พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: ฟ้องต้องระบุชัดเจนว่ากฎหมายต่างประเทศให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของภาคีอื่นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวีดีทัศน์ของโจทก์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเมืองฮ่องกงซึ่งประเทศอังกฤษภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณกรุงเบอร์น นำเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของตนเข้าผูกพันตามอนุสัญญาดังกล่าว และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย มิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย และถ้อยคำที่โจทก์บรรยายในฟ้องว่า ทั้งประเทศไทยและเมืองฮ่องกงต่างได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกันรวมถึงงานภาพยนตร์ วีดีทัศน์ด้วย จึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยนั้น ก็ไม่อาจแปลไปได้ว่ากฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญา ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าวีดีทัศน์ของโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องระบุสถานะงานลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของต่างประเทศในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ท. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ เป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์เรื่องเดชเซียวฮื่อยี่ ซึ่งได้นำออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกง โดย มิได้บรรยายว่าภาพยนตร์ ดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงมาด้วย การบรรยายว่าได้นำออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกงนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การคุ้มครองงานต่างประเทศต้องแสดงหลักฐานการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้น
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าบริษัท ท. เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษเป็นผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ตามฟ้อง ซึ่งได้นำภาพยนตร์ดังกล่าวออกโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกในเมืองฮ่องกง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงมาด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ จำเป็นต้องพิสูจน์การคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุแถบ บันทึกภาพ (วีดีโอ เทป) ภาพยนตร์มีชื่อภาษาไทยว่า คิงคอง ภาค 2 ของบริษัทอินเตอร์คอนติเนนตัล ฟิล์ม ดิสตริบิวเตอร์ส์ (ฮ่องกง) จำกัดผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นงานมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กฎหมายของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องที่มีข้อความสำคัญแสดงให้เห็นว่า แถบ บันทึกภาพยนตร์ของผู้เสียหายตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการบรรยายฟ้องแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดตามอนุสัญญาคุ้มครองลิขสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นงานอันมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 และโจทก์ร่วมได้แต่งตั้งให้บริษัทซีเนคัลเลอร์แลป จำกัดเป็นผู้มีสิทธิและใช้สิทธิในงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุนี้ในประเทศไทย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า วีดีโอเทปภาพยนตร์ของโจทก์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักร และเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักรเป็นภาคีแห่งอายุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย และกฎหมายแห่งเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักรได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนต์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอัน มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ ต้องระบุสิทธิคุ้มครองตามอนุสัญญาลิขสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นงานอันมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 และโจทก์ร่วมได้แต่งตั้งให้บริษัทซีเนคัลเลอร์แลป จำกัดเป็นผู้มีสิทธิและใช้สิทธิในงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุนี้ในประเทศไทย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า วีดีโอเทปภาพยนตร์ของโจทก์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักร และเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักรเป็นภาคีแห่งอายุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย และกฎหมายแห่งเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักรได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนต์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158.