พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างหลังแต่งตั้งกรรมการ และเหตุขัดข้องทางการเงินไม่ถือจงใจผิดนัดชำระค่าจ้าง
โจทก์ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการของบริษัทจำเลย มีฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยมิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลย แต่การที่คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยกำหนดให้โจทก์ทำหน้าที่ควบคุมการซื้อและจ่ายยา ให้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เวรโดยได้รับค่าจ้างและโจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอีกฐานะหนึ่ง
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คซึ่งจำเลยจ่ายชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยให้เหตุผลว่า จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็คนั้นเป็นเพียงแสดงว่าจำเลยมีเหตุขัดข้องทางการเงิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคสอง.
การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คซึ่งจำเลยจ่ายชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยให้เหตุผลว่า จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่ายตามเช็คนั้นเป็นเพียงแสดงว่าจำเลยมีเหตุขัดข้องทางการเงิน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควร จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างเข้าใจผิดเรื่องค่าจ้างทำงานวันหยุด ลูกจ้างไม่ทักท้วงนานกว่า 1 ปี ศาลไม่ถือว่าจงใจผิดนัด
ลูกจ้างรายเดือนที่มาทำงานให้นายจ้างในวันหยุดงานมีสิทธิได้ค่าจ้างเป็น 2 เท่าตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 26
นายจ้างประกาศไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าให้ลูกจ้างรายเดือนโดยเข้าใจข้อกฎหมายผิด ฝ่ายลูกจ้างไม่ทักท้วงและไม่เรียกร้องเอาค่าจ้างจนล่วงเวลา 1 ปีเศษจึงมาฟ้อง โดยจำเลยก็ยินดีจะจ่ายให้ตามความเห็นของสารวัตรแรงงาน ดังนี้ จะถือว่านายจ้างจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 33 วรรคสอง
นายจ้างประกาศไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าให้ลูกจ้างรายเดือนโดยเข้าใจข้อกฎหมายผิด ฝ่ายลูกจ้างไม่ทักท้วงและไม่เรียกร้องเอาค่าจ้างจนล่วงเวลา 1 ปีเศษจึงมาฟ้อง โดยจำเลยก็ยินดีจะจ่ายให้ตามความเห็นของสารวัตรแรงงาน ดังนี้ จะถือว่านายจ้างจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มาตรา 33 วรรคสอง