คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
งานบกพร่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบงานบกพร่องโดยมิได้โต้แย้ง ทำให้ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิด และอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องตั้งอนุญาโตตุลาการ
จำเลยผู้ว่าจ้างรับมอบงานและจ่ายค่าจ้างงานทั้งหมดให้โจทก์ผู้รับจ้างโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านงานที่โจทก์ทำชำรุด บกพร่องโดยชัดแจ้ง ย่อมถือว่าจำเลยรับมอบงานที่ทำนั้นแล้วทั้งชำรุดบกพร่องมิได้อิดเอื้อน โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับงานที่ทำชำรุดบกพร่อง จำเลยจะกล่าวอ้างว่าต้องรับมอบงานเพราะมีความจำเป็นไม่ได้
สัญญาว่าจ้างมีข้อความว่า หากมีการตั้งอนุญาโตตุลาการกันขึ้นให้กระทำในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ดังนั้น ตามสัญญาดังกล่าวหาได้บังคับว่าหากมีข้อพิพาทคู่สัญญาจะต้องตั้งอนุญาโตตุลาการเสียก่อนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องมีการตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดเมื่อผู้ว่าจ้างไม่จัดหาสิ่งของตามสัญญา และการประเมินค่าเสียหายจากงานบกพร่อง
ผู้รับจ้างมีหน้าที่จัดหาสัมภาระที่ดีสำหรับทำการงานผู้รับจ้างทำการไม่แล้วตามกำหนดเพราะผู้ว่าจ้างจัดหาสัมภาระส่งให้ไม่ทัน ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดในการส่งมอบชักช้า วิธีพิจารณาแพ่ง ค่าเสียหายในการชำรุดบกพร่อง เมื่อผู้ว่าจ้างไม่นำสืบ ศาลกะให้พอสมควรราคาที่จะขายได้เมื่อของที่จ้างทำนั้นแล้วเสร็จเรียบร้อย ไม่ใช่ค่าเสียหายในการทำของบกพร่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20953/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการตรวจรับงานบกพร่อง, การหักกลบลบหนี้จากเงินบำเหน็จ, และอายุความของคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดเฉพาะค่าเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในการตรวจรับมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ส่วนคดีที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิพากษาให้บริษัท พ. รับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วหรือไม่ อย่างไร การที่ศาลแรงงานภาค 6 ให้นำค่าเสียหายที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิพากษาให้บริษัท พ. รับผิดต่อโจทก์มาหักกับค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดในคดีนี้จึงไม่ชอบ แต่การที่ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิพากษาให้บริษัท พ. รับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากการก่อสร้างผิดแบบแปลนเป็นมูลกรณีสืบเนื่องมาจากจำเลยทั้งสามปฏิบัติหน้าที่บกพร่องในการตรวจรับมอบงานเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ดังนั้นหากโจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัท พ. แล้วเพียงใดก็ย่อมทำให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้ลดลงตามไปด้วย
คดีของศาลแรงงานกลางมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีสิทธิหักเงินที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ก่อให้เกิดความเสียหายเนื่องจากโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้างบกพร่องจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์เกษียณอายุหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยหักเงินบำเหน็จได้ แต่ค่าเสียหายที่จำเลยนำมาหักจากเงินบำเหน็จของโจทก์ซึ่งเป็นการหักกลบลบหนี้เป็นหนี้ที่จำเลยยังไม่ได้ฟ้องบริษัท พ. ให้รับผิดตามสัญญาจ้าง เป็นหนี้ที่ยังมีข้อโต้แย้งและจำนวนเงินยังไม่แน่นอน จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของโจทก์ไว้ ศาลฎีกาพิพากษายืน คดีดังกล่าวศาลไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการก่อสร้างไม่ถูกแบบให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายจากการก่อสร้างไม่ถูกแบบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้างบกพร่องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าจ้างจากการทำงานบกพร่อง ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบความเสียหายจากงานที่ชำรุด
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ติดตั้งประตู หน้าต่าง และงานอื่น ๆ ที่ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียมและกระจกในอาคารชุด ท. โจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว แต่ปรากฏว่างานที่โจทก์ทำยังมีข้อบกพร่อง และจำเลยได้ทักท้วงให้โจทก์เข้าแก้ไขงานโดยตลอด การที่โจทก์ไม่เข้าไปแก้ไขงานที่รับจ้างให้เรียบร้อย แต่เกี่ยงให้จำเลยชำระค่าจ้างเสียก่อน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฝ่ายจำเลยย่อมชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 599 แต่สินจ้างที่จำเลยอาจใช้สิทธิยึดหน่วงไว้ได้นั้น จำเลยชอบที่จะยึดหน่วงไว้เพียงจำนวนเพื่อเป็นประกันตามสมควรในงานจ้างที่ชำรุดบกพร่องเท่านั้น ตามนัยมาตรา 599 จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงสินจ้างเกินกว่าความเสียหายที่เกิดจากงานจ้างที่ชำรุดบกพร่องดังกล่าว เมื่อความเสียหายของจำเลยตามฟ้องแย้งเห็นได้ว่าน้อยกว่าจำนวนค่าจ้างที่ค้างชำระมาก จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงสินจ้างเกินกว่าความเสียหายดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลย