พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การแบ่งงานเป็นส่วนๆ และอายุความในการเรียกร้องค่าจ้าง
ข้อกำหนดในการชำระเงินตามสัญญาจ้างข้อ 6.1 ระบุว่าผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ ตามปริมาณงานที่ทำแล้วเสร็จตามแบบและรายการประกอบแบบ ไม่มีข้อความระบุให้เห็นชัดว่าโจทก์และจำเลย ได้ตกลงแบ่งเนื้องานที่จะรับส่งกันเป็นส่วนอย่างไร มีปริมาณงานแต่ละส่วนเท่าใด และระบุค่าจ้างของงานแต่ละส่วนเป็นจำนวนเท่าใด ตารางรายละเอียดมูลค่าจ้างเหมาก็เป็นเพียงวิธีการคิดจำนวนค่าจ้าง ไม่ใช่การแบ่งเนื้องานออกเป็นส่วน ๆ ประกอบกับสัญญาจ้างข้อ 6.2 ระบุว่าให้ผู้รับจ้างต้องรายงานผลการปฏิบัติงานที่แล้วเสร็จทุกวันสิ้นเดือนเพื่อส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้าง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จนั่นเอง ไม่ใช่กรณีการจ้างเหมาที่มีกำหนดว่าจะส่งรับงานกันเป็นส่วน ๆ และได้ระบุสินจ้างไว้เป็นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้เมื่อจำเลยรับมอบงานที่เป็นผลสำเร็จแห่งการที่โจทก์ทำตามมาตรา 587
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมางาน: การขยายเวลา และผลกระทบต่อการคิดค่าปรับ
++ เรื่อง จ้างทำของ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ จำเลยทั้งสามฎีกา
++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน
++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3
++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6
++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว
++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น
++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง
++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท
++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา
++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ จำเลยทั้งสามฎีกา
++ ข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี ตกลงค่าจ้างเป็นราคาเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีอากรอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวง จำนวน 63,900,000 บาท มีการแบ่งเนื้องานที่ว่าจ้างออกเป็น 10 งวด และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดรวม 10 งวด ตามราคาเนื้องานในแต่ละงวด และแต่ละงวดได้กำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จเป็นจำนวนวันต่อเนื่องกันไปโดยมีระยะเวลาห่างกัน30 วันในแต่ละงวด โดยงวดที่ 1 กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันและในงวดที่ 10 งวดสุดท้ายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน แต่ทุกงวดจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกัน
++ ในสัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญา ได้มีการกำหนดให้ผู้รับจ้างจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม2537 มิฉะนั้นผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
++ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับกำหนดว่า หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง ตามสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค(ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี เอกสารหมาย จ.3
++ มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างดังกล่าวในจำนวนเงิน 3,195,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่า หากโจทก์ได้ขยายระยะเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 หรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดแผกไปจากเงื่อนไขใด ๆ ในสัญญา ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมด้วย ตามหนังสือค้ำประกันเอกสารหมาย จ.6
++ ต่อมาวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ก่อนครบอายุสัญญาจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอขยายอายุสัญญา วันที่ 14 กรกฎาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3โดยตกลงแก้ไขงวดงานและการจ่ายเงินในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10และมีข้อสัญญาเพิ่มเติมข้อ 3 ว่า โจทก์ตกลงขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับจากวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้โจทก์จะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม และในข้อ 4 กำหนดว่า โจทก์ตกลงไม่ปรับจำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำการประปาหนองแค (ระยะที่ 2) จังหวัดสระบุรี สัญญาเลขที่ 238/2536ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2536 (ฉบับที่ 1) เอกสารหมาย จ.18 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างและปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำตามสัญญาทุกงวดแล้วเสร็จและส่งมอบแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ได้ขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.18 และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว
++ ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานในงวดที่9 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2538 งวดที่ 3 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538และงานในงวดที่ 5 และที่ 6 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2537 อันเป็นวันกำหนดเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเดิมแล้วล่วงเลยไป 162 วัน และในการจ่ายเงินค่าจ้างในงวดที่ 9 งวดที่3 งวดที่ 5 และงวดที่ 6 โจทก์ได้บันทึกข้อความขอสงวนสิทธิในการปรับจำเลยที่ 1 เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้าด้วย ต่อมาโจทก์จึงเรียกร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นเงินวันละ 63,900 บาท จำนวน162 วัน เป็นเงิน 10,351,800 บาท และเรียกให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดด้วยในฐานะผู้ค้ำประกัน
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.18 ถือเป็นการขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ทั้งสัญญา หรือขยายระยะเวลาเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
++ เห็นว่า แม้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 ข้อ 4 จะระบุว่า ผู้ว่าจ้างตกลงไม่ปรับผู้รับจ้างในช่วงระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาเดิม จนถึงวันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ เฉพาะเนื้องานส่วนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนเนื้องานที่ไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาเดิมทุกประการ อันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่าสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ ถือว่ากำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงวดสามารถแยกออกจากกันได้ จึงได้มีข้อความเป็นทำนองว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาสำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ได้เท่านั้น
++ แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 เป็นเพียงส่วนประกอบของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนั้น การตีความในข้อความของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องตีความให้สอดคล้องและไม่ให้ขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3
++ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3ข้อ 1 ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าจ้าง ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการปรับปรุงขยายท่อจ่ายน้ำ การประปาหนองแค จังหวัดสระบุรีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขแห่งสัญญานี้ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญา และในสัญญาข้อ 4 ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องค่าจ้างและการจ่ายเงิน ได้กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้าง จำนวนเงิน 63,900,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนเงิน 4,180,373.83 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่น ๆและค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือเอาราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ และกำหนดจ่ายเงินเป็นงวด ๆ ดังนี้ สัญญาข้อ 6 เรื่องกำหนดเวลาแล้วเสร็จและสิทธิของผู้ว่าจ้างในการบอกเลิกสัญญาได้ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานที่รับจ้างภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 และจะต้องทำงานให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3ธันวาคม 2537 ถ้าผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลาหรือไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือจะแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ และสัญญาข้อ 16 เรื่องค่าปรับ ระบุว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นจำนวนเงินวันละ 63,900 บาท นับถัดจากวันที่กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาหรือวันที่ผู้ว่าจ้างได้ขยายให้จนถึงวันที่ทำงานแล้วเสร็จจริง
++ จากข้อตกลงว่าจ้างและข้อตกลงเรื่องค่าจ้าง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.3เป็นสัญญาจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ โดยผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างเพื่อผลสำเร็จของงานนั้นเป็นเงิน 63,900,000 บาท ข้อกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องเริ่มทำงานในวันที่ 8 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันทำสัญญา และต้องทำงานให้เสร็จบริบูรณ์ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 แม้ในรายละเอียดของงวดงานทั้ง 10 งวดตามสัญญา จะได้กำหนดจำนวนวันที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จในแต่ละงวดไว้แตกต่างกัน แต่กำหนดเวลาเริ่มต้นทำงานของงานแต่ละงวดจะนับตั้งแต่วันทำสัญญาเหมือนกันหมด โดยมิได้กำหนดให้เริ่มทำงานในงวดที่ 1 ก่อนและกำหนดให้ส่งมอบงานในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เรียงกันไป ทั้งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าปรับ 63,900 บาทต่อวันแล้ว ปรากฎว่าตามสัญญาได้ใช้จำนวนค่าจ้างของงานทั้งหมดมาเป็นฐานคำนวณค่าปรับในอัตราร้อยละ .1 ของค่าจ้างทั้งหมดจำนวนเดียว ย่อมมีความหมายว่าผู้รับจ้างจะเริ่มทำงานในงวดใดก่อนก็ได้ และจะทำงานงวดใดให้เสร็จเป็นงวดสุดท้ายก็ได้ แต่งานทุกงวดต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537 หากงานงวดใดงวดหนึ่งเสร็จล่าช้าเกินไปกว่าวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ต้องถือว่างานทั้งหมดล่าช้า ต้องเสียค่าปรับวันละ 63,900 บาท
++ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ว่า เป็นสัญญาจ้างทำของในลักษณะจ้างเหมาโดยถือเอาความสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ การแบ่งงวดงานออกเป็น 10งวด ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินค่าจ้างซึ่งจะแบ่งจ่ายแก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆเท่านั้น ดังนั้น กำหนดเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ก็คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 ที่กำหนดให้ทำงานเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2537เมื่อตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 ได้มีการแก้ไขเนื้องานเฉพาะงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 โดยมีการตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาจ้างเดิมในข้อ 3 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ว่าจ้างตกลงขยายระยะเวลาให้ผู้รับจ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นเวลา 50 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญาแก้ไขฯ ฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิในการปรับตามเงื่อนไขสัญญาเดิม ต้องถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 6 ของสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.3 โดยการขยายระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ออกไปทั้งสัญญา
++ แม้ตามความในข้อ 4ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จะมีข้อความในทำนองที่ว่า การขยายระยะเวลาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เป็นการขยายระยะเวลาให้สำหรับงานในงวดที่ 4 งวดที่ 8 และงวดที่ 10 ที่มีการแก้ไขเนื้องานเท่านั้น ส่วนงานในงวดอื่น ๆ หากมีการส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาในสัญญาจ้างเดิม ต้องถูกปรับตามอัตราค่าปรับตามสัญญาจ้างเดิมโดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนของอัตราค่าปรับให้สอดคล้องกับจำนวนค่าจ้างที่ต้องจ่ายตามสัญญาจ้างเดิมในแต่ละงวด ทั้งมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่นในสัญญาจ้างเดิมอีก ความในข้อ 4 ของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.18 จึงไม่สอดคล้องและขัดกับสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.3 ไม่มีผลบังคับ
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานทุกงวดภายในกำหนดเวลาที่ได้มีการขยายให้ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.18 แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะเหตุส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระค่าปรับตามสัญญาได้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การต่ออายุสัญญาและการสละสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินเพียง 46,000 บาท น้อยเกินไป ควรจะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า446,000 บาท ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว
ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไปถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นอันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้ว แสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย
จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว
ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไปถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นอันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้ว แสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'งานแล้วเสร็จ' ในสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 วรรคสี่ ข้อความที่ว่า "การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม.... ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี" ข้อความที่ว่า งานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี ย่อมหมายความว่า เป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน 2 ปี หาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มเมื่อสัญญาถูกบอกเลิก: ต้องดำเนินการจ้างบุคคลอื่นจนงานแล้วเสร็จ
ตามสัญญา ข้อ 19 (3) กำหนดไว้ว่า จำเลยจะเรียกค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานได้ต่อเมื่อจำเลยต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ด.ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนแรกและ ส.ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนต่อมาต่างเป็นลูกจ้างของจำเลยเอง จำเลยไม่ต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่ง ฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าควบคุมงานตามสัญญาข้อ 19 (3)
ตามสัญญา ข้อ 20 มีข้อความว่า "ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3
(2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์
(3) เรียกเอาค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์
(4) เรียกค่าเสียหายอันพึงมีจากผู้รับจ้าง" ตามข้อสัญญาดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่โจทก์ยอมให้จำเลยเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานซึ่งจำเลยว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำการต่อไปภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์นั้น แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะให้โจทก์ต้องรับผิดสำหรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2) ต่อเมื่อจำเลยดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการเสียก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดนั้นมีจำนวนเท่าใดเพราะกรณีของโจทก์จำเลยในคดีนี้ค่าถมทรายราคาขึ้นลงไม่แน่นอน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก่อสร้างเขื่อนและถมทรายหลังเขื่อนต่อจากโจทก์ ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวถมทรายได้บางส่วนแล้วจำเลยให้หยุดและจำเลยไม่ได้จ้างบุคคลอื่นทำการถมทรายต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการ จำเลยจึงยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาข้อ 20 (2) จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างในส่วนราคาทรายที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์ได้
ตามสัญญา ข้อ 20 มีข้อความว่า "ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ 3
(2) ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์
(3) เรียกเอาค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์
(4) เรียกค่าเสียหายอันพึงมีจากผู้รับจ้าง" ตามข้อสัญญาดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่โจทก์ยอมให้จำเลยเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานซึ่งจำเลยว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำการต่อไปภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์นั้น แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะให้โจทก์ต้องรับผิดสำหรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2) ต่อเมื่อจำเลยดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการเสียก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดนั้นมีจำนวนเท่าใดเพราะกรณีของโจทก์จำเลยในคดีนี้ค่าถมทรายราคาขึ้นลงไม่แน่นอน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จำเลยได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก่อสร้างเขื่อนและถมทรายหลังเขื่อนต่อจากโจทก์ ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวถมทรายได้บางส่วนแล้วจำเลยให้หยุดและจำเลยไม่ได้จ้างบุคคลอื่นทำการถมทรายต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการ จำเลยจึงยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาข้อ 20 (2) จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างในส่วนราคาทรายที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินค่าจ้างและคืนเงินประกันเมื่องานแล้วเสร็จและไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารโรงงานและบ้านพักข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์จึงมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาที่จำเลยฎีกาอ้างว่าปริมาณงานในงวดสุดท้ายยังมีงานที่หลงเหลือมาจากงวดอื่นๆรวมทั้งงานเก็บกวาดทำความสะอาดและบริเวณก่อสร้างโจทก์จึงยังมิได้ดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จครบถ้วนตามสัญญานั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้เพิ่งหยิบยกข้ออ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยอ้างว่าตามสัญญาโจทก์จะต้องส่งงานงวดสุดท้ายและจัดหาให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการก่อสร้างภายใน1ปีนับแต่จำเลยได้รับมอบงานจำเลยจึงจะคืนเงินประกันให้โจทก์เมื่อโจทก์ยังไม่จัดหาให้ธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันความเสียหายจำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินประกันข้อเท็จจริงปรากฏว่านับแต่โจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วก็ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆหลังจากการส่งมอบงานดังนั้นความจำเป็นที่โจทก์จะต้องนำธนาคารมาค้ำประกันความเสียหายจึงหมดไปจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นเหตุไม่ยอมคืนเงินประกันความเสียหายแก่โจทก์ได้.