พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย vs. ฝ่าฝืนระเบียบ และสิทธิในการไล่ออก
การที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) หมายถึง ลูกจ้างได้กระทำโดยรู้สำนึกถึงการกระทำว่าจะเกิดผลเสียหายต่อนายจ้าง
โจทก์อนุญาตให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนไม่ตรงกับใบสั่งจ่ายน้ำมันเข้าไปเติมน้ำมันในบริษัทจำเลยและออกใบผ่านยามไม่ตรงกับความจริง แต่การกระทำเช่นนี้โจทก์และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยได้ปฏิบัติกันมาเป็นปกติเพราะไม่มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน จำเลยทำการสอบสวนแล้วก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทุจริตหรือมีผลประโยชน์ เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว และรถที่เข้าไปเติมน้ำมันจำเลยก็เรียกเก็บเงินในภายหลังได้ตามปกติ จึงมิใช่เป็นการที่โจทก์กระทำโดยรู้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างอันจะถือว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์มิได้จงใจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ที่ว่า "ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย ทำหลักฐานหรือรายงานหรือให้ข้อความเป็นเท็จแก่บริษัทฯ" ซึ่งถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในตัว จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
โจทก์อนุญาตให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนไม่ตรงกับใบสั่งจ่ายน้ำมันเข้าไปเติมน้ำมันในบริษัทจำเลยและออกใบผ่านยามไม่ตรงกับความจริง แต่การกระทำเช่นนี้โจทก์และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยได้ปฏิบัติกันมาเป็นปกติเพราะไม่มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน จำเลยทำการสอบสวนแล้วก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทุจริตหรือมีผลประโยชน์ เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว และรถที่เข้าไปเติมน้ำมันจำเลยก็เรียกเก็บเงินในภายหลังได้ตามปกติ จึงมิใช่เป็นการที่โจทก์กระทำโดยรู้ว่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างอันจะถือว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์มิได้จงใจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ที่ว่า "ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย ทำหลักฐานหรือรายงานหรือให้ข้อความเป็นเท็จแก่บริษัทฯ" ซึ่งถือเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในตัว จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจหน้าที่ผิดหน้าที่และแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในการหารายได้ให้แก่จำเลย การที่โจทก์มีคำสั่งโดยพลการเพื่อประโยชน์ของโจทก์เอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยแล้วยังเห็นได้อย่างชัดแจ้งอีกว่าจำเลยจะต้องได้รับความเสียหาย เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยโจทก์มีคำสั่งให้พนักงานขับรถซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของโจทก์ขับรถนำพนักงานขายของจำเลยไปชมการสาธิตเครื่องดูดฝุ่นของบริษัท ฮ. อันเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่จำเลยจำหน่าย โดยฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่มีคำสั่งให้พนักงานขับรถดังกล่าวขับรถนำพนักงานขายสินค้าของจำเลยไปขายที่อื่น โดยโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วหรือเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยและหลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้ไปทำงานที่บริษัท ฮ. โดยมีพนักงานขายของจำเลยที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ลาออกจากจำเลยไปทำงานกับโจทก์อีกด้วยการกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เรียกรับเงินจากผู้สมัครงาน เป็นการประพฤติชั่วร้ายและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจหน้าที่ในการรับบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์เรียกและรับเงินจากผู้สมัครเข้าทำงานเป็น ลูกจ้างของจำเลยทำให้เห็นได้ว่าโจทก์อาศัยตำแหน่งความเป็น ลูกจ้างของจำเลยไปแอบอ้างผลประโยชน์จากบุคคลภายนอก ทำให้ บุคคลภายนอกเข้าใจว่าการเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทน ทำให้จำเลยเสื่อมเสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับ ความเสียหาย ทั้งถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้าง โจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตลอดจนเงิน บำเหน็จและดอกเบี้ยแก่โจทก์อีกด้วย ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 และข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทำให้นายจ้างเสียหายด้วยการยุยงให้ลูกจ้างผละงาน ถือเป็นความผิดวินัยร้ายแรงและชอบที่จะเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดไว้ว่าหากพนักงานผู้ใจจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าผิดวินัยขั้นร้ายแรง การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย โดยการชักชวนหรือยุยงให้พนักงานของนายจ้างผละงานหรือละทิ้งการงานในการปฏิบัติหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยขั้นร้ายแรง มีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะสั่งอนุญาตให้นายจ้างลงโทษกรรมการลูกจ้างดังกล่าวด้วยการเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยฐานจงใจทำให้ผู้ร้องเสียหายจากการยุยงให้ผละงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกำหนดไว้ว่าหากพนักงานผู้ใดจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ถือว่าผิดวินัยขั้นร้ายแรง เช่นนี้ การที่ผู้คัดค้านจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย โดยการชักชวนหรือยุยงให้พนักงานของผู้ร้องผละงานหรือละทิ้งการงานในการปฏิบัติหน้าที่ ย่อมเป็นการกระทำผิดวินัยขั้นร้ายแรงมีเหตุอันสมควรที่ศาลสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งข้อมูลเท็จต่อลูกค้า
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯมาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13587/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของนายจ้าง
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมอบหมายให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไปทำความเข้าใจกับพนักงานของจำเลยเรื่องจำเลยย้ายสถานประกอบกิจการไปจังหวัดสมุทรสาครและให้พนักงานแสดงความประสงค์ว่าจะย้ายไปยังที่ทำงานใหม่หรือไม่ แต่โจทก์แจ้ง ส. ผู้จัดการโรงงานว่าจำเลยจะเล่นงานและบีบให้ ส. ออกจากงาน กับบอก ท. พนักงานแผนกบัญชีว่าหากลงชื่อในใบแสดงความประสงค์ย้ายไปทำงานที่สำนักงานใหม่แล้วไม่ยอมไป เมื่อถึงเวลาย้ายจะถูกจำเลยฟ้องคดี พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าอาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพนักงานกับจำเลย ทำให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานอันจะส่งผลกระทบต่อการย้ายสถานประกอบกิจการของจำเลยโดยตรงที่อาจเกิดความยุ่งยากมากขึ้น โจทก์ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายให้ทำความเข้าใจกับพนักงานไม่สมควรกระทำเช่นนี้ โจทก์กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตและจงใจทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้อื่น
การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยในข้อหาละเมิดต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยอ้างว่าการที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 เป็นการละเมิดต่อจำเลยนั้น แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ตาม แต่หากการใช้สิทธิทางศาลที่มีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายก็ย่อมเป็นการละเมิด คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาละเมิด เรียกทรัพย์คืนต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและจงใจให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องก็ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ได้
คดีนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอ ก็เป็นการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนี้จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ที่ 1
คดีนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอ ก็เป็นการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนี้จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ที่ 1