พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานหลังเกษียณและการคุ้มครองค่าชดเชย: งานปกติ vs. งานครั้งคราว และโมฆะของข้อตกลงสละสิทธิ
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมานอกสำนวน ย่อมไม่มีผลให้ศาลฎีกาจำต้องถือตาม
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงานจำเลยได้ทำสัญญาจ้างให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปี ในหน้าที่เดิม ดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม และที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชยจากบริษัททั้งสิ้นนั้น เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
เดิมโจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย หลังจากโจทก์เกษียณอายุการทำงานจำเลยได้ทำสัญญาจ้างให้โจทก์ทำงานอีก 1 ปี ในหน้าที่เดิม ดังนั้น งานที่โจทก์ทำก่อนเกษียณก็ดี หลังเกษียณก็ดีเป็นงานในลักษณะเดียวกันในธุรกิจเดิมของจำเลย เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย จึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน อันจะเข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม และที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำหนังสือสัญญาการว่าจ้าง โดยกำหนดว่า ผู้รับจ้างขอให้สัญญาว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้และ/หรือ ผู้รับจ้างถูกเลิกสัญญาผู้รับจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าชดเชยจากบริษัททั้งสิ้นนั้น เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาครบกำหนดแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย เว้นแต่เป็นงานครั้งคราวตามกฎหมาย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน โดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดไว้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานถาวรมิใช่เป็นงานครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการการเลิกจ้างไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้าง จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป ก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 จำเลยต้องชดใช้ค่าชดเชยแก่โจทก์ ปัญหาว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่นั้น จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะต้องเป็นฝ่ายยกขึ้นต่อสู้คดีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องบรรยายมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องดังกล่าวขึ้นต่อสู้คดี จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย