พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
โจทก์ทั้งเก้าและจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากัน เพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า งานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12/2541 ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งเก้าได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลา และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ทั้งเก้าโดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาอุทธรณ์อีก
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่างานที่โจทก์ทั้งเก้าทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้า แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ ส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์ทั้งเก้ามีสิทธิได้รับเป็นเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา มิใช่ค่าล่วงเวลาที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงเป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087-3095/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งทางบก ค่าล่วงเวลา/ค่าตอบแทน และดอกเบี้ยตามกฎหมายแรงงาน
โจทก์และจำเลยได้แถลงรับข้อเท็จจริงและท้ากันเพื่อให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า งานที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12(2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือในการทำงานล่วงเวลาหรือไม่และถือเป็นการตกลงทำงานล่วงเวลาโดยปริยายหรือไม่ รวมทั้งจะถือว่าจำเลยได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์โดยปริยายหรือไม่รวมอยู่ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์โดยปริยายจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นคำท้าซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้
งานที่โจทก์ทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้าแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา เมื่อเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามิใช่ค่าล่วงเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจึงไม่เป็นไปตามคำท้าและไม่ชอบด้วยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
งานที่โจทก์ทำเป็นงานขนส่งทางบก โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามคำท้าแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา เมื่อเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามิใช่ค่าล่วงเวลา โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจึงไม่เป็นไปตามคำท้าและไม่ชอบด้วยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้น ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8926/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าล่วงเวลาของพนักงานรัฐวิสาหกิจงานขนส่ง: ไม่มีสิทธิหากนายจ้างไม่ได้ตกลงจ่าย
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายประกอบกิจการงานขนส่งเดินรถโดยสารประจำทาง โจทก์เป็นพนักงานประจำรายเดือนตำแหน่งพนักงานขับรถจึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานขนส่ง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28 กำหนดว่า พนักงานที่ทำงานขนส่งไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และ 26เว้นแต่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน แม้จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงพิเศษและอัตราเงินส่วนแบ่ง ให้พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสารได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเนื่องจากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง อันเป็นเวลาทำงานตามปกติและได้รับเงินส่วนแบ่งจากจำนวนตั๋วที่จำหน่ายได้ก็ตามแต่คำสั่งดังกล่าวมิใช่ข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานขับรถโดยสารและพนักงานเก็บค่าโดยสาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881-3887/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นสิทธิค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการตีความข้อตกลงการจ่ายเงินส่วนแบ่ง
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ข้อ 4 กำหนดว่า "ให้รัฐวิสาหกิจประกาศกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานไม่เกินสัปดาห์ละสี่สิบแปดชั่วโมง" ข้อ 25 กำหนดว่า"ถ้ารัฐวิสาหกิจให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติที่รัฐวิสาหกิจประกาศกำหนดตามข้อ 4 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน..." ข้อ 26 กำหนดว่า"ถ้ารัฐวิสาหกิจให้พนักงานทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานปกติ" และข้อ 28 กำหนดว่า "พนักงานซึ่งรัฐวิสาหกิจให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25 และ ข้อ 26
(1) ...
(2) งานขนส่ง
ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว หมายความว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจสั่งให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่ง หรือถ้าสั่งให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน แต่ถ้างานที่ทำเกินเวลานั้นเป็นงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 28 พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสาร ที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง แต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
(1) ...
(2) งานขนส่ง
ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว หมายความว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจสั่งให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่ง หรือถ้าสั่งให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน แต่ถ้างานที่ทำเกินเวลานั้นเป็นงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 28 พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสาร ที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง แต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881-3887/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาพนักงานรัฐวิสาหกิจงานขนส่ง: เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารไม่ใช่ค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ข้อ 4ข้อ 25 ข้อ 26และข้อ 28 หมายความว่า ถ้ารัฐวิสาหกิจสั่งให้พนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งหรือถ้าสั่งให้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราสามเท่าของเงินเดือนค่าจ้างต่อชั่วโมงในเวลาทำงานปกติสำหรับเวลาที่ทำเกิน แต่ถ้างานที่ทำเกินเวลานั้นเป็นงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 28 พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดเว้นแต่รัฐวิสาหกิจตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงาน
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสารที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงแต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
รัฐวิสาหกิจจำเลยกำหนดให้พนักงานทำงานปกติสัปดาห์ละ 6 วันเวลาทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง รวมแล้วสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ไม่เกินกำหนดเวลาทำงานปกติตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 4 เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน จึงถือเป็นการทำงานล่วงเวลา แต่งานขับรถยนต์โดยสารและเก็บค่าโดยสารที่โจทก์ทำนั้นเป็นงานขนส่งโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 28แม้จำเลยได้ตกลงให้เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารแก่พนักงานที่ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงแต่ข้อตกลงนี้ก็มิใช่เป็นการตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 28 ตอนท้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1944/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: สินค้าของจำเลยไม่ใช่การลำเลียงทั่วไป จึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
งานขนส่ง หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของด้วยเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานส่งของ มีหน้าที่ติดไปกับรถของจำเลย เพื่อส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยตามคำสั่งของจำเลย ซึ่งสินค้าที่โจทก์นำไปส่งให้แก่ลูกค้านั้นเป็นสินค้าของจำเลยเอง ไม่ใช่เป็นการลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของทั่ว ๆไป ลักษณะงานที่โจทก์ทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) เมื่อ จำเลยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติ จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแทนค่าล่วงเวลาสำหรับงานขนส่งรถไฟ
จำเลยให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่เป็นนายสถานีหรือผู้ช่วยทำงานวันละ 12 ชั่วโมงมานานแล้ว โดยจำเลยจ่ายแต่เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มให้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น และลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา เพราะงานที่ทำเป็นงานขบวนการจัดงานรถไฟและงานขนส่ง ดังนี้ ลูกจ้างต้องผูกพันได้รับเพียงค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าว หามีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับเวลาที่ทำเกินวันละ 8 ชั่วโมงอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขนส่งขยายเวลาทำงาน: แม้ไม่มีค่าล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเวลาที่ขยายออกไป
งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานขนส่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) ซึ่งกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ 8 ชั่วโมง แต่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาตามปกติ ถือได้ว่าเป็นการขยายกำหนดเวลาทำงานตามปกติออกไป แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 แต่จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์สำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไป 2 ชั่วโมงนั้น หาใช่ลูกจ้างไม่มีสิทธิรับค่าล่วงเวลา แล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขับรถรองประธานบริษัท ไม่ใช่ขนส่ง ลูกจ้างมีสิทธิค่าล่วงเวลา หากทำงานเกิน 9 ชม./วัน
งานขับรถประจำตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัทไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 3(2) แต่เป็นงานอื่นตามข้อ 3(4) ซึ่งนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกว่าสัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงไม่ได้ เมื่อลักษณะการทำงานตามปกติมีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน การทำงานนอกเหนือเวลาดังกล่าวเป็นการทำงานชั่วครั้งชั่วคราวตามที่นายจ้างสั่ง จึงไม่ใช่การทำงานนอกสถานที่ซึ่งตามสภาพไม่อาจกำหนดเวลาอันแน่นอนตามข้อ 36(7) ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 3(4) และข้อ 34 การที่ลูกจ้างยินยอมปฏิบัติงานเกินเวลาตลอดมาหาทำให้ลูกจ้างหมดสิทธิเรียกร้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18591-18632/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างงานขนส่ง แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา ก็ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามชั่วโมง
เมื่อปรากฏว่างานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำเป็นงานขนส่งทางบกและจำเลยไม่ได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสอง แม้โจทก์ทั้งสี่สิบสองจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาก็ตามแต่ก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (9) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 6 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหากโจทก์ทั้งสี่สิบสองได้ทำงานล่วงเวลา หาใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
เมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนเพียงพอที่ศาลฎีกาจะพิพากษาถึงการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้โจทก์แต่ละคนได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนว่าได้ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ ทำงานล่วงเวลาจำนวนกี่ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละเท่าใด กรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีส่วนนี้ใหม่ตามรูปคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม
เมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนเพียงพอที่ศาลฎีกาจะพิพากษาถึงการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้โจทก์แต่ละคนได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนว่าได้ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ ทำงานล่วงเวลาจำนวนกี่ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละเท่าใด กรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีส่วนนี้ใหม่ตามรูปคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม