พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลิขสิทธิ์งานแปล: เมื่อสิทธิในงานต้นฉบับหมดอายุ งานแปลไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เดิม
งานวรรณกรรมซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศของผู้ประพันธ์ซึ่งเป็นคนชาติหรือคนในบังคับของประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญากรุงเบอร์ฉบับแรก ค.ศ.1886 (พ.ศ.2429) ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 29 และต่อมาตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 42 หากมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาไทยภายใน 10 ปี นับแต่การโฆษณางานเดิมเป็นครั้งแรก สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะแปลงแปลงานของตนเป็นภาษาไทยย่อมหมดสิ้นไป เมื่อปรากฏว่าจำเลยแปลงานดังกล่าวหลังจากนั้นจำเลยจึงมีลิขสิทธิ์ในงานที่แปลและไม่มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะงานแปลไม่มีลิขสิทธิ์ตั้งแต่แรก เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมไม่ได้อนุญาต
โจทก์ร่วมที่ 2 เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านยอมรับว่า ได้นำข้อความในเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือเรื่อง "อโรคยา" และเรื่อง "ล้างพิษ" ทั้งได้นำความรู้จากหนังสือเรื่อง "น้ำมันปลา น้ำมันลดไขมัน" ของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้ง 3 เล่ม มาลงในหนังสือเรื่อง "เบื่อหมอ เบื่อยา หันหาธรรมชาติบำบัด วิถีสุขภาพแนวใหม่" เพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนทราบด้วย ในฐานะที่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงนำมาลงในหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงนำมาลงในหนังสือของโจทก์ร่วมที่ 2 หนังสือทั้ง 4 เล่มของโจทก์ร่วมทั้งสองดังกล่าวมีเนื้อหาที่ได้แปลมาจากวรรณกรรมภาษาต่างประเทศของเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับควมคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 42 ประกอบ พ.ร.ฎ.เงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 5 ผู้แปลและโจทก์ร่วมทั้งสองผู้รับโอนงานแปลต่างไม่ได้ขออนุญาตในการแปลจากเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเลย จึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่อย่างใด การที่โจทก์อ้างว่าขณะแปลยังไม่มี พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ เพราะหนังสือทั้ง 4 เล่มดังกล่าวได้ตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนปี 2537 ทุกเล่มแล้ว ต่อมาหลัง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประกาศใช้บังคับ โจทก์ร่วมทั้งสองได้ติดต่อสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเพื่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ จึงยังไม่ได้รับอนุญาตหรือจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่สำนักพิมพ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ เท่ากับแสดงว่าโจทก์ร่วมทั้งสองทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้แปลหนังสือต่างประเทศที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นภาษาไทยยังไม่ได้รับอนุญาตหรือจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้เจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ โจทก์ร่วมทั้งสองผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิในงานแปลดังกล่าวดีกว่าผู้โอนและไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือทั้ง 4 เล่ม ดังนี้ โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย