พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9960/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรม: การกระทำโดยเจตนาและอาศัยผู้อื่นเป็นเครื่องมือ
การกระทำอันเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมของผู้อื่นด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 ประกอบมาตรา 27 (1) และการกระทำอันเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วยการนำออกขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานนั้นเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2) บุคคลผู้กระทำการเช่นว่านั้นจะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดดังกล่าวต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนากระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 17 และมาตรา 59 ผู้ที่จะต้องรับโทษทางอาญาในความผิดดังกล่าวในกรณีการทำซ้ำหรือดัดแปลงนั้นนอกจากผู้กระทำจะต้องรู้ว่างานที่ตนทำซ้ำหรือดัดแปลงเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นแล้ว ผู้กระทำยังต้องรู้ด้วยว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงซึ่งงานนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนกรณีการนำออกขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นนั้น ผู้กระทำต้องรู้ว่างานดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งนอกจากจะเป็นองค์ประกอบกรณีเจตนาแล้ว ยังเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2) ด้วย โดยผู้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อาจเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดนั้นโดยการกระทำทางกายภาพด้วยตนเองโดยมีเจตนากระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือได้ใช้หรือหลอกให้บุคคลอื่นซึ่งไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดซึ่งไม่มีความรับผิดในทางอาญาดังกล่าวเป็นผู้กระทำการแทนโดยมีเจตนาให้บุคคลอื่นนั้นมีสภาพดังเช่นเครื่องมือในการกระทำความผิดของผู้นั้นเองก็ได้ เมื่อได้ความตามเอกสารว่าจำเลยที่ 1 รับรองว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของสิทธิคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนทั้งปวงในทุกอาณาเขตทั่วโลกยกเว้นประเทศญี่ปุ่นแต่เพียงผู้เดียว และรับรองว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิผลิตและจำหน่ายตุ๊กตาที่มีสัญลักษณ์รูปอุลตร้าแมนโดยถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ในนามบริษัท บ. จึงทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ใช้สิทธิผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาอุลตร้าแมน ตามฟ้องรวมห้าแบบจำนวน 425,000 ชิ้น ในเขตประเทศไทย โดยจำเลยที่ 1 ได้รับชำระค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิอุลตร้าแมนดังกล่าวจำนวน 818,584 บาท นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏตามสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนพลังถีบสามล้อประกอบเอกสารอธิบายฉลากสินค้าดังกล่าวว่าฉลากสินค้าที่อยู่ในซองบรรจุสินค้านั้นมีข้อความภาษาอังกฤษระบุไว้ว่า "Ultraman Characters (c) Sompote Saengduenchai All rights reserved Products by KFC" อันแปลความได้ว่าคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 สงวนสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและผลิตภัณฑ์นี้ทำโดยเคเอฟซี แสดงว่าจำเลยที่ 1 แสดงตนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับอุลตร้าแมนในขณะนั้นรวมถึงอุลตร้าแมนตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ด้วย นอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ด้วยว่า จำเลยที่ 1 ลงโฆษณาประกาศในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์กับตัวแทนของโจทก์แอบอ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนคอสมอส และประกาศจะเผยแพร่สิทธิทางการค้าในผลงานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังประกาศโฆษณาว่าขอให้โจทก์และตัวแทนของโจทก์ยุติการดำเนินการดังกล่าว มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี และพยานเคยถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 แสดงตนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับอุลตร้าแมนมาโดยตลอด รวมตลอดถึงลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานในอุลตร้าแมนที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ด้วย แม้ในขณะที่โจทก์ตรวจพบสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้อง และยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.459/2543 โดยวินิจฉัยสรุปใจความสำคัญเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้สร้างสรรค์ร่วม สัญญาให้ใช้สิทธิ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2519 ในคดีดังกล่าวไม่ใช่เอกสารปลอมจึงมีผลผูกพันโจทก์ เฉพาะลิขสิทธิ์ในผลงานภาพยนตร์จำนวน 9 เรื่อง ที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวโอนไปยังจำเลยที่ 1 ส่วนภาพยนตร์อุลตร้าแมนตอนใหม่ๆ ที่โจทก์ผลิตขึ้นย่อมเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในปัญหาว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับและเกี่ยวเนื่องกับอุลตร้าแมนทั้งหลายในฐานะผู้สร้างสรรค์ร่วมกับโจทก์หรือนายเอยิหรือไม่ ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับและเกี่ยวเนื่องกับอุลตร้าแมนทั้งหลาย โดยมีสาระสำคัญว่าสัญญาให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัท ซ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ และขอบเขตการมีผลบังคับใช้ของสัญญาให้ใช้สิทธิ ในคดีดังกล่าวมีผลครอบคลุมให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ที่โจทก์ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับและเกี่ยวเนื่องกับอุลตร้าแมนทั้งหลายภายหลังจากที่มีการทำสัญญาให้ใช้สิทธิ ในคดีดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังไม่มีผลคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามผลคำพิพากษาในคดีดังกล่าว และรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าตามผลคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในคดีดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 อ้างถึงมาโดยตลอดนั้นได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนว่าเป็นของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ในผลงานดังกล่าวในฐานะผู้สร้างสรรค์ร่วมแต่อย่างใด รวมทั้งโดยผลคำพิพากษาของศาลดังกล่าวจำเลยที่ 1 มีลิขสิทธิ์เฉพาะภาพยนตร์จำนวน 9 เรื่อง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาให้ใช้สิทธิโดยไม่รวมถึงลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนหรือภาพยนตร์เกี่ยวกับอุลตร้าแมนที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากมีข้อพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนดังกล่าว ทั้งภายหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ลงประกาศในหนังสือพิมพ์หลายฉบับทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น มีข้อความตอนต้นว่า บริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ทั้งปวงแต่เพียงผู้เดียวทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โดยได้รับโอนสิทธิจากโจทก์ และบริษัทดังกล่าวได้อนุญาตให้บริษัทต่างๆ จำนวนมากใช้สิทธิซึ่งบริษัทดังกล่าวมีอยู่ แสดงให้เห็นถึงพฤติการณ์อันเป็นเหตุที่คนทั่วไปย่อมต้องเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับและเกี่ยวเนื่องกับอุลตร้าแมนทั้งหลายทั้งที่ในขณะนั้นศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาว่าสัญญาให้ใช้สิทธิมีผลใช้บังคับได้จริง และจำเลยที่ 1 ได้รับโอนสิทธิเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์จำนวน 9 เรื่อง ตามที่ระบุชื่อไว้ในสัญญาดังกล่าวเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่แสดงตนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนรวมทั้งสิ้นห้าแบบตามฟ้อง ทั้งที่ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมในผลงานเกี่ยวกับอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยมิได้รวมอยู่ในข้อพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก่อนหน้านั้น แล้วจำเลยที่ 1 อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในผลงานอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบดังกล่าวโดยการทำซ้ำหรือดัดแปลงผลิตเป็นตุ๊กตาออกจำหน่ายจ่ายแจกและโฆษณาเผยแพร่โดยจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการกระทำดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 เองต่อผลงานอุลตร้าแมนของโจทก์ที่แสดงออกในรูปของงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม โดยอาศัยผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากจำเลยที่ 1 ดังเช่นจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่อยู่ในฐานะผู้กระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์แต่อยู่ในฐานะตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) ของจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด เนื่องจากผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากจำเลยที่ 1 เข้าใจโดยสุจริตตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในผลงานอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบตามฟ้องได้ จำเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม เมื่อพิจารณาสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนพลังถีบสามล้อรวมห้าแบบซึ่งดัดแปลงขึ้นโดยอาศัยหนังสือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ภายหลังจากที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้วพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับอุลตร้าแมนรวมทั้งสิ้นห้าแบบตามฟ้องที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่น และเป็นความคล้ายคลึงกันในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพราะคนทั่วไปเข้าใจได้ว่าสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้องนั้นเป็นอุลตร้าแมนลักษณะเดียวกันกับอุลตร้าแมนรวมทั้งสิ้นห้าแบบที่โจทก์สร้างสรรค์เป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมแล้วดัดแปลงเป็นงานภาพยนตร์ พยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อควรสงสัยว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ในงานอุลตร้าแมนรวมทั้งสิ้นห้าแบบตามที่โจทก์ฟ้อง และสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้องนั้นเป็นการดัดแปลงงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 1 อาศัยจำเลยที่ 2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวของโจทก์ จึงเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนทั้งห้าแบบดังกล่าวและมีการผลิตสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้องออกจำหน่ายและเพื่อการส่งเสริมการขาย และนำสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้องเผยแพร่โฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายทางโทรทัศน์โดยจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จึงเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย และเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2)
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลคือการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบตามฟ้องของโจทก์ และมีเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบตามฟ้องนั้นจะทำซ้ำหรือดัดแปลงแล้วนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย และโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนอันเป็นงานจิตรกรรมทั้งห้าแบบตามฟ้องดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันในการละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามฟ้อง อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90
เมื่อจำเลยที่ 1 อาศัยจำเลยที่ 2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวของโจทก์ จึงเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนทั้งห้าแบบดังกล่าวและมีการผลิตสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้องออกจำหน่ายและเพื่อการส่งเสริมการขาย และนำสินค้าตุ๊กตาอุลตร้าแมนนั่งปั่นรถสามล้อทั้งห้าแบบตามฟ้องเผยแพร่โฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายทางโทรทัศน์โดยจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จึงเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย และเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2)
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวโดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลคือการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบตามฟ้องของโจทก์ และมีเจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอุลตร้าแมนทั้งห้าแบบตามฟ้องนั้นจะทำซ้ำหรือดัดแปลงแล้วนำออกขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย และโฆษณาเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนอันเป็นงานจิตรกรรมทั้งห้าแบบตามฟ้องดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันในการละเมิดลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามฟ้อง อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมและงานศิลปประยุกต์: พิจารณาความสร้างสรรค์และประโยชน์ใช้สอย
งานที่จะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรมนั้น แม้กฎหมายจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้งานนั้นต้องมีคุณค่าทางศิลปะ แต่ก็ต้องเป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง (Originality) ในลักษณะที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หาใช่เป็นเพียงงาน (Work) ซึ่งทำขึ้นโดยทั่วไปเท่านั้น สำหรับภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (STARBURST) แม้จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ด้วยตนเองแต่ก็มีความแตกต่างจากรูปประกายดาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไปสำหรับสินค้าอื่นๆ เพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์ แม้จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ปรากฏว่าได้ลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แม้ต่อมาจะมีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้าก็ไม่เป็นเหตุให้งานดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
สำหรับข้อความที่ว่า "สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ" เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้าผงซักฟอก ทั้งลักษณะที่ใช้ก็มุ่งเน้นที่จะสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่ของงานศิลปกรรมในลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ตามนิยามศัพท์คำว่า "งานศิลปประยุกต์" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 วัตถุประสงค์ของการให้คุ้มครองงานศิลปประยุกต์ที่หมายถึงการนำงานศิลปกรรมลักษณะงานต่างๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมและถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า ภาพ และข้อความอื่นๆ อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์
ส่วนภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์ แม้จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ปรากฏว่าได้ลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แม้ต่อมาจะมีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้าก็ไม่เป็นเหตุให้งานดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
สำหรับข้อความที่ว่า "สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ" เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้าผงซักฟอก ทั้งลักษณะที่ใช้ก็มุ่งเน้นที่จะสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่ของงานศิลปกรรมในลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ตามนิยามศัพท์คำว่า "งานศิลปประยุกต์" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 วัตถุประสงค์ของการให้คุ้มครองงานศิลปประยุกต์ที่หมายถึงการนำงานศิลปกรรมลักษณะงานต่างๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมและถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า ภาพ และข้อความอื่นๆ อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมและการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า
แม้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล บัญญัติให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ในวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ ให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ต่อไป เมื่องานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมภาพการ์ตูนโดราเอมอนของผู้เสียหายตามฟ้องมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 โดยครบกำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ 30 ปี นับแต่วันโฆษณาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันที่ 1 ธันวาคม 2542 งานดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในวันที่ 21 มีนาคม 2538 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองไว้ในหมวด 1 โดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วน เป็นหมวดหมู่ในลักษณะเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป การได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 จึงหมายความรวมถึงการได้รับความคุ้มครองภายใต้กำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 ถึงมาตรา 26 ด้วย เมื่องานสร้างสรรค์ตามฟ้องเป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลและมีการโฆษณางานดังกล่าวแล้ว จึงมีอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรกตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 วรรคท้าย
การวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง มีความหมายเพียงว่า งานนั้นยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป แต่มิได้มีผลเป็นการขยายอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น เป็นการตีความยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับแก่งานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 เพียงส่วนเดียว คือ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์เท่านั้นที่ยังคงใช้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 โดยไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์และเหตุผลพิเศษใดในการแบ่งแยกการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นสองพระราชบัญญัติเช่นนั้น นอกจากนี้ยังมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปรัชญาการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มุ่งส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งาน ทั้งยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการบัญญัติ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่เล็งเห็นว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 นั้นล้าสมัยและไม่ให้ความคุ้มครองได้กว้างขวางเพียงพอ ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับไม่สอดคล้องกับความใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 50 วรรคสอง และพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคสอง ที่บัญญัติโดยใช้ถ้อยคำทำนองเดียวกันกับความในวรรคหนึ่ง อันเป็นเหตุให้งานซึ่งไม่เคยได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งสองฉบับได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ภายใต้กำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ย่อมแสดงให้เห็นว่า การตีความคำว่า "ให้ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือนำหลักเกณฑ์เรื่องอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการตีความไปตามบริบทของกฎหมายทั้งฉบับแล้ว ยังเป็นการตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย
การวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง มีความหมายเพียงว่า งานนั้นยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป แต่มิได้มีผลเป็นการขยายอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น เป็นการตีความยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับแก่งานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 เพียงส่วนเดียว คือ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์เท่านั้นที่ยังคงใช้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 โดยไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์และเหตุผลพิเศษใดในการแบ่งแยกการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นสองพระราชบัญญัติเช่นนั้น นอกจากนี้ยังมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปรัชญาการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มุ่งส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งาน ทั้งยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการบัญญัติ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่เล็งเห็นว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 นั้นล้าสมัยและไม่ให้ความคุ้มครองได้กว้างขวางเพียงพอ ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับไม่สอดคล้องกับความใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 50 วรรคสอง และพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคสอง ที่บัญญัติโดยใช้ถ้อยคำทำนองเดียวกันกับความในวรรคหนึ่ง อันเป็นเหตุให้งานซึ่งไม่เคยได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งสองฉบับได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ภายใต้กำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ย่อมแสดงให้เห็นว่า การตีความคำว่า "ให้ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือนำหลักเกณฑ์เรื่องอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการตีความไปตามบริบทของกฎหมายทั้งฉบับแล้ว ยังเป็นการตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537: ให้ใช้หลักเกณฑ์อายุ 50 ปี ตามอนุสัญญากรุงเบอร์น
แม้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล บัญญัติให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ในวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ ให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ต่อไป เมื่องานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมภาพการ์ตูนโดราเอมอนของผู้เสียหายตามฟ้องมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 โดยครบกำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ 30 ปี นับแต่วันโฆษณาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันที่ 1 ธันวาคม 2542 งานดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในวันที่ 21 มีนาคม 2538 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองไว้ในหมวด 1 โดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วน เป็นหมวดหมู่ในลักษณะเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป การได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ของงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 จึงหมายความรวมถึงการได้รับความคุ้มครองภายใต้กำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 ถึงมาตรา 26 ด้วย เมื่องานสร้างสรรค์ตามฟ้องเป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลและมีการโฆษณางานดังกล่าวแล้ว จึงมีอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรกตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 วรรคท้าย
การวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง มีความหมายเพียงว่า งานนั้นยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป แต่มิได้มีผลเป็นการขยายอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น เป็นการตีความยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับแก่งานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 เพียงส่วนเดียว คือ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์เท่านั้นที่ยังคงใช้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 โดยไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์และเหตุผลพิเศษใดในการแบ่งแยกการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นสองพระราชบัญญัติเช่นนั้น นอกจากนี้ยังมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปรัชญาการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มุ่งส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งาน ทั้งยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการบัญญัติ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่เล็งเห็นว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 นั้นล้าสมัยและไม่ให้ความคุ้มครองได้กว้างขวางเพียงพอ ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับไม่สอดคล้องกับความใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 50 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคสอง ที่บัญญัติโดยใช้ถ้อยคำทำนองเดียวกับความในวรรคหนึ่ง อันเป็นเหตุให้งานซึ่งไม่เคยได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งสองฉบับได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ภายใต้กำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ย่อมแสดงให้เห็นว่า การตีความคำว่า "ให้ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือนำหลักเกณฑ์เรื่องอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการตีความไปตามบริบทของกฎหมายทั้งฉบับแล้ว ยังเป็นการตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย
การวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง มีความหมายเพียงว่า งานนั้นยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป แต่มิได้มีผลเป็นการขยายอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้น เป็นการตีความยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับแก่งานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 เพียงส่วนเดียว คือ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์เท่านั้นที่ยังคงใช้บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 โดยไม่ปรากฏว่ามีหลักเกณฑ์และเหตุผลพิเศษใดในการแบ่งแยกการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นสองพระราชบัญญัติเช่นนั้น นอกจากนี้ยังมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปรัชญาการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มุ่งส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งาน ทั้งยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการบัญญัติ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่เล็งเห็นว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 นั้นล้าสมัยและไม่ให้ความคุ้มครองได้กว้างขวางเพียงพอ ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับไม่สอดคล้องกับความใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 50 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคสอง ที่บัญญัติโดยใช้ถ้อยคำทำนองเดียวกับความในวรรคหนึ่ง อันเป็นเหตุให้งานซึ่งไม่เคยได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งสองฉบับได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ภายใต้กำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ย่อมแสดงให้เห็นว่า การตีความคำว่า "ให้ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้" ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือนำหลักเกณฑ์เรื่องอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการตีความไปตามบริบทของกฎหมายทั้งฉบับแล้ว ยังเป็นการตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานศิลปกรรม: การสร้างสรรค์ด้วยวิริยะอุตสาหะ แม้มีนโยบาย/แนวคิดจากผู้อื่น ก็ยังถือเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 และมาตรา 6 งานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมที่มีลักษณะเป็นงานจิตรกรรมจะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นั้น ต้องเป็นงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำหรือก่อให้เกิดงานนั้นด้วยการริเริ่มขึ้นเองโดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่จำต้องเป็นงานใหม่อย่างเช่นกรณีของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรต่อเมื่อเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือต้องไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์จึงอาจเหมือนหรือคล้ายกับงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ปรากฏอยู่แล้วได้ แต่งานที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นต้องเกิดจากการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์โดยมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต คุณค่าของงานหรือคุณค่าทางศิลปะไม่ใช่เงื่อนไขของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แม้งานที่สร้างขึ้นนั้นจะไม่มีคุณค่าของงานหรือคุณค่าทางศิลปะ หากผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นด้วยความวิริยะอุตสาหะ ด้วยการทุ่มเทกำลังสติปัญญาความรู้ความสามารถ ใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณในการสร้างงานนั้น งานนั้นก็ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยการคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นการให้ความคุ้มครองรูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิด ไม่คุ้มครองความคิดหรือแนวความคิด เมื่อพิจารณาถึงแบบซุ้มประตูเมืองที่ขยายมาตราส่วน ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก ซุ้มประตูด้านบน ซึ่งประกอบไปด้วยรูปโบราณสถานของเมือง 5 อย่าง ได้แก่ ศาลหลักเมือง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและกำแพงเมือง พระบรมมหาธาตุ ศาลาพุทธสิหิงค์ และหอพระนารายณ์ ส่วนที่สอง คานของซุ้มประตู โดยด้านซ้ายและขวามีลายไทย 4 มุม วงกลมล้อมรูป 12 นักษัตร ด้านละ 6 ตัว ตรงกลางเป็นแผ่นป้าย "ยินดีต้อนรับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช" และส่วนที่สาม เสาของซุ้มประตูเมือง โดยเสาซ้ายและขวามีลายเส้นดอกไม้ใหญ่เริ่มจากตรงกลางเสา เสาละ 1 ดอก ส่วนเสากลางมีดอกไม้ 1 ดอก เริ่มตั้งแต่ฐานล่างสุดของเสา ด้านบนเป็นตราของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าได้ออกแบบโดยปรึกษากับนายภิญโญ ค้นประวัติของเมืองนครศรีธรรมราช ตรวจสอบศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน วัตถุโบราณ โบราณสถานในจังหวัด ภูมิปัญญาท้องถิ่น จุดเด่นของจังหวัด รวบรวมหลายอย่างเข้าด้วยกัน แล้วจินตนาการด้วยลีลาการเขียนจิตรกรรม ทำเป็นร่างงานจิตรกรรมขึ้นมา ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะแล้ว แม้การออกแบบดังกล่าวของโจทก์จะเป็นไปตามนโยบายและแนวคิดของจำเลยที่ 1 และมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของจำเลยที่ 1 ตามที่ฝ่ายจำเลยอ้างก็ตาม แต่การคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้นเป็นการคุ้มครองในการแสดงออก ไม่คลุมถึงความคิดหรือแนวความคิด การที่โจทก์ปรับปรุงแก้ไขก็เพียงเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของทางจำเลยที่ 1 เพื่อที่โจทก์จะได้รับพิจารณาให้เป็นผู้ก่อสร้างซุ้มประตูตามแบบดังกล่าว นอกจากนี้แม้ซุ้มประตูด้านบนจะประกอบไปด้วยโบราณสถานของจังหวัดซึ่งบุคคลทั่วไปรู้จักและมีการก่อสร้างมานานแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์เลือกโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดมาเพียง 5 รายการ โดยออกแบบโบราณสถานทั้งห้ารายการให้มีลักษณะ มุมมอง ลายเส้น และขนาด ที่เหมาะสมกับซุ้มประตู แล้วนำมาจัดเรียงกัน ตกแต่งด้วยลายไทย ลายดอกไม้ 12 นักษัตร โจทก์ย่อมต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะในการดำเนินการเพื่อให้ออกมาเป็นแบบได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าแบบซุ้มประตูเมืองดังกล่าวเกิดจากการทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานศิลปกรรมอันมีลักษณะงานจิตรกรรมในแบบซุ้มประตูเมืองดังกล่าว