้องคดีนี้แล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งหกต้องรับผิดจึงไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันบันทึกเสนอจำเลยที่ 6 และจำเลยที่ 6 เป็นผู้อนุมัติในการจัดซื้อนั้น หมายถึงจำเลยทั้งหกร่วมกันกระทำละเมิด โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ดังนั้น แม้ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้ทำบันทึกร่วมกันเพียงแต่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกโดยลำพังคนเดียว แล้วเสนอจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ตามลำดับชั้นตามระเบียบงานสารบรรณ ก็ถือว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม หนังสือพิพาทเป็นหนังสือประกอบหลักสูตรเท่านั้นไม่เป็นหนังสือที่บังคับใช้และทางราชการแจกให้แก่นักเรียนฟรีดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องจัดซื้อเพราะไม่ใช่หนังสือในหลักสูตรโดยตรง การล่าช้าไปก็ไม่อาจเป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายได้ หากงบประมาณถูกส่งคืนคลังก็สามารถขอใหม่ได้ นอกจากนี้ร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัดไม่มีฐานะเป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจและไม่ปรากฏว่ากระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้จัดซื้อได้เป็นกรณีพิเศษการจัดซื้อของจำเลยทั้งหกจึงผิดต่อระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2522 ข้อ 16 และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องซื้อหนังสือในราคาที่แพงไปกว่าปกติ อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์แล้ว โจทก์ทราบเหตุละเมิดและผู้ที่จะต้องใช้สินไหมทดแทนเมื่อกระทรวงการคลังแจ้งให้ทราบเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533ดังนั้นเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คือวันที่ 19 กันยายน 2533 และวันที่ 8 ตุลาคม 2533 ไม่เกิน 1 ปี การที่โจทก์ลงนามเห็นด้วยกับคณะกรรมการสอบสวนระดับจังหวัดว่าไม่มีผู้ต้องรับผิดในทางแพ่งนั้นถือว่า โจทก์ยังไม่ทราบผู้ทำละเมิดและผู้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อายุความยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้อง แม้เป็นลูกจ้างชั่วคราว และจำเลยยกเหตุผลเรื่องงบประมาณไม่ได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ซึ่งมิได้กำหนดหรือแบ่งแยกประเภทของลูกจ้างที่มีสิทธิฟ้องร้องไว้ลูกจ้างทุกประเภทจึงมีสิทธิฟ้องนายจ้างได้เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมดังนั้นไม่ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายวันหรือลูกจ้างประจำก็ย่อมได้รับความคุ้มครองจากบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49บัญญัติให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างว่ากรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่มีเหตุอันสมควรลูกจ้างมีสิทธิฟ้องบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือใช้ค่าเสียหายได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยประสงค์เพียงจะรับทหารผ่านศึกซึ่งพิการทุพพลภาพและครอบครัวเข้าทำงานแทนโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำผิดวินัยประการใดย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนต่อการประกอบอาชีพตามปกติจึงไม่ใช่เหตุอันสมควรถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่สามารถรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้เพราะมีงบประมาณจำกัดและไม่มีตำแหน่งงานให้โจทก์ในข้อนี้จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็นไว้ในคำให้การจึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายเงินเชื่อ: การซื้อขายโดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้อง และการชำระหนี้ตามงบประมาณ
โจทก์เป็นพ่อค้าเรียกค่าส่งมอบสินค้าประเภทเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ จากจำเลย ซึ่งได้รับมอบสินค้าจากโจทก์ในระหว่างเดือนตุลาคม 2519 ถึงเดือนมีนาคม 2520 โดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ คงมีแต่ใบยืมของชั่วคราวอันเป็นการสมัครใจของโจทก์เองโดยไม่คำนึงถึง ระเบียบของทางราชการจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 20 สิงหาคม 2520แจ้งให้ โจทก์และผู้อื่นแจ้งหนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2520 หากพ้นกำหนดแล้วจำเลยจะไม่รับผิดชอบและถือว่าเป็นหนี้สินส่วนตัว ซึ่งหมายความว่าถ้ามีการสั่งซื้อโดยถูกต้องก็จะดำเนินการให้ภายใน สิ้นเดือนกันยายน 2520 ซึ่งเป็นปีงบประมาณมิใช่เป็นการตกลงที่จะ ชำระให้ เมื่อมีงบประมาณโดยไม่มีกำหนดเวลาและการที่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 19กันยายน2521แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากำลังตรวจสอบหนี้สินรายพิพาทอยู่ หากมีหลักฐานเชื่อถือได้ก็จะพิจารณาดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสมนั้น แปลไม่ได้ว่า เป็นการขอผัดผ่อนหรือเป็นการรับสภาพหนี้โจทก์นำคดีมาฟ้อง เมื่อวันที่11สิงหาคม 2523 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: การจ่ายเงินเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการจ่าย
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า "ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว" จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้างคือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นค่าเช่าสำหรับทรัพย์สินจุฬาฯ เพื่อการศึกษา แม้ยังไม่มีงบประมาณสร้าง
ตามพ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้างสถานศึกษานั้น ถ้าอยู่ภายในเขตที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศแล้ว ก็ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างโฆษณา: การชำระเงินขึ้นอยู่กับอนุมัติงบประมาณ และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจ้างโฆษณามีข้อความที่เป็นตัวพิมพ์ในลักษณะเป็นแบบพิมพ์ของสัญญา กับข้อความที่เป็นลายมือเขียนในลักษณะการเติมข้อความลงในช่องที่เว้นว่างไว้สำหรับหัวข้อต่าง ๆ ในแบบพิมพ์ ข้อความที่เป็นลายมือเขียนนอกจากจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับคู่สัญญาและผู้ลงนามในสัญญาซึ่งเป็นตัวแทนของคู่สัญญาแล้ว ยังมีข้อตกลงของคู่สัญญาเขียนเติมไว้ในช่องด้านล่างของเอกสารว่า "เมื่อข้อกำหนดเพื่อการอ้างอิงของผู้ว่าจ้างได้รับการอนุมัติ" ซึ่งไม่ถึงขนาดเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่สัญญาจะเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว นอกจากนี้พฤติการณ์ของคู่สัญญาระหว่างการติดต่อประสานงานกันและในการประชุมที่ไม่มีการกล่าวถึงเงื่อนไขเรื่องข้อกำหนดเพื่อการอ้างอิงของผู้ว่าจ้าง ซึ่งหากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่จะทำให้สัญญาเป็นผล เงื่อนไขนั้นย่อมเป็นสาระสำคัญของข้อตกลงที่คู่สัญญาควรมีการเจรจากันในเรื่องดังกล่าว แต่กลับมีการตกลงกำหนดเวลาลงเผยแพร่ไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะไม่สมเหตุผลหากสัญญายังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงในการชำระเงินค่าจ้าง สัญญาจ้างโฆษณาจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาตามกฎหมายแล้ว โดยถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำการงานจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างแล้ว ผู้ว่าจ้างย่อมมีหน้าที่ต้องชำระสินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น อีกทั้งเมื่อคู่สัญญาทราบเป็นอย่างดีว่าการทำสัญญาจ้างโฆษณาของจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวต่างประเทศทราบข้อมูลการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครในช่วงเวลาที่เหมาะสม การจะลงเผยแพร่บทความโฆษณาใหม่ในช่วงเวลาใด โจทก์ยังจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างก่อน เพื่อให้จำเลยที่ 1 พิจารณาว่าช่วงเวลาใดจึงจะเหมาะสม และจะเกิดประโยชน์สูงสุดจากการโฆษณานั้น การที่โจทก์ลงเผยแพร่บทความโฆษณาในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ไม่เห็นชอบด้วย จึงไม่อาจถือว่าโจทก์ได้ทำการงานจนสำเร็จให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างชำระค่าจ้างเต็มจำนวนตามสัญญา อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ได้ลงเผยแพร่บทความโฆษณาจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์แล้วนั้น เชื่อได้ว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่บ้าง จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างตามส่วนที่ได้รับประโยชน์นั้น ศาลมีอำนาจกำหนดค่าจ้างให้ตามสมควร เมื่อเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 แจ้งขอให้โจทก์ลงเผยแพร่บทความโฆษณาในเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการเรียกเก็บเงิน แสดงว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องคาดคะเนว่าข้อกำหนดเพื่อการอ้างอิงของผู้ว่าจ้างควรได้รับการอนุมัติแล้วในช่วงเวลาดังกล่าว จึงพออนุมานได้ว่าจำเลยที่ 1 สมควรชำระค่าจ้างให้โจทก์ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2553 ถือว่าหนี้ค่าจ้างดังกล่าวถึงกำหนดชำระภายในเดือนสิงหาคม 2553 นั้น แต่เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้ค่าจ้างนี้เป็นการอนุมานตามพฤติการณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ให้คำเตือนแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง
ส่วนจำเลยที่ 2 กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่จัดซื้อแบ่งซื้อยาเพื่อใช้เงินงบประมาณปลายปี ไม่เข้าข่ายทุจริต ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยแบ่งการจัดซื้อยาโดยลดวงเงินแต่ละครั้งให้เหลือครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะจัดซื้อได้โดยวิธีตกลงราคา จึงเป็นวิธีการเพื่อให้แบ่งซื้อสำเร็จ สามารถใช้เงินงบประมาณปลายปีได้หมดตามเจตนาของจำเลย หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ข้อ 22 วรรคสอง อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม ป.อ. มาตรา 157 แม้จำเลยจัดซื้อยาในปีงบประมาณ 2540 รวม 10 ครั้ง และในปีงบประมาณ 2541 รวม 12 ครั้ง ถือว่าจำเลยมีเจตนาเดียวที่จะใช้เงินงบประมาณให้หมดในแต่ละปีงบประมาณ ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวในแต่ละปีงบประมาณ จึงเป็นความผิด 2 กระทง หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนครั้งที่จัดซื้อรวม 22 กระทง ไม่